กล้วยเล็บมือนาง
เรื่องกล้วยๆ ชนิดพันธุ์ของกล้วยนั้นมีอยู่มากมาย เช่น กล้วยหมาก หอมทอง กล้วยน้ำว้า กล้วยไข่ กล้วยหอมทอง กล้วยน้ำว้า กล้วยไข่ และอีกมากมาย กล้วยเล็บมือนาง ผลไม้เครือที่มีรสชาติหอมหวานน่ารับประทานไม่แพ้กล้วยชนิดอื่น กล้วยเล็บมือนางได้รับความนิยมปลูกและรับประทาน เป็นผลไม้ขึ้นชื่อในภาคใต้ของประเทศไทยมาตั้งแต่สมัยโบราณ ปลูกมากในจังหวัดชุมพร แต่ปัจจุบันได้ขยายพันธุ์ปลูกทั่วทุกภาคของประเทศไทยแล้ว ขยายพันธุ์ด้วยหน่อ มีชื่อเรียกทางภาคใต้อีกคือ กล้วยข้าว กล้วยเล็บมือ (สุราษฎร์ธานี) กล้วยทองดอกหมาก (พัทลุง) และ กล้วยหมาก (นครศรีธรรมราช) กล้วยเล็บมือนางนอกจากจะนำผลดิบมารับประทานแล้วยังเป็นที่นิยมในการนำกล้วยเล็บมือนางไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆได้หลากหลาย อย่างกล้วยเล็บมือนางอบน้ำผึ้ง แค่ชื่อก็อยากรับประทานแล้ว
ชื่อพันธุ์ : กล้วยเล็บมือนาง
ชื่อสามัญ : Banana
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Musa spp.
ลำต้นกล้วยเล็บมือนาง
กล้วยเล็บมือนาง เป็นกล้วยที่มีลำต้นขนาดเล็กและเตี้ยกว่ากล้วยพันธุ์ทั่วไป กล้วยชนิดนี้คล้ายต้นกล้วยไข่แต่มีสีอมแดง ต้นเทียมของกล้วยเล็บมือนางสูงไม่เกิน 2.5 เมตร กาบลำต้นด้านนอกสีชมพูอมแดง มีประดำหนาด้านในสีชมพูอมแดง ก้านในสีชมพูอมแดง
ใบกล้วยเล็บมือนาง
ใบของกล้วยเล็บมือนางจะมีลักษณะใบที่ตั้งขึ้น มีร่องกว้าง มีปีก เส้นใบสีชมพูอมแดง ก้านช่อดอกมีขน ใบประดับรูปไข่ค่อนค้างยาว ม้วนงอขึ้นปลายแหลม ด้านบนสีแดงอมม่วง ด้านล่างสีแดงซีด ดอกตัวผู้หลุดร่วงไปหลังจากใบประดับร่วง ดอกตัวผู้มีสีครีม ดอกตัวเมียสีชมพูอ่อน ปลายสีเหลือง ก้านเกสรตัวเมียตรง เกสรตัวผู้มีความยาวกว่าเกสรตัวเมีย กลีบรวมใหญ่มีสีเหลืองอ่อน ปลายสีเหลือง กลีบรวมเดี่ยวใสไม่มีสี ปลายหยักมี
ผลกล้วยเล็บมือนาง
กล้วยเล็บมือนาง เมื่อออกเครือจะมีเครือชี้ออกทางด้านข้างของต้นกล้วย ในหนึ่งเครือของกล้วยเล็บมือนางนั้นจะมีกล้วยประมาณ 7-8 หวี หรือประมาณ 10-16 ผล มีขนาดผลที่เล็ก ขนาดกว้าง 2-2.5 เซนติเมตร มีผลเป็นรูปโค้งงอปลายเรียวยาว ผลเรียงติดกันคล้ายนิ้วมือ ด้วยลักษณะผลจึงเป็นที่มาของชื่อกล้วยเล็บมือนาง นอกจากนี้เปลือกของกล้วยเล็บมือนางจะมีความหนาเมื่อสุกจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองทองชวนน่ารับประทานคล้ายกล้วยหอมจันทร์ แต่กล้วยเล็บมือนางเนื้อแน่นมาก และมีหน่อดกคล้ายกล้วยตานีอีกด้วย
ภาพประกอบ : www.flickr.com