ฝิ่นต้น มะหุุ่งแดง
ชื่ออื่นๆ : ฝิ่นต้น, มะหุ่งแดง, มะละกอฝรั่ง, ว่านนพเก้า
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : มะละกอฝรั่ง Coral Bush , Coral Plant, Physic Nut
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Jatropha multifda Linn.
ชื่อวงศ์ : EUPHORBIACEAE
ลักษณะของฝิ่นต้น มะหุุ่งแดง
ฝิ่นต้น ชื่อเรียกอื่น มะละกอฝรั่ง, มะหุ่งแดง, ทิงเจอร์ต้น(คนเมือง) ว่านนพเก้า(คนเมือง) มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Jatropha multifida L.
ลักษณะของต้น : เป็นไม้พุ่ม ค่อนข้างอวบน้ำ ทุกส่วนมียางสีขาวเหลือง
ลักษณะของใบ : ใบแบบก้นปิด รูปกลมแกมรูปไข่กว้าง แฉกแบบตีนนก ส่วนแต่ละส่วนเป็นรูปเดี่ยวหรือหยักลึกแบบขนนก
ลักษณะของดอก : ดอกออกเป็นช่อแน่นแบบช่อเชิงหลั่น สีแดงสด
ลักษณะของผล : ผลรูปร่างค่อนข้างกลมมี 3 พู แต่ละพูมี 1 เมล็ด
การขยายพันธุ์ของฝิ่นต้น มะหุุ่งแดง
ใช้เมล็ด
เป็นไม้กลางแจ้งเจริญเติบโตได้ดีในดินทุกประเภทต้องการน้ำและความชื้นในปริมาณปานกลาง
สรรพคุณทางยาของฝิ่นต้น มะหุุ่งแดง
- ใบ รสเมา เป็นยาถ่ายอย่างแรง ฆ่าหิดเหา และพยาธิผิวหนัง
- เปลือกลำต้น รสขมฝาดเมา นำมาปรุงเป็นยาแก้อาเจียน แก้ท้องเสีย แก้ปวดเบ่ง แก้ปวด เมื่อยตามข้อ แก้ลงแดง และเป็นยาคุมธาตุ
- เมล็ด รสเบื่อเมา ใช้เบื่อปลา ทำให้แท้ง
- ราก รสเฝื่อน ช่วยย่อยอาหาร แก้โรคสำไส้
- ยาง รสเบื่อเมา ทำให้คลื่นไส้อาเจียน
ฝิ่นต้นเป็นพืชใหม่ที่ใช้ใบในการย้อมสีเส้นไหม ใบสด 15 กิโลกรัม สามารถย้อมสีเส้นไหมได้ 1 กิโลกรัม นำใบสดมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ เมื่อนำมาสกัดน้ำสีด้วยวิธีการต้มกับน้ำ โดยใช้อัตราส่วน 1 : 2 ใช้เวลาในการต้มนาน 1 ชั่วโมง กรองใช้เฉพาะน้ำ นำน้ำสีที่ได้มาย้อมเส้นไหมด้วยกรรมวิธีย้อมร้อน นาน 1 ชั่วโมง จากนั้นนำเส้นไหมที่ผ่านการย้อมมาแช่ในสารละลายสารช่วยติดสีจุนสี ได้เส้นไหมสีน้ำตาลเขียว
ส่วนที่เป็นพิษ :น้ำยาง ใบ ต้น เมล็ด
สารพิษ : น้ำยางมีฤทธิ์ทำให้เกิดอาการอักเสบระคายเคือง เมล็ดมีสาร curcin, jatrophin ซึ่งเป็นสารพิษพวก toxalbumin
อาการเกิดพิษ : น้ำยางถูกผิวหนังจะระคายเคือง บวมแดงแสบร้อน ถ้ารับประทานเมล็ดเข้าไปจะทำให้กระเพาะอักเสบ มีอาการคลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง อาจมีอาการชา แขนขาอาจเป็นอัมพาต ได้ถึง 24 ชั่วโมง และจะค่อยๆดีขึ้นภายใน 7 วัน การหายใจเต้นเร็ว ความดันต่ำ ถ้ารับประทาน 3 เมล็ด อาจตายได้
การรักษา : ล้างน้ำยางออกจากผิวหนังโดยใช้สบู่ และน้ำอาจให้ยาทา สเตียรอยด์ ถ้ารับประทานเข้าไปให้เอาส่วนที่ไม่ถูกดูดซึมออกใช้ activated charcoal ล้างท้อง หรือทำให้อาเจียร และรักษาตามอาการ
คุณค่าทางโภชนาการของฝิ่นต้น มะหุุ่งแดง
การแปรรูปของฝิ่นต้น มะหุุ่งแดง
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11364&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com