พนมสวรรค์ ไม้พุ่มดอกสีส้มแดง สรรพคุณ แก้พิษแมลงกัดต่อย

พนมสวรรค์

ชื่ออื่นๆ : ฉัตรฟ้า, สาวสวรรค์, พวงพีเหลือง, หัวลิง, นมสวรรค์ 

ต้นกำเนิด : จีน มาเลเซียและฟิลิปปินส์ ในประเทศไทยพบตามชายป่า

ชื่อสามัญ : Pagoda flower

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Clerodendrum paniculatum L

ชื่อวงศ์ : Lamiaceae (Labiatae)

ลักษณะของพนมสวรรค์

ต้น ไม้พุ่ม สูงได้ 1-2 ม. ลำต้นและกิ่งเป็นสี่เหลี่ยม

ใบ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก รูปฝ่ามือ รูปไข่กว้างหรือเกือบกลม ยาว 10-30 ซม. หรือยาวกว่านี้ ส่วนมากมี 3-7 แฉก ปลายแฉกแหลม โคนใบรูปหัวใจ ขอบใบจักฟันเลื่อย แผ่นใบมีขนและต่อมกระจายทั้งสองด้าน ก้านใบยาว 3-15 ซม. หรือยาวกว่า มีร่องตามยาว

ดอก ช่อดอกแบบช่อกระจุกแยกแขนง ออกตามปลายกิ่ง รูปกรวยดูคล้ายปิรามิด ยาว 10-30 ซม. หรือยาวได้กว่า 50 ซม.

ผล ผลผนังชั้นในแข็ง ทรงกลมๆ มี 2-4 พู เส้นผ่านศูนย์กลาง 5-9 มม. สุกสีดำ

พนมสวรรค์
ดอกออกเป็นช่อ ดอกสีส้มแดง

การขยายพันธุ์ของพนมสวรรค์

การเพาะเมล็ด, การปักชำ

ธาตุอาหารหลักที่พนมสวรรค์ต้องการ

ประโยชน์ของพนมสวรรค์

  • ปลูกเป็นไม้ประดับ
  • ยอดอ่อน ใบไม่อ่อนไม่แก่ นำมาใช้ประกอบอาหารได้ เช่น การทำแกง (คนเมือง) มีกลิ่นเหม็นเขียวเล็กน้อย หากนำมาปรุงอาหารกลิ่นจะหายไป ด้วยการหั่นเป็นฝอยใส่ลงในกะทิแล้วใช้รองก้นกระทงสำหรับห่อหมก แล้วนำห่อหมกไปนึ่งให้สุก ใบของนมสวรรค์ก็จะไม่มีกลิ่นเหม็นเขียว อีกทั้งยังช่วยให้มีรสชาติหวานชวนน่ารับประทานยิ่งขึ้น
  • ผลนมสวรรค์สามารถนำมาเป็นสีย้อมผ้าได้ โดยจะให้สีม่วงแดง
พนมสวรรค์
พนมสวรรค์ ใบรูปฝ่ามือ โคนใบรูปหัวใจ ขอบใบจักฟันเลื่อย แผ่นใบมีขน

สรรพคุณทางยาของพนมสวรรค์

ส่วนที่ใช้  ใบ ดอก ราก ต้น

  • ใบ รสเมาออกร้อน ใช้ตำพอกแก้ลมในทรวงอก แก้ทรวงอกอักเสบ รักษาอาการแน่นหน้าอก พอกแก้ไข่ดันบวม และ   พอกแก้ลูกหนูใต้รักแร้ แก้พิษฝีดาษ ใบสดตำพอก แก้โรคปวดข้อ และปวดประสาท
  • ดอก รสเมาออกร้อน แก้โลหิตในท้อง แก้พิษฝีกาฬ แก้ตกเลือด แก้พิษสัตว์กัดต่อย และพิษที่เกิดจากการติดเชื้อ 
  • ราก รสเมาออกร้อน แก้ไข้มาลาเรีย ขับลม แก้พิษฝีภายใน (วัณโรค) แก้ไข้เพื่อโลหิต (อาการไข้ ถ่ายเหลว อาเจียนเป็นเลือด มีผื่นขึ้นที่ผิวหนัง) แก้ไข้เหนือ ขับลมให้ซ่านออกมาทั่วร่าง เป็นยาถ่าย
  • ต้น รสเมาออกร้อน แก้พิษ แก้อักเสบเนื่องจากตะขาบและแมงป่องต่อย แก้พิษฝีฝักบัว

คุณค่าทางโภชนาการของพนมสวรรค์

การแปรรูปของพนมสวรรค์

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : หนังสือประมวลสรรพคุณสมุนไพรไทย 1 หน้า 129
http://www.zoothailand.org
https://khaolan.redcross.or.th
https://www.flickr.com

Add a Comment