ฝิ่นต้น
ชื่ออื่นๆ : มะละกอฝรั่ง มะหุ่งแดง ทิงเจอร์ต้น(คนเมือง), ว่านนพเก้า(คนเมือง)
ต้นกำเนิด : เอเชียตะวันตก
ชื่อสามัญ : Coral bush, Coral plant, Physic Nut.
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Jartopha multifida L.
ชื่อวงศ์ : Euphorbiaceae

ลักษณะของฝิ่นต้น
ไม้พุ่ม ค่อนข้างอวบน้ำ หรือไม้ต้นขนาดเล็ก ผิวลำต้นเกลี้ยง สูงถึง 6 ม. มีน้ำยางสีขาว รากมีลักษณะเป็นหัว
ใบ ใบแบบก้นปิด รูปกลมแกมรูปไข่กว้าง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 15-35 ซม. แฉกแบบตีนนก มี (9-)11(-12) ส่วน แต่ละส่วนเป็นรูปเดี่ยวหรือหยักลึกแบบขนนก ก้านใบยาว 10-25(-35) ซม.
ดอก ออกเป็นช่อแน่นแบบช่อเชิงหลั่น ก้านช่อดอกยาวถึง 23 ซม. กลีบเลี้ยงในดอกเพศผู้รูปไข่กว้าง ยาวประมาณ 1 มม. กลีบดอกแยกกัน ยาวประมาณ 5 มม. สีแดงสด เกสรเพศผู้ ท8 อัน ก้านเกสรแยกกัน กลีบดอกในดอกเพศเมียยาวถึง 9 มม. ยอดเกสรเพศเมียรูปกระจุก เป็น 2 พู
ผล แตกออกอย่างช้าๆ ไปจนถึงคล้ายผลเมล็ดเดียวแข็ง รูปไข่กลับกว้าง ยาวประมาณ 3 ซม. มี 3 พู แต่ละพูมีลักษณะเป็นสัน ผลสุกสีเหลืองเมล็ดยาว 1.7-2 ซม. สีเหลืองหม่น มีลายสีน้ำตาล มีจุกขั้วขนาดเล็ก



การขยายพันธุ์ของฝิ่นต้น
เพาะเมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่ฝิ่นต้นต้องการ
–
ประโยชน์ของฝิ่นต้น
ใช้เปลือกที่มีรสฝาด ปรุงกินเป็นยาคุมธาตุ แก้ท้องร่วง แก้อาเจียน
สรรพคุณทางยาของฝิ่นต้น
- น้ำยาง ใช้ใส่แผลสดช่วยสมานแผล ใช้ทาแผลปากเปื่อย มีดบาด ช่วยให้แผลหายเร็ว
- ราก มีลักษณะคล้ายรากมันสำปะหลัง เผาไฟแล้วกินได้
ต้น ยางต้นใช้ทาแผลอักเสบเรื้อรัง - ใบ น้ำต้มใบกินเป็นยาถ่าย และสระผมแก้เหา
- เมล็ด มีน้ำมันประมาณ 30% กินเป็นยาถ่ายอย่างแรง และทำให้อาเจียน แต่มีอันตรายมาก ถึงขนาดใช้เป็นยาเบื่อได้ จึงไม่นิยมใช้กัน หีบเอาน้ำมันได้ ใช้ทั้งภายในและภายนอก เป็นยาทำให้แท้งบุตร
- เปลือกลำต้นมีรสฝาด นำมาปรุงเป็นยาแก้อาเจียน แก้ท้องเสีย แก้ปวดเบ่ง แก้ปวดเมื่อยตามข้อ แก้ลงแดง และเป็นยาคุมธาตุ เป็นต้น
คุณค่าทางโภชนาการฝิ่นต้น
–
การแปรรูปของฝิ่นต้น
–
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ :
http://plant.opat.ac.th/plant-data/plant-3/p-075/
http://www.rspg.or.th/plants_data/use/toxic_13.htm
http://www.rspg.or.th/plants_data/kp_bot_garden/kpb_10-8.htm
https://eherb.hrdi.or.th/
http://www.ananhosp.go.th/
https://www.flickr.com