ฝอยทอง ลำต้นมีลักษณะเป็นเส้นกลม อ่อน แตกกิ่งก้านสาขามากเป็นเส้นยาว มีสีเหลืองทอง

ฝอยทอง

ชื่ออื่นๆ : ฝอยไหม (นครราชสีมา) ผักไหม (อุดรธานี), ซิกคิบ่อ ทูโพเคาะกี่ (กะเหรี่ยงเชียงใหม่) เครือคำ (ไทใหญ่, ขมุ) บ่ะเครือคำ (ลั้วะ) กิมซีเช่า โท้วซี (จีนแต้จิ๋ว) ทู่ซือ ทู่ซือจื่อ (จีนกลาง)

ต้นกำเนิด : พบขึ้นตามบริเวณพุ่มไม้ที่ชุ่มชื้นทั่วไป ตามสวน เรือนเพาะชำ ริมถนน พื้นที่รกร้างทั่วไป

ชื่อสามัญ : Dodder

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cuscuta chinensis Lam.

ชื่อวงศ์ : CONVOLVULACEAE

ลักษณะของฝอยทอง

ต้น เป็นพรรณไม้จำพวกกาฝากขึ้นเกาะ ดูดน้ำกินจากต้นไม้อื่น มีอายุประมาณ 1 ปี ลำต้นมีลักษณะเป็นเส้นกลม อ่อน แตกกิ่งก้านสาขามากเป็นเส้นยาว มีสีเหลืองทอง ยาวประมาณ 100 เซนติเมตร และมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 1 เซนติเมตร

ใบ ใบเป็นเกล็ดขนาดเล็ก ๆ รูปสามเหลี่ยม มีจำนวนไม่มาก

ดอก ออกดอกเป็นช่อ ดอกย่อยมีจำนวนมาก ไม่มีก้าน มีกลีบเลี้ยงขนาดเล็ก รูปกลมรี ดอกมีขนาดเล็ก ดอกเป็นสีขาว กลีบดอกยาวประมาณ 2-3 มิลลิเมตร กลีบดอกที่โคนเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย ส่วนปลายกลีบดอกมน แยกออกเป็น 5 แฉก กลางดอกมีเกสรเพศผู้ 5 อัน และเกสรเพศเมีย 2 อัน

ผล ผลเป็นรูปกลมแบน มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3 มิลลิเมตร เป็นสีเทา ภายในผลมีเมล็ดประมาณ 2-4 เมล็ด ลักษณะของเมล็ดค่อนข้างกลมรี มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1-1.5 มิลลิเมตร เมล็ดเป็นสีเหลืองอมเทา ผิวเมล็ดหยาบ

ฝอยทอง
ฝอยทอง ใบเป็นเกล็ดขนาดเล็ก รูปสามเหลี่ยม
ดอกฝอยทอง
ดอกฝอยทอง ดอกสีขาว รูปกลมรี ดอกมีขนาดเล็ก

การขยายพันธุ์ของฝอยทอง

การเพาะเมล็ด จัดเป็นพรรณไม้ที่ต้องการความชื้นในปริมาณมาก

ธาตุอาหารหลักที่ฝอยทองต้องการ

ประโยชน์ของฝอยทอง

ต้นรับประทานได้

สรรพคุณทางยาของฝอยทอง

  • ทั้งต้น รสจืดฝาด ต้มเอาน้ำดื่ม แก้อาเจียนเป็นเลือด แก้ถ่ายเป็นเลือด แก้ไอเป็นเลือด แก้ตกเลือด แก้เลือดกำเดาไหล แก้ดีซ่าน ขับปัสสาวะ แก้ระดูขาวมากผิดปกติ แก้พิษทั้งภายนอกและภายใน  ตำพอกหรือทาแก้ฝ้า ผดผื่นคัน แผลเรื้อรัง ห้ามเลือด แก้โรคผิวหนังด่างขาวเป็นปื้น
  • เมล็ด รสฝาดเผื่อน ต้มหรือบด เป็นผงรับประทาน บำรุงกำลัง บำรุงไต แก้ปวดเมื่อย ทำให้ตาสว่าง แก้กระหายน้ำ แก้น้ำกามเคลื่อนเวลาหลับ
ลำต้นฝอยทอง
ลำต้นฝอยทอง เป็นเส้นกลม อ่อน แตกกิ่งก้านสาขามากเป็นเส้นยาว มีสีเหลืองทอง

คุณค่าทางโภชนาการของฝอยทอง

การแปรรูปของฝอยทอง

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11875&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

One Comment

Add a Comment