มะกล่ำต้น ไม้ต้นขนาดกลาง ราก เมล็ด ใบ มีสรรพคุณทางยา

มะกล่ำต้น

ชื่ออื่นๆ : มะแค้ก, หมากแค้ก (แม่ฮ่องสอน) มะหล่าม (นครราชสีมา) บนซี (สตูล) ไพ (ปัตตานี) มะแดง, มะหัวแดง, มะโหกแดง (ภาคเหนือ) มะกล่ำตาช้าง (ทั่วไป) หมากแค้ก, มะแค้ก (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน) มะแค้กตาหนู (คนเมือง) กัวตีมเบล้ (ม้ง), ซอรี่เหมาะ (กะเหรี่ยงแดง) กล่องเคร็ด (ขมุ) ลิไพ และ ไพเงินก่ำ

ต้นกำเนิด : ประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ชื่อสามัญ : มะกล่ำต้น : Red Wood, Coral Wood

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Adenanthera pavonina L.

ชื่อวงศ์ : Mimosaceae

ลักษณะของมะกล่ำต้น

ต้น เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีความสูง 20 เมตร เรือนยอดแผ่กิ่งกว้าง เปลือกลำต้นหนาเป็นสีน้ำตาลอ่อน

ใบ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้นปลายคู่ออกเรียงสลับกัน รูปวงรี รูปไข่ หรือเป็นรูปขอบขนาน ปลายใบมน ขอบใบเรียบ แผ่นใบบางเป็นสีเขียวเข้ม ใบเรียบเกลี้ยง ก้านใบย่อยสั้น ไม่มีหูใบ

ดอก ดอกออกเป็นช่อรูปทรงกระบอก ออกดอกตามซอกใบช่วงบนหรือแตกแขนงที่ปลายกิ่ง และจะออกดอกเป็นช่อเดี่ยวหรือหลายช่อรวมกัน ดอกย่อยมีขนาดเล็ก กลีบดอกเป็นสีเหลืองอ่อนอมสีครีม เมื่อดอกแก่จะเปลี่ยนเป็นสีส้ม ดอกมีกลีบดอก 5 กลีบ กลีบแคบ ปลายกลีบแหลม ขนาดประมาณ 2.5-3 มิลลิเมตร เชื่อมติดกันที่ฐานเป็นหลอด ก้านดอกสั้นเป็นทรง

ผล เป็นรูปแถบแบนยาว ฝักอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อแก่แล้วจะแตกออกกเป็นสองตะเข็บและบิดม้วนงอเป็นเกลียวแน่นเพื่อกระจายเมล็ด และมีรอยคอดตามเมล็ดชัดเจน เมล็ดจะติดอยู่ในฝักเป็นเวลานาน ในหนึ่งฝักจะมีเมล็ดประมาณ 10-15 เมล็ด เมล็ดมีลักษณะค่อนข้างกลม แข็ง ผิวมัน และเป็นสีแดงเลือดนกหรือเป็นสีแดงส้ม

มะกล่ำต้น
มะกล่ำต้น เปลือกลำต้นหนาเป็นสีน้ำตาลอ่อน
ใบมะกล่ำต้น
ใบมะกล่ำต้น แผ่นใบบางเป็นสีเขียวเข้ม ใบเรียบเกลี้ยง
ดอกมะกล่ำต้น
ดอกมะกล่ำต้น ดอกเป็นสีเหลืองอ่อนอมสีครีม

การขยายพันธุ์ของมะกล่ำต้น

ใช้เมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่มะกล่ำต้นต้องการ

ประโยชน์ของมะกล่ำต้น

  • พันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดสิงห์บุรี โดยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถได้พระราชทานให้กับผู้ว่าราชการจังหวัดของแต่ละจังหวัด เพื่อให้นำไปปลูกเป็นสิริมงคลแก่จังหวัดและเพื่อเป็นการรณรงค์ให้ประชาชนปลูกต้นไม้ใน “โครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ” เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 ทรงครบรอบปีที่ 50 ในการครองราชสมบัติ ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2537
  • ไม้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในด้านเชื้อเพลิงได้ เนื้อไม้ให้สีแดงที่ใช้สำหรับย้อมผ้า เนื้อไม้ใช้ทำเสาบ้าน ใช้ในการก่อสร้าง
  • เมล็ดใน – เป็นยาเบื่อพยาธิ และเบื่อไส้เดือนได้ดี ถ้าผสมกับยาอื่นที่ทำให้ระบายด้วยแล้ว ก็จะได้ประโยชน์ทั้งเบื่อไส้เดือน และระบายออกมาด้วย
  • เปลือก ให้สีแดง
  • ใบอ่อนและยอด รับประทานเป็นผักสด
ผลมะกล่ำต้น
ผลมะกล่ำต้น ผลเป็นรูปแถบแบนยาว ฝักอ่อนเป็นสีเขียว
ผลมะกล่ำต้นแห้ง
ผลมะกล่ำต้นแห้ง ผลแตกออกกเป็นสองตะเข็บและบิดม้วนงอเป็นเกลียว

สรรพคุณทางยาของมะกล่ำต้น

  • ราก แก้โรคเสมหะ แก้ร้อนใน แก้อาเจียน แก้หืดไอ และพิษฝี
  • เมล็ด แก้ริดสีดวงทวารหนัก
  • ใบ ยาเบื่อพยาธิ บำรุงกำลัง บำรุงธาตุในร่างกาย แก้บิด แก้ท้องร่วง แก้ริดสีดวงทวารหนัก ฝาดสมาน แก้โรคปวดข้อ แก้ลมเข้าข้อ

วิธีใช้

  1. แก้โรคเสมหะ แก้ร้อนใน แก้อาเจียน แก้หืดไอ และพิษฝี นำรากมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
  2. แก้ริดสีดวงทวารหนัก นำเมล็ดมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
  3. ยาเบื่อพยาธิ บำรุงกำลัง บำรุงธาตุในร่างกาย แก้บิด แก้ท้องร่วง แก้ริดสีดวงทวารหนัก ฝาดสมาน แก้โรคปวดข้อ แก้ลมเข้าข้อ นำใบมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน

คุณค่าทางโภชนาการของมะกล่ำต้น

การแปรรูปของมะกล่ำต้น

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11371&SystemType=BEDO
www.thaiherbal.org
www.cfbt.or.th
www.flickr.com

One Comment

Add a Comment