พริกขี้หนู เป็นไม้พุ่ม ผลมีรสเผ็ดร้อน ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนโลหิต

พริกขี้หนู

ชื่ออื่นๆ : พริก (กลาง, เหนือ) พริกขี้หนู (กลาง) หมักเพ็ด (อีสาน) พริกแด้ พริกแต้ พริกนำ (เหนือ) หมักเพ็ดครี (กระเหรี่ยงกำแพงเพชร) ดีปลี (ปัตตานี) ดีปลีขี้นก พริกขี้หนู (ใต้) ปะแกว (ชาวบน- นครราชสีมา) มะระตี้ (เขมร-สุรินทร์) มือซาซีซู มือส่าโพ (กระเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : Chilli Padi, Bird’s Eye Chilli, Bird Chilli, Thai pepper, พริกขี้หนู

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Capsicum frutescens Linn.

ชื่อวงศ์ : SOLANACAEAC

ลักษณะของพริกขี้หนู

ต้น ต้นพริกขี้หนูมีการเติบโตของกิ่งแบบ Dichotomous คือ กิ่งแตกออกจากลำต้นเพียงกิ่งเดียวและจะแตกเพิ่มเป็น 2 เท่า เรื่อยๆ เป็น 2 กิ่ง เป็น 4 กิ่ง และ 8 กิ่ง จนมีลักษณะเป็นทรงพุ่ม

ราก รากพริกขี้หนู ประกอบด้วยรากแก้ว และรากฝอยจำนวนมาก มีลักษณะการแผ่ออกด้านข้างเป็นรัศมีได้มากกว่า 1 เมตร และหยั่งลึกได้มากกว่า 1.20 เมตร บริเวณรอบๆโคนต้นจะมีรากฝอยสานกันหนาแน่น

ใบ ใบเป็นชนิดใบเดี่ยว มีลักษณะแบนเรียบ สีเขียวอ่อน และเขียวเข้มตามอายุของใบ ใบเป็นมัน มีขนปกคลุมเล็กน้อย รูปร่างของใบมีลักษณะรูปไข่จนถึงเรียวยาว ปลายใบแหลม ใบออกบริเวณกิ่งแบบตรงข้ามกัน และมีขนาดแตกต่างกันตามสายพันธุ์ แต่ทั่วไปใบพริกขี้หนูจะมีขนาดเล็กในระยะต้นกล้า และมีขนาดใหญ่ เมื่อต้นโตเต็มที่

ต้นพริกขี้หนู
ต้นพริกขี้หนู ต้นทรงพุ่ม ใบสีเขียวอ่อน และเขียวเข้มตามอายุของใบ

ดอก พริกขี้หนูเป็นดอกชนิดเดี่ยว ขนาดเล็ก แตกออกบริเวณข้อตรงที่มุมด้านบนของก้านใบหรือกิ่ง อาจมีดอกเดียวหรือหลายดอกในจุดเดียวกัน ก้านดอกตรงหรือโค้ง ดอกมีกลีบรอง มีลักษณะเป็นพู สีขาวหรือสีม่วงประมาณ 5 กลีบ เกสรตัวผู้มีประมาณ 1-10 อัน แตกออกจากโคนขที่กลีบดอก อับเกสรตัวผู้มักมีสีน้ำเงิน เป็นกระเปราะขนาดเล็ก และยาว ส่วนเกสรตัวเมียมี 1- 2 รังไข่ มีลักษณะชูขึ้นเหนือเกสรตัวผู้ รูปร่างเหมือนกระบองหัวมน รังไข่มี 3 – 4 พู มักจะออกดอก และติดผลในช่วงวันสั้น

ผล ผลพริก เป็นผลประเภท Berry มีลักษณะเป็นกระเปาะ มีฐานที่ชั้นผลสั้น และหนา ผลอ่อนมักชี้ขึ้น แต่เมื่อแก่ผลจะห้อยลง ผลมีลักษณะแบน กลมยาว จนถึงพองอ้วนสั้น ผลมีขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ ผนังผล ( Pericarp ) อาจบางหรือหนา มีความเผ็ดแตกต่างกันตามพันธุ์ ผลเมื่ออ่อนสีเขียวเข้ม บางพันธุ์อาจมีสีขาวออกเหลืองเขียว เมื่อผลแก่จะเปลี่ยนเป็นแดงหรือเหลือง ขนาดผลทั่วไปประมาณ 1- 1.5 นิ้ว มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 1/4 -2/3 นิ้ว เมล็ดด้านในจะเกิดรวมกันที่รก (Placenta) ตลอดจากโคนจนถึงปลายผล ในช่วงที่ผลพัฒนา หากอุณหภูมิในช่วงกลางวันสูง ความชื้นต่ำ จะทำให้ผลมีรูปร่างบิดเบี้ยว ผลมีขนาดเล็ก การติดเมล็ดต่ำ

เมล็ด เมล็ดพริกขี้หนูจะเกิดรวมกันที่รก (Placenta) ตลอดแนวยาวจากโคนถึงปลายผล เมล็ดมีรูปร่างคล้ายเมล็ดมะเขือเทศ คือ มีรูปกลม แบน สีเหลืองจนถึงสีน้ำตาล ผิวเมล็ดไม่ค่อยมีขนเหมือนผลในมะเขือเทศ แต่มีขนาดใหญ่กว่า

ดอกพริกขี้หนู
ดอกพริกขี้หนู ดอกเป็นดอกเดี่ยว ดอกสีขาว

การขยายพันธุ์ของพริกขี้หนู

การเพาะเมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่พริกขี้หนูต้องการ

ประโยชน์ของพริกขี้หนู

ประโยชน์: ยอดอ่อนรับประทาน โดยลวกเป็นผักแกล้มน้ำพริก หรือนำไปปรุงอาหารประเภทแกงจืด แกงเลียง

สรรพคุณทางยาของพริกขี้หนู

สารสกัดจากพริกถูกนำมาใช้เป็นส่วนประกอบของยาหลายชนิด เช่น ยาแก้ปวดท้อง ยาธาตุ ยาขับลม ยาแก้ปวดฟัน และยารักษาโรคไขข้อ รวมถึงนำไปใช้เป็นส่วนประกอบของยาชนิดรับประทาน และยาทาภายนอกหลายชนิด โดยมีสรรพคุณทางยา ดังนี้

  1. ผล ให้รสเผ็ดร้อน ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนโลหิต ช่วยเจริญอาหาร ช่วยการย่อยอาหาร ขับลม ขับเสมหะ (Mucokinetic) ขับเหงื่อ แก้อาการปวดท้อง อาเจียน ท้องเสีย แผลจากความเย็นจัด ลดไข้ อาหารเป็นหวัด รักษาโรคผิวหนัง กลาก เกลื้อน ชันนะตุ และหิด ใช้ต้านเชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย และไวรัส
  2. ใบ มีรสเย็น แต่เผ็ดเล็กน้อย มีกลิ่นฉุนใบพริก ใช้แก้หวัด ลดไข้ เลือดกำเดา และอาการปวดศีรษะ ใบสดใช้ตำผสมดินสอพองทาขมับ ช่วยลดอาการปวดศีรษะ
  3. ราก นำมาต้ม ลดอาการแขนขาอ่อนแรง ร่างกายไม่มีกำลัง รักษาอาการทางไต และอัณฑะบวม เลือดออกในมดลูก รักษาโรคซางใน ใช้ฝนกับนํ้ามะนาว และเกลือ สำหรับแก้ไอ แก้เสมหะ
  4. ทั้งต้น นำมาต้ม ช่วยแก้อาการเหน็บชา เลือดคั่ง อาหารปวดตามข้อ และรักษาแผลที่เกิดจากความเย็น

องค์ประกอบทางเคมีที่พบ
สารประกอบสำคัญของพริกมี 2 กลุ่ม คือ
1. กลุ่มสารที่ให้กลิ่น และรสเผ็ดร้อน (capsaicinoids) สารเหล่านี้ ได้แก่ แคปไซซินอยด์ (capsaicinoids) ซึ่งประกอบด้วยสารต่างๆ คือ แคปไซซิน (capsaicin) ไดไฮโดรแคปไซซิน (dihydrocapsaicin), โฮโมแคปไซซิน (homocapsaicin), โฮโมไดไฮโดรแคปไซซิน (homodihydro-capsaicin), นอร์ไดไฮโดรแคปไซซิน (nordihydrocapsaicin) ในผลพริกมีปริมาณสารให้ความเผ็ดแตกต่างกันไป คือ
1. capsaicin 46 – 47
2. dihydrocapsaicin 21 – 40
3. nordihydrocapsaicin 2 – 11
4. homocapsaicin 0.6 – 2
5. homodihydrocapsaicin 1 – 2

แคปไซซิน (Capsaicin) มีสูตรโมเลกุล C18H27NO3 มีชื่อทางการค้าว่า 8-
methyl-N-vanillyl-6-nonenamide สารนี้พบมากที่ผนังชั้นใน (inner wall) ของผล บริเวณผนังกั้นระหว่างเซลล์ และรกของพริก โดยบริเวณรกจะแคปไซซินปริมาณร้อยละ 4.72 – 32 ต่อหน่วยน้ำหนักรก

พริกแห้งในท้องตลาดจะมีแคปไซซินตั้งแต่ 0-360 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และถ้าพริกแห้งที่มีแคปไซซินสูงกว่า 50 มิลลิกรัม/กิโลกรัม จะให้รสเผ็ดร้อนมาก ทั้งนี้ แคปไซซินมีคุณสมบัติทนทานต่อการปรุง และการแปรรูปอาหารที่ผ่านความร้อนได้ดี สารแคปไซซินที่ละลายในน้ำเพียง 1 ส่วนใน 10 ล้านส่วน ก็ยังคงความเผ็ดอยู่ รสเผ็ดของแคปไซซินจะไม่ถูกทำลายด้วยด่าง แต่สามารถถูกทำลายได้โดย Oxidising agent เช่น Potassium dichromate หรือ Potassium permanganate

มาตรฐานการวัดความเผ็ดของพริก ทำโดยใช้ผงพริกแห้ง 1 กรัม แช่ในแอลกอฮอล์ 50 มิลลิลิตร นาน 24 ชั่วโมง จากนั้น นำส่วนของชั้นแอลกอฮอล์ประมาณ 0.1 มิลลิลิตร สำหรับทำให้เจือจางด้วยน้ำกลั่นที่มี sucrose 10% ให้ได้จำนวน 140 มิลลิลิตร จากนั้น ทดสอบกับอาสาสมัคร โดยให้ทดลองดื่ม 5 มิลลิลิตร/คน หากพบว่า 2 ใน 3 ของอาสาสมัครรู้สึกเผ็ด สารละลายที่ใช้นี้นี้จะเทียบได้กับพริก 1 ส่วน ใน 70,000 ส่วนของน้ำหวาน (sucrose) โดยพบว่า พริกจากญี่ปุ่นจะเผ็ดใน 1:50,000 ส่วนพริกจากอินเดียจะเผ็ด 1:40,000 ส่วน

สารแคปไซซินบริสุทธิ์จะมีลักษณะเป็นผงผลึก ไม่มีสี น้ำหนักโมเลกุล 305.4 g mol-1 มีจุดเดือดที่ 210 – 220 องศาเซลเซียส ไม่ละลายในน้ำเย็น แต่ละลายได้ดีในเอทานอล อีเทอร์ และอะซีโตน

สารให้ความเผ็ดจะกระจายตัวในส่วนต่างๆของผลพริกที่ปริมาณต่างกัน โดยจะพบมากในส่วนของเนื้อเยื่อชั้นในที่ติดกับไส้ (disseppiment) โดยพบปริมาณแคปไซซินสูงถึงร้อยละ 89 ในปริมาณทั้งหมดของผลพริก ส่วนในเมล็ดพบเพียงร้อยละ 10.8 เท่านั้น ปริมาณสารแคปไซซินยังแตกต่างกันตามชนิดพันธุ์พริก อายุพริก ลักษณะดิน และสภาพภูมิอากาศ

2. กลุ่มสารให้สารสีสาร จะเป็นสารที่จัดอยู่ในกลุ่มรงควัตถุ พวกแคโรทีนอยด์ (carotenoid) สารสีที่สำคัญ ได้แก่ แคปแซนทิน (capxanthin) ซึ่งเป็นสารคีโตแคโรทีนอยด์ (ketocarotenoid, C40H58NO3), แคปโซรูบิน (capsorubin), นีโอแซนทิน (neoxanthin), ไวโอลาแซนทิน (violaxanthin), เซียแซนทิน (zeazanthin), ลูเทอิน (lutein) และบีตาแคโรทีน (B-carotene)

สารประกอบแคปแซนทินบริสุทธิ์จะเป็นผลึกรูปเข็มสีแดงเข้ม ละลายได้ในแอลกอฮอล์ มีจุดหลอมเหลวที่ 175 – 176 องศาเซลเซียส สารละลายแคปแซนทินที่สกัดด้วยปิโตรเลียมอีเทอร์ ดูดกลืนแสงที่ความยาวคลื่น 475 – 500 nm โดยผลพริกอ่อนจะไม่พบรงควัตถุพวกคีโตแคโรทีนอยด์ แต่จะพบรงควัตถุที่ให้สีเขียว และเหลืองส้ม ได้แก่ ลูเทอีน, ไวโอลาแซนทิน, แคปโซรูบิน, บีตาแคโรทีน และคริปโตแซนทิน

ผลพริกขี้หนู
ผลพริกขี้หนู ผลอ่อนสีเขียวเข้ม ผลแก่เป็นสีเหลืองแดง

คุณค่าทางโภชนาการของพริกขี้หนู

คุณค่าทางโภชนาการ (100 กรัม ที่บริโภคได้)

  • พลังงาน 347 กิโลแคลอรี่
  • โปรตีน 15.8 กรัม
  • ไขมัน 9.1 กรัม
  • คาร์โบไฮเดรต 50.5 กรัม
  • เส้นใย 22.7 กรัม
  • แคลเซียม 32 มิลลิกรัม
  • ฟอสฟอรัส 360 มิลลิกรัม
  • เหล็ก 15.8 มิลลิกรัม
  • วิตามินเอ 4287 ไมโครกรัม
  • ไทอามีน 0.16 มิลลิกรัม)
  • ไรโบฟลาวิน 0.74 มิลลิกรัม
  • ไนอาซิน 11.2 มิลพลังงาน 347 กิโลแคลอรี่
  •  โปรตีน 15.8 กรัม
  • ไขมัน 9.1 กรัม
  • คาร์โบไฮเดรต 50.5 กรัม
  • เส้นใย 22.7 กรัม
  • แคลเซียม 32 มิลลิกรัม
  • ฟอสฟอรัส 360 มิลลิกรัม
  • เหล็ก 15.8 มิลลิกรัม
  • วิตามินเอ 4287 ไมโครกรัม
  • ไทอามีน 0.16 มิลลิกรัม)
  • ไรโบฟลาวิน 0.74 มิลลิกรัม
  • ไนอาซิน 11.2 มิลลิกรัม
  • วิตามินซี 0 มิลลิกรัม
  • เถ้า 3.8 กรัมลิกรัม
  • วิตามินซี 0 มิลลิกรัม
  • เถ้า 3.8 กรัม

การแปรรูปของพริกขี้หนู

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9638&SystemType=BEDO
https://www.nfc.or.th
https://www.flickr.com

3 Comments

Add a Comment