พืชคลุม ซีรูเลียม
ชื่ออื่นๆ : ซีรูเลียม
ต้นกำเนิด : อเมริกาใต้
ชื่อสามัญ : Common names
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Calopogonium caeruleum
ชื่อวงศ์ : POACEAE
ลักษณะของพืชคลุม ซีรูเลียม
ลำต้น : เป็นเถาเลื้อย มีอายุหลายปี เถาแก่มีรากเป็น ปุ่มเล็กๆ สีขาวเกือบทุกข้อ และงอกเป็นรากเมื่อ อยู่ชิดดิน
ใบ : สีเขียวเข้มเป็นมัน แผ่นใบค่อนข้างหนา คล้ายใบโพธิ์
ดอก : เป็นช่อสีม่วง เริ่มสร้างช่อดอกในเดือน ธันวาคม
ฝัก : สีน้ำตาลเข้ม ค่อนข้างเป็นเหลี่ยม ยาวประมาณ 5 เซนติเมตร มีเมล็ดฝักละ 2-9 เมล็ด
เมล็ด : มีผิวเรียบเป็นมัน สีเขียวอ่อน จนถึงน้ำตาล น้ำหนัก 1 กก. มีเมล็ดประมาณ 28,000 เมล็ด
การขยายพันธุ์ของพืชคลุม ซีรูเลียม
- ใช้เมล็ดปลูก
- ใช้เถาปักชำ
การเตรียมเมล็ดพันธุ์
เนื่องจากเมล็ดพืชคลุมซีรูเลียม มีเปลือกหุ้มเมล็ดแข็ง น้ำหรือความชื้นซึ่งจำเป็น ต่อการงอก ของเมล็ด จะซึมผ่านเข้าไปในเมล็ดยาก หากไม่กระตุ้นให้เมล็ดงอกดีขึ้นก่อนนำไปปลูกอาจทำให้เมล็ดที่นำไปปลูกงอกน้อย กว่าที่ควรจะเป็น การกระตุ้นเมล็ดพืชคลุมซีรูเลียมก่อนนำไป
ปลูกมี 2 วิธี ได้แก่
- แช่เมล็ดพันธุ์ในกรดซัลฟูริคเข้มข้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 นาน 30 นาที แล้วนำไปล้างน้ำฝึ่งให้แห้งหมาดๆ
- แช่ในน้ำอุ่น (ผสมน้ำเดือด 2 ส่วนกับน้ำเย็น 1 ส่วน) นาน 12 ชั่วโมง แล้วน้ำเมล็ดไปผึ่งให้แห้งหมาดๆ
ทั้ง 2 วิธีที่กล่าวมา เมื่อผึ่งเมล็ดให้แห้งพอหมาดแล้ว ให้คลุกเมล็ดพันธุ์กับปุ๋ยหินฟอสเฟตก่อนแล้วจึงนำไปปลูก
การเตรียมต้นพันธุ์แบบเถาปักชำ
เถาที่นำมาใช้ปักชำ ต้องเป็นเถาหนุ่ม ไม่อ่อนหรือแก่เกินไป สังเกตได้จากที่ข้อจะมีปุ่มรากสีขาวหรือมีรากออกเล็กน้อย ตัดเถาท่อนละ 2 ข้อ ใส่ถุงพลาสติก และรัดปากให้แน่น เพื่อให้เถาสดไม่เหี่ยวเฉา ก่อนนำไปปักชำ การปักชำ อาจใช้วิธีปักชำในถุง หรือปักชำในแปลงเพาะชำก็ได้
การปักชำในถุง
ใช้ถุงเพาะชำขนาด 2 นิ้ว X 4 นิ้ว กรอกดินผสมลงไปให้เต็ม รดน้ำให้ชุ่ม แล้วจัดเรียงเป็นแถวไว้รอปักชำต่อไป ดินผสมที่กล่าวข้างต้น ใช้ดินร่วน 1 ลูกบาศก์เมตร ผสมปุ๋ยหินฟอสเฟต ครึ่งกิโลกรัมคลุกเคล้าปุ๋ยและดิน ให้เข้ากันดี จากนั้นให้นำเถาที่เตรียมไว้ ปักชำในถุงให้ส่วนข้อจมอยู่ใต้ดิน 1-2 เซนติเมตร ถุงละ 3-4 ท่อน กดดินในถุงให้แน่นพอประมาณ จัดเรียงไว้ในที่ร่ม รดน้ำให้ชุ่ม และหมั่นรดน้ำอยู่เสมอ ตลอดจนปักซ่อมเถาที่ตาย ภายในเวลาประมาณ 1 เดือน เถาที่ปักชำจะแตกรากและแตกยอดแขนงประมาณ 3-4 แขนง รอจนใบแก่ก็พร้อมนำไปปลูกลงแปลงได้
การปักชำในแปลงเพาะชำ
ให้เตรียมแปลงเพาะชำในที่ร่ม ด้วยการใช้ขี้เถ้าแกลบ ยกแปลงปลูกกว้างประมาณ 1 เมตร หนาประมาณ 4-5 นิ้ว แล้วรดน้ำให้ชุ่ม ปักชำเถาพันธุ์ ระยะห่างประมาณ 2 นิ้ว กดขี้เถ้าแกลบให้แน่นพอประมาณ แล้วรดน้ำให้ชุ่ม และดูแลรักษา เช่นเดียวกับการปักชำในถุง หากฤดูปักชำเป็นฤดูแล้ง อาจใช้ไม่ไผ่ทำโครงหลังคาแล้วใช้พลาสติกคลุม เพื่อช่วยให้แปลงเพาะชำมีความชุ่มชื้นอยู่เสมอทั้งช่วยประหยัดเวลา และน้ำได้อีกด้วย วิธีนี้เหมาะสำหรับการเตรียมพันธุ์สำหรับใช้ปลูกในพื้นที่จำนวนมาก
ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการปลูก : ต้นฤดูฝน เพื่อให้พืชคลุมเจริญเติบโต และเถามีความแข็งแรงเพียงพอก่อนเข้าฤดูแล้ง
วิธีการปลูก
พื้นที่ราบ ใช้เมล็ดหว่าน อัตราไร่ละ 1 กก. ลงไประหว่างแถวพืชประธาน เป็นแถว 2-3 แถว แต่ละแถวห่างกัน 1 เมตร และห่างจากแถวพืชประธาน 2-3 เมตร พื้นที่ลาดเท ขุดหลุมลึก 2-3 นิ้ว เป็นแถวเหนือระดับขั้นบันได แล้วฝังกลบเมล็ดพืชคลุมให้มิดกรณีใช้เถาปลูก ให้ปลูกห่างกัน ประมาณ 50 เซนติเมตร
ธาตุอาหารหลักที่พืชคลุม ซีรูเลียมต้องการ
การเจริญเติบโต : ขึ้นได้ดีในสภาพร่มเงามาก ช่วงแรกจะเจริญเติบโตช้า แต่ต่อไป จะเจริญเติบโต และคลุมดินได้หนาแน่น และคงทนกว่าพืชคลุม ดินชนิดอื่น ทนทานต่อความ แห้งแล้งได้ดี โดยเฉพาะ ในท้องที่ ที่มีสภาพแห้งแล้ง และมีปรากฏการณ์ฝนทิ้งช่วงเกิดขึ้นบ่อย จะช่วยลดความเสียหายที่เกิดขึ้นได้มาก
ประโยชน์ของพืชคลุม ซีรูเลียม
ประโยชน์ของพืชคลุมดิน
การปลูกพืชคลุมดิน ระหว่างแถวยางพารา หรือ
พืชประธาน ก่อประโยชน์ นานับประการ อาทิ
1. ช่วยป้องกันการชะล้างและการพังทลายของดิน
2. ช่วยควบคุมวัชพืช ทำให้ลดเวลา แรงงาน ตลอดจนค่าใช้
จ่ายในการปราบวัชพืช
3. รักษาความชุ่มชื้นให้กับดิน
4. เพิ่มธาตุอาหารให้กับดิน
สรรพคุณทางยาของพืชคลุม ซีรูเลียม
คุณค่าทางโภชนาการของพืชคลุม ซีรูเลียม
การแปรรูปของพืชคลุม ซีรูเลียม
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11169&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com