เรื่องกล้วยๆ ประวัติของกล้วย ผลไม้นิยมรับประทานเป็นอาหาร
เรื่องกล้วยๆ ประวัติของกล้วย ผลไม้นิยมรับประทานเป็นอาหาร กล้วย เป็นผลไม้เครือที่เชื่อว่าเป็นผลไม้ที่ชาวอินเดียนิยมรับประะทานพบว่ามีอยู่มากในแถบเอเชียตอนใต้ โดยเฉพาะทางตอนเหนือของประเทศอินเดีย พม่า เขมร จีนตอนใต้ หมู่เกาะอินโดนีเซีย เกาะบอร์เนียว ฟิลิปปินส์ และไต้หวัน ซึ่งกล้วยแต่เดิมเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ต่อมามนุษย์สังเกตเห็นจากสัตว์ต่างๆ นำกินกล้วยเป็นอาหารได้ จึงลองกินกล้วยดู และพบว่าสามารถที่จะนำกล้วยมากินเป็นอาหารได้ เมื่อรู้ว่าสามารถที่จะกินได้แล้วมนุษย์ก็หาวิธีการปลูกกล้วย การขยายพันธุ์กล้วยโดยใช้หน่อ หรือเมล็ด เมื่อย้ายไปอยู่ตามสถานที่ต่างๆก็ทำให้กล้วยได้รับการขยายพันธุ์ออกไปเรื่อยๆจนเกิดเป็นกล้วยหลากหลายสายพันธุ์
กล้วยเป็นผลไม้ที่คนไทยนิยมรับประทานมานานแล้ว ประเทศไทยเป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งถือว่าเป็นถิ่นกำเนิดสำคัญของกล้วยป่าขึ้นชุกชุม ที่ถือว่าเป็นพันธุ์กล้วยที่มีจึงถือได้ว่าเป็นพันธุ์ดั้งเดิมของไทย กล้วยที่ขึ้นอยู่ในบริเวณภาคใต้ของไทย ได้แก่ กล้วยไข่ทองร่วง กล้วยเล็บมือนาง กล้วยหมาก เป็นต้น
มาทำความรู้จักกับ กล้วย
กล้วย เป็นไม้ล้มลุกขนาดใหญ่ มีอายุหลายปี ลำต้นตั้งตรง เมื่อโตเต็มที่อาจจะมีความสูงสองถึงเก้าเมตร ลำต้นที่มองเห็นเรียกว่า ลำต้นเทียม (pseudostem) ส่วนประกอบของลำต้น ได้แก่ หยวกกล้วย หรือ กาบใบ ลำต้นที่แท้จริงของกล้วยจะเกิดเป็นเหง้าใต้ดิน (corm) ใบมีสีเขียวขนาดใหญ่เป็นใบเดี่ยว ผิวใบด้านบนเรียบเป็นมัน ท้องใบสีนวล เส้นกลางใบใหญ่และแข็ง ก้านใบยาว ดอกของกล้วยออกเป็นช่อ (inflorescence) อยู่ที่ปลายยอด ลักษณะห้อยหัวลง สีแดงคล้ำ เรียกว่า ปลีกล้วย (banana flower)
ผลของกล้วยรวมกันเรียกว่า เครือ (Bunch) ส่วนผลกล้วยที่ เรียกว่า หวี (hand) แต่ละผลเรียกว่า ผลกล้วย (finger) กล้วยหนึ่งเครือหนึ่งอาจจะมีจำนวนหวีตั้งแต่ 5 หวี ไปจนถึง 15 หวีเลย แต่ละหวีมีจำนวนผลตั้งแต่ 5-20 ผล ขนาดของผลเมื่อโตแล้วจะมีขนาดประมาณ 5-15 เซนติเมตร กว้าง 2.5-5 เซนติเมตร ผลของกล้วยเมื่อสุกจะมีเปลือกสีเหลือง แต่อาจมีสีเขียวหรือแดงก็ได้แล้วแต่พันธุ์ กล้วยส่วนใหญ่ที่เรารับประทานไม่มีเมล็ด เช่น กล้วยหอม กล้วยไข่ กล้วยหมาก กล้วยเล็บมือนาง เป็นต้น แต่หากกล้วยได้รับการผสมจากละอองเกสรที่มากพอ กล้วยก็จะมีเมล็ดได้เหมือนกัน เช่น กล้วยน้ำว้าเป็นต้น
ภาพประกอบ : www.flickr.com
27 Comments