พุดใหญ่
ชื่ออื่นๆ : เก็ดถวา,เค็ดถวา (ภาคเหนือ) พุดจีน,พุดจีบ,พุดใหญ่,พุดสวน,พุด (ภาคกลาง) อินถวา (ภาคอีสาน) พุดป่า (ลำปาง) พุทธรักษา (ราชบุรี) ซัวอึ้งกี่,ซัวกี่,จุยเจียฮวย (จีน) Bunga cina (มาเลเซีย)
ต้นกำเนิด : ทวีปเอเชียบริเวณจีนตอนใต้และในประเทศญี่ปุ่น
ชื่อสามัญ : พุดซ้อน Gerdenia, Cape jasmine
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gardenia jasminoides J.Ellis
ชื่อวงศ์ : Rubiaceae
ลักษณะของพุดใหญ่
ต้น เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูงได้ถึง 5 เมตร ไม่ผลัดใบ ทรงพุ่มกลมค่อนข้างหนางทึบ เปลือกสีน้ำตาลดำ
ใบ ใบเดี่ยว ออกเวียนสลับห่างๆ รูปไข่ รูปรีหรือขนาดรูปขนาดกว้าง 2.5-6.5 เซนติเมตร ยาว 7.5-15 เซนติเมตร ปลายแหลมเป็นติ่งสั้นๆ โคนมนขอบเป็นคลื่น
ดอก ดอกสีขาว มีกลิ่นหอมแรกตอนเย็นถึงเช้า ออกดอกเกี่ยวที่ซอกใบกันปลายกิ่ง กลีบดอกที่ซ้อน บิดเวียนเป็นเกลียว ดอกบานเต้มที่กว้าง 5-8 เซนติเมตร ออกกอกตลอดปี
ผล ผลสด มีทั้งผลสั้นและยาว รูปไข่ถึงรูปแบบรูปขอบขนาน เมื่อแก่กลายเหลือง ส้ม แสน
การขยายพันธุ์ของพุดใหญ่
ใช้กิ่ง/ลำต้น/โดยการตอนกิ่ง /ติดตา แล้วนำมาปลูกในกระถางก่อนการนำไปปลูกในดิน
ธาตุอาหารหลักที่พุดใหญ่ต้องการ
ประโยชน์ของพุดใหญ่
พุดซ้อนสามารถนำมาใช้ประโยชน์ต่างๆ ได้หลายอย่าง เช่น ดอกมีกลิ่นหอมนิยม นำมาปักแจกันไหว้พระแจกันประดับโต๊ะในโรงแรมหรืออาคารต่างๆ และยังสามารถนำไปร้อยเป็นพวงมาลัยสำหรับบูชาพระอีกด้วย ส่วนในประเทศจีน ใช้ดอกพุดมาอบใบชาให้มีกลิ่นหอม เช่นเดียวกับการใช้ดอกมะลิหรือกุหลาบอบใบชา
สรรพคุณทางยาของพุดใหญ่
- รากและผลมีรสขม เป็นยาเย็น ออกฤทธิ์ต่อหัวใจและตับ ช่วยแก้อาการร้อนใน ใช้เป็นยาดับพิษร้อนถอนพิษไข้ แก้ตัวร้อน มีไข้สูง ขับน้ำชื้น ทำให้เลือดเย็น เนื้อไม้เป็นยาเย็น ช่วยลดพิษไข้ เปลือกต้นและรากเป็นยาแก้ไข้
- ดอก คั้นน้ำทาแก้โรคผิวหนัง
- ใบ ตำพอกแก้ปวดศรีษะ แกเคล็ดคอดยอก
คุณค่าทางโภชนาการของพุดใหญ่
การแปรรูปของพุดใหญ่
www.forest.go.th, www.flickr.com