เรื่องกล้วยๆ พันธุ์กล้วย ประเภทและชนิดของกล้วย ที่ได้รับความนิยม

เรื่องกล้วยๆ พันธุ์กล้วย ประเภทและชนิดของกล้วย ที่ได้รับความนิยม

        มาทำความรู้จักกล้วยจากเกษตรตำบลกับเรื่องกล้วยๆ พันธุ์กล้วย ชนิดของกล้วย พันธุ์กล้วยที่ได้รับความนิยม รู้จักกล้วยจากเกษตรตำบลกัน ผลไม้ที่นิยมรับประทาน พืชเศรษฐกิจในการเกษตรของประเทศไทย พันธุ์กล้วยในประเทศไทยนั้นมีมากมาย โดยส่วนใหญ่ผู้คนจะนำมาประกอบอาหาร ซึ่งกล้วยแต่ละสายพันธุ์ในประเทศไทย สามารถที่จะนำมารับประทานสด หรือแม้กระทั้งนำกล้วยแต่ละสายพันธุ์ไปใช้ในการแปรรูป เช่น กล้วยอบน้ำผึ้ง, กล้วยฉาบ เป็นต้น ผลิตภัณฑ์จากกล้วยก็ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวในการบริโภคหรือซื้อเป็นของฝาก เกษตรตำบลจะพาไปดูต่อว่า พันธุ์กล้วย ในประเทศไทยที่ได้รับความนิยมในการเกษตรกัน กล้วยพันธุ์ใด กล้วยประเภทใด ที่เป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมกันค่ะ

พันธุ์กล้วย ชนิดของกล้วย และประโยชน์ของกล้วย

       พันธุ์กล้วยในประเทศไทยที่ได้รับความนิยม ตัวอย่าง เช่น กล้วยหอม, กล้วยน้ำว้า, กล้วยไข่, กล้วยหิน, กล้วยแคระ, กล้วยนวล หรือ กล้วยโทน, กล้วยผา, กล้วยเสือพราน, กล้วยตานี, กล้วยตีบคำ, กล้วยงาหมู หรือ กล้วยนมสาว กล้วยน้ำญิ่ปุ่น, กล้วยแดง หรือ กล้วยนาคพม่า, กล้วยพม่าแหกคุก, กล้วยเทพรส, กล้วยหักมุก, กล้วยน้ำไท, กล้วยนมหมี, กล้วยนมสวรรค์ หรือ กล้วยน้ำนมราชสีห์, กล้วยนาก, กล้วยงาช้าง, กล้วยเล็บมือนาง, กล้วยหมาก สรุปได้ว่าสายพันธุ์กล้วยในประเทศไทยที่ได้รับความนิยมจากเกษตรตำบลมีทั้งหมด 21 สายพันธุ์ หรืออาจจะมีมากกว่านี้ ข้อมูลนี้เป็นเพียงข้อมูลคร่าวๆของการนำพันธุ์กล้วยที่ได้รับความนิยมของไทย จากการเก็บรวบรวมของเกษตรตำบลค่ะ

พันธุ์กล้วย ในประเทศไทย มาดูการแบ่งกลุ่มชนิดของกล้วยกัน

        เกษตรตำบลมากับเรื่องกล้วยๆ ของพันธุ์กล้วยในประเทศไทย เรื่องกล้วยกล้วยที่ไม่กล้วยอย่างที่คิด พันธุ์กล้วยในประเทศไทยก็มีมากมาย จนบางครั้งแยกไม่ออกว่ากล้วยชนิดนี้อยู่ในกลุ่มใด ประเภทใดบ้าง เกษตรตำบลจึงได้นำความรู้จากการศึกษาประเภทและพันธุ์กล้วยในประเทศไทยที่ได้รับความนิยมมาฝากกัน ซึ่งกล้วยนั้นสามารถแบ่งกลุ่มจากการนำมากินหรือบริโภคหรือแม้แต่การแบ่งตามพันธุกรรมของกล้วย ซึ่งแบ่งได้หลายลักษณะมาก โดยที่กล้วยนั่นเป็นผลไม้ทางการเกษตรที่มีคุณค่าในการนำมากินเพื่อการให้เส้นใย มีลักษณะเป็นไม้ผลแบบเป็นเครือ สามารถแบ่งย่อยผลในเครือออกเป็นหวีๆ กล้วยจะมีใบยาวใหญ่

    กล้วยที่ขึ้นชื่อว่าเป็นกล้วยเป็นพืชเศรษฐกิจอย่างหนึ่งของประเทศไทย สายพันธุ์กล้วยในประเทศไทยที่รู้จักจะมีเพียงไม่กี่สายพันธุ์ แต่จริงๆแล้วกล้วยมีหลากหลายชนิดหลากหลายสายพันธุ์ แต่กล้วยสายพันธุ์ ที่นำมากินส่วนใหญ่ที่พบเห็นบ่อยๆ ตามท้องตลาดหรือแม้แต่ในห้างสรรพสินค้าทั่วไป เช่น กล้วยพันธุ์หอมทอง, กล้วยพันธุ์น้ำว้า เป็นต้น สายพันธุ์กล้วยสามารถที่จะแบ่งย่อยออกได้อีกหลายหลากเลยทีเดียว เกษตรตำบลจะพาไปรู้จักกับสายพันธุ์ของกล้วยกันค่ะ

ประเภทและชนิดของกล้วย ในประเทศไทยสามารถแบ่งกลุ่มได้ดังนี้

      ประเภทและชนิดของกล้วย ในประเทศไทย ที่สามารถแบ่งได้ มี 2 แบบ คือ แบ่งสายพันธุ์กล้วยตามวิธีการนำมาบริโภคและแบ่งพันธุ์กล้วยตามลักษณะทางพันธุกรรม ไปดูกันว่าพันธุ์กล้วยในประเทศไทยเมื่อแบ่งกลุ่มออกมาแล้วกล้วยพันธุ์ใดอยู่ในประเภทและชนิดไหนกันบ้าง

  • ประเภทและชนิดของกล้วย แบ่งตามวิธีการนำมาบริโภค ได้เป็น 2  ประเภท คือ

1. กล้วยกินสด เป็นกล้วยที่เมื่อสุกจะมีเนื้อนิ่ม กินเข้าไปจะมีรสชาติที่หวาน ยกตัวอย่างเช่น กล้วยหอม กล้วยน้ำหว้า กล้วยเล็บมือนาง

2. กล้วยที่ใช้ทำอาหาร เป็นกล้วยที่มีเนื้อค่อนข้างแข็งจึงต้องนำมาทำให้สุกโดยการใช้ไฟก่อน จึงจะกินได้ กล้วยชนิดนี้จะมีแป้งมากยิ่งถ้าปล่อยให้สุกจะยิ่งมีแป้งมากกว่าเดิม สามารถนำมาทำให้สุกได้ โดยการต้ม ปิ้ง ย่าง นึ่ง เชื่อม ก่อนจึงจะมีรสชาติที่อร่อย เช่น กล้วยหักมุก, กล้วยกล้า

พันธุ์กล้วย ชนิดของกล้วย และประโยชน์ของกล้วย

  • ชนิดของกล้วย ที่แบ่งตามลักษณะทางพันธุกรรม

    ทางการเกษตรพันธุ์กล้วยในประเทศไทยที่ได้รับความนิยมนำมารับประทานในปัจจุบันจะมีต้นแบบ 2 ชนิด คือ กล้วยป่าและกล้วยตานี โดยที่กล้วยที่มีกำเนิดจากกล้วยป่ามีจีโนมเป็น AA กล้วยที่มีกำเนิดจากกล้วยตานีมีจีโนมเป็น BB เมื่อนำ พันธุ์กล้วยในประเทศไทยทั้งสองสายพันธุ์มาผสมกันก็จะเกิดเป็นจีโนมที่มีทั้ง A และ B รวมกัน แตกต่างกันไป จากการสัณฐานวิทยารวมทั้งหมด 15 ลักษณะ ที่ใช้เป็นตัวตัดสิน คือ สีของกาบใบ, ร่องของกาบใบ, ก้านช่อดอก, ก้านดอก, ออวุล, ไหล่ของกาบปลี, การม้วนของกาบปลี, รูปร่างของกาบปลี, ปลายของกาบปลี, การซีดของกาบปลี, รอยแผลของกาบปลี, กลีบรวมเดี่ยว, สีของดอกเพศผู้, สีของยอดเกสรเพศเมีย, และสีของกาบปลี โดยการแบ่งกล้วยจากจีโนมได้ดังนี้

1. กลุ่ม AA เป็น พันธุ์กล้วยในประเทศไทยที่มีกำเนิดมาจากกล้วยป่า ส่วนใหญ่จะมีขนาดเล็ก สามารถกินสดได้ เพราะมีรสหวาน เช่น กล้วยไข่,  กล้วยหอมจันทร์ เป็นต้น
2. กลุ่ม AAA เป็น พันธุ์กล้วยในประเทศไทยที่มีขนาดที่ใหญ่กว่ากล้วยในชนิดแรก มีผลเรียวยาว มีรสหวาน กลิ่นหอม สามารถกินสดได้ เช่น กล้วยหอมทอง, กล้วยหอมเขียว, กล้วยนาก เป็นต้น
3. กลุ่ม AAB เป็น พันธุ์กล้วยในประเทศไทยที่ผสมระหว่างกล้วยป่ากับกล้วยตานี แต่จะมีเชื้อกล้วยป่าน้อยกว่าเชื่อของกล้วยตานี จัดเป็นกล้วยที่บางชนิดต้องทำให้สุกก่อน โดยการใช้ไฟจึงจะนำมากินได้ บางชนิดก็สามารถที่จะกินสดได้ กล้วยกลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะเป็นกล้วยที่มีรสฝาด เช่น กล้าย, กล้วยงาช้าง, กล้วยหิน เป็นต้น
4. กลุ่ม ABB เป็น พันธุ์กล้วยในประเทศไทยผสมที่มีเชื้อของกล้วยป่าอยู่น้อย เป็นกล้วยทางการเกษตรที่มีแป้งมาก บางชนิดกินสดได้ บางสนุดต้องผ่านความร้อนก่อน จึงจะกินได้อร่อย เช่น กล้วยหักมุก
5. กลุ่ม BBB เป็น พันธุ์กล้วยในประเทศไทยที่มาเชื้อของกล้วยตานี  กล้วยชนิดนนี้มีแป้งมาก จะมีรสฝาด จึงต้องนำมา ปิ้ง ต้ม หรือย่าง จึงจะมีเนื้อที่นิ่มและแน่น เช่น กล้วยเล็บช้างกุด
6. กลุ่ม ABBB เป็น พันธุ์กล้วยในประเทศไทยผสมที่มีขนาดลูกที่ใหญ่มาก คือกล้วยเทพรส ที่เป็นกล้วยเพียงชนิดเดียวของกลุ่ม แต่ก็ยังคงมีแป้งมาก เมื่อสุกจะมีรสหวาน
7. กลุ่ม AABB เป็นพันธุ์กล้วยในประเทศไทยที่เกิดจากการผสมระหว่างกล้วยป่ากับกล้วยตานีอย่างละครึ่ง มีโครโมโซมเพิ่มขึ้นเป็น 4 เท่า ผลจึงมีขนาดใหญ่ กล้วยเพียงชนิดเดียวในประเทศไทยที่มี คือ กล้วยเงิน

References : กล้วย.  “พันธุ์กล้วย”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก:th.wikipedia.org.  [25 เม.ย. 2016].

Add a Comment