พันธุ์ทุเรียน สรรพคุณและประโยชน์ของทุเรียน ราชาผลไม้ไทย
ทุเรียน ชื่อสามัญ Durian (มาจากคำว่า duri ในภาษามาเลย์ซึ่งแปลว่า “หนาม”) ไม้ผลในวงศ์ฝ้าย (Malvaceae) ในสกุลทุเรียน เป็นผลไม้ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นราชาของผลไม้
ทุเรียน ชื่อวิทยาศาสตร์ Durio zibethinus L. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Durio acuminatissimus Merr., Durio stercoraceus Noronha) จัดอยู่ในวงศ์ชบา (MALVACEAE)
ทุเรียน เป็นไม้ผลที่มีการเจริญเติบโตและสามารถให้ผลผลิตทั้งปี และได้รับความนิยมไม่ต่างกับกล้วย โดยที่ทุเรียนต้องการอุณหภูมิและความชื้นสูง ผลของทุเรียนจะมีขนาดใหญ่มีหนามแข็งทั่วทั้งเปลือก ทุเรียนโดยทั่วไปจะมีน้ำหนักอยู่ระหว่าง 1-3 กิโลกรัม ผลอาจมีลักษณะเป็นวงรีหรือกลม แล้วแต่พันธุ์ของทุเรียน สีของเปลือกจะมีสีเขียวไปจนถึงสีน้ำตาล เนื้อมีสีเหลืองซีดถึงเหลืองเข้ม จัดเป็นผลไม้ที่มีกลิ่นเฉพาะตัว ใครไม่ชอบทุเรียนก็จะคิดว่าเป็นกลิ่นที่เหม็น ใครชอบทุเรียนก็จะคิดว่าเป็นกลิ่นที่หอมน่ากิน บางสถานที่จึงมีการห้ามนำทุเรียนเข้ามา ทุเรียนเป็นผลไม้ที่ถือว่ามีน้ำตาลสูงจึงเป็นผลไม้ต้องห้ามสำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน ทุเรียนมีมากกว่า 30 ชนิด มีอย่างน้อย 9 ชนิดที่รับประทานได้ ทุเรียนมีสายพันธุ์ประมาณ 100 สายพันธุ์ ให้เลือกรับประทาน แต่ในประเทศไทยพบทุเรียนอยู่เพียง 5 ชนิด เท่านั้น ทุเรียนให้ผลผลิตมากในช่วงเดือนเมษายน ประเทศไทยสามารถผลิตทุเรียนออกสู่ตลาดได้ประมาณ 4 เดือนต่อปี เริ่มจากเดือนพฤษภาคม – มิถุนายน ซึ่งเป็นผลผลิตที่ผลิตได้ในภาคตะวันออก แล้วต่อช่วงฤดูการผลิตโดยผลผลิตจากภาคใต้ ระหว่างเดือนกรกฎาคม – สิงหาคม
เมื่อรู้จักไปแล้วว่าทุเรียนโดยทั่วไปมีลักษณะอย่างไร ต่อมาเรามาทำความรู้จักกับสายพันธ์ของทุเรียนที่ขึ้นชื่อว่าเป็นราชาแห่งผลไม้ของไทยกันค่ะ ว่าทุเรียนแต่ละสายพันธ์มีข้อดีอย่างไร แบบไหนที่เหมาะสมกับการนำมาปลูกกันบ้าง
พันธุ์ทุเรียน ราชาแห่งผลไม้ไทย
พันธุ์ทุเรียนในประเทศไทยสามารถจำแนกออกได้เป็น 6 กลุ่ม ตามลักษณะรูปร่างใบ ปลายใบ ฐานใบ ทรงผล และรูปร่างของหนาม คือ
- พันธุ์ทุเรียนกลุ่มทองย้อย
พันธุ์ทุเรียนกลุ่มทองย้อย จำแนกพันธุ์ออกเป็น 14 พันธุ์ จะมีลักษณะของใบป้อมปลายใบ ปลายใบเรียวแหลม ฐานใบมน ผลทุเรียนกลุ่มทองย้อยเป็นรูปไข่ หนามผลนูนปลายแหลม ทุเรียนในกลุ่มนี้ได้แก่ ทองย้อยเดิม ทองย้อยฉัตร ทองใหม่
- พันธุ์ทุเรียนกลุ่มก้านยาว
พันธุ์ทุเรียนกลุ่มก้านยาว จำแนกพันธุ์ออกเป็น 8 พันธุ์ จะมีลักษณะใบป้อมปลายใบ ปลายใบเรียวแหลม ฐานใบเรียว ผลของทุเรียนกลุ่มก้านยาวเป็นรูปไข่กลับและกลม หนามผลมีลักษณะนูน ทุเรียนในกลุ่มนี้ได้แก่ ก้านยาวพวง ก้านยาววัดสัก ก้านยาว
- พันธุ์ทุเรียนกลุ่มลวง
พันธุ์ทุเรียนกลุ่มลวง จำแนกพันธุ์ออกเป็น 12 พันธุ์ จะมีลักษณะใบแบบป้อมกลางใบ ปลายใบเรียวแหลม ฐานใบแหลมและมน ผลทุเรียนกลุ่มนี้มีแบบลวงทรงกระบอก และรูปผลรี หนามผลมีลักษณะเว้า ทุเรียนในกลุ่มนี้ได้แก่ ชะนี ชะนีก้านยาว
- พันธุ์ทุเรียนกลุ่มกบ
พันธุ์ทุเรียนกลุ่มกบ จำแนกพันธุ์ออกเป็น 46 พันธุ์ จะมีลักษณะใบรูปไข่ขอบขนาน ปลายใบแหลมโค้ง ฐานใบกลมมน ผลทุเรียนกลุ่มนี้มี แบบทรงกลม ทรงกลมรี และกลมแป้น หนามผลมีลักษณะโค้งงอ ทุเรียนในกลุ่มนี้ได้แก่ กบก้านยาว
- พันธุ์ทุเรียนกลุ่มกำปั่น
พันธุ์ทุเรียนกลุ่มกำปั่น จำแนกพันธุ์ออกเป็น 13 พันธุ์ จะมีลักษณะใบยาวเรียว ปลายใบเรียวแหลม ฐานใบแหลม ผลทุเรียนกลุ่มนี้มีทรงขอบขนาน หนามผลมีลักษณะแหลมตรง ทุเรียนในกลุ่มนี้ได้แก่ หมอนทอง
- พันธุ์ทุเรียนกลุ่มเบ็ดเตล็ด
เป็นทุเรียนที่จำแนกลักษณะพันธุ์ได้ไม่แน่ชัด มีอยู่ถึง 83 พันธุ์ ทุเรียนในกลุ่มนี้ได้แก่ กะเทยเนื้อขาว กะเทยเนื้อแดง กะเทยเนื้อเหลือง เป็นต้น
- พันธุ์ทุเรียนกลุ่มลา เป็นทุเรียนไร้หนาม พันธุ์หายากจากอเมริกา
พันธุ์ที่นิยมปลูกกันมากมี 4 พันธุ์ คือ หมอนทอง ชะนี ก้านยาว และกระดุม ซึ่งมีลักษณะดังนี้
1. ทุเรียนพันธุ์ชะนี เนื้อมีลักษณะเป็นเส้นค่อนข้างหยาบ มีสีเหลืองปานกลาง สีสวย เนื้อเหนียว รสหวานแหลมไม่มัน กลิ่นฉุนเล็กน้อย เนื้อไม่เหมาะกับการแปรรูป ทุเรียนพันธุ์ชะนีจะมีน้ำหนักประมาณ 2.5-3 กิโลกรัม
2. ทุเรียนพันธุ์หมอนทอง เนื้อมีลักษณะหนา มีสีเหลืองอ่อนละเอียด เนื้อค่อนข้างแห้งไม่แฉะติดมือ รสชาติหวานมัน เมล็ดน้อยและลีบเป็นส่วนใหญ่ กลิ่นไม่แรง ผลสุกเก็บได้นานกว่าพันธุ์อื่น คุณภาพเนื้อเหมาะสำหรับการแปรรูป ทั้งแช่แข็ง กวน ทอดกรอบ ทุเรียนพันธุ์หมอนทองจะมีน้ำหนักประมาณ 3-4 กิโลกรัม
3. ทุเรียนพันธุ์ก้านยาว เนื้อมีลักษณะที่ละเอียดมาก มีเนื้อสีเหลือง เนื้อสม่ำเสมอหนาปานกลาง มีกลิ่นอ่อนไม่ฉุน งอมแล้วเนื้อไม่แฉะ รสชาติมันมากกว่าหวาน เมล็ดใหญ่มาก เปลือกหนา ผลสุกเก็บได้นาน ทุเรียนพันธุ์ก้านยาวจะมีน้ำหนักประมาณ 3 กิโลกรัม
4. ทุเรียนพันธุ์กระดุม เนื้อมีลักษณะละเอียด มีสีเหลืองเข้ม กลิ่นอ่อน รสชาติหวานมัน ลักษณะผลกลม ผลมีขนาดเล็ก เนื้อบาง หนามนูนปลายแหลม หนามถี่กว่ากระดุมเขียว ปลายผลเว้า ออกผลดก ราคาไม่แพง ทุเรียนพันธุ์กระดุมจะมีน้ำหนักประมาณ 1 กิโลกรัม
ก็ทราบกันไปแล้วนะค่ะว่าทุเรียนราชาแห่งผลไม้ของไทยเรามีพันธุ์ไหนที่ได้รับความนิยมกันบ้าง หากใครสนใจชื่นชอบในสายพันธ์ใดก็เลือกปลูกสายพันธ์นั้นๆได้เลยค่ะ ของดีของไทยเราไม่ควรผลาด
สรรพคุณและประโยชน์ของทุเรียน
- เปลือกของทุเรียนใช้ช่วยในการไล่ยุงและแมลง
- เปลือกสามารถนำมาผลิตทำเป็นกระดาษได้
- เปลือกของทุเรียนใช้ช่วยในการสมานแผล
- เปลือกของทุเรียนใช้ช่วยในการรักษาแผลพุพอง
- เปลือกของทุเรียนใช้ช่วยในการรักษาโรคคางทูม
- เปลือกของทุเรียนใช้ช่วยในการแก้น้ำเหลืองเสีย
- เปลือกของทุเรียนใช้ช่วยในการแก้โรคฝี
- ใบของทุเรียนใช้ช่วยรักษาแผลหนองให้แห้งเร็ว
- ใบของทุเรียนใช้ช่วยแก้ดีซ่าน
- ใบและเนื้อทุเรียนใช่ช่วยในการขับพยาธิ
- รากของทุเรียน มีสรรพคุณใช้ช่วยในการรักษาอาการท้องร่วง ท้องเสีย
- เนื้อของทุเรียนช่วยแก้โรคผิวหนัง
- เนื้อของทุเรียนช่วยรักษาแผลที่เกิดจากโรคฝีทำให้ฝีแห้งเร็ว
- ทุเรียนพันธุ์หมอนทองมีเส้นใยสามารถช่วยลดระดับไขมันหรือคอเลสเตอรอลได้
- ทุเรียนมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ การบริโภคทุเรียนในปริมาณที่พอดีจะช่วยป้องกันโรคได้ เช่น โรคหัวใจ โรคมะเร็ง เป็นต้น
- ทุเรียนมีเส้นใยช่วยในการขับถ่ายลดอาการท้องผูกได้
- ทุเรียนสามารถนำผลมาแปรรูปเป็นขนมได้หลากหลายชนิด หลากหลายรูปแบบ เช่น ทุเรียนกวน ทุเรียนทอด เป็นต้น
เมื่อรู้จักกับสายพันธ์ต่างๆของทุเรียนไปแล้วก็สามารถที่จะเลือกทุเรียนแต่ละสายพันธ์ทำการปลูก สามารถที่จะปลูกไม่กินเองหรือแม้แต่ประกอบอาชีกทำสวนทุเรียนไว้จำหน่ายต่อไป เป็นการสร้างอาชีพอีกทั้งยังสามารถสร้างกำไรได้อีกด้วย หวังว่าบทความการทำความรู้จักกับทุเรียนแต่ละสายพันธ์จะมีประโยชน์ต่อผู้อ่านทุกท่านค่ะ
อ้างอิง : ทุเรียน. “พันธุ์ทุเรียนในประเทศไทย”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก:th.wikipedia.org. [29 เม.ย. 2016]. www.saranukromthai.or.th
ภาพประกอบ : www.flickr.com
เรียบเรียงข้อมูลโดย : เกษตรตำบล.คอม
7 Comments