ผักราน้ำ เป็นผักพื้นบ้านของภาคใต้ ใช้รับประทานสดเป็นผักเหนาะ รับประทานกับน้ำพริก

ผักราน้ำ

ชื่ออื่นๆ : ผักกระโฉม กระออม นางออม กระออมโป๋ง กระออมหอม ผักชะ

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญผักกระโฉม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Limnophila rugosa Merr.

ชื่อวงศ์ : SCROPHULARIACEAE

ลักษณะของผักราน้ำ

พืชล้มลุกอายุหลายปี เติบโตได้ดีภูมิประเทศที่ลุ่ม ชื้นแฉะ และเป็นดินโคลน มีกลิ่นหอมคล้ายยี่หร่า ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ ราน้ำ ลักษณะต้น

ลำต้น กลม อวบน้ำ เป็นข้อๆ แต่ละข้อยาวประมาณ 2.5 – 3 ซม. สีน้ำตาลอ่อนแกมม่วง

ใบ เป็นใบเดี่ยว รูปหอกปลายมน ออกตรงข้ามกันเรียงสลับตามข้อของลำต้น มีเส้นด้านบนของใบ สีเขียวเข้มเป็นมันเล็กน้อย ขอบใบหยัก ใต้ใบสีขาว ขนาดของใบกว้าง 3 ซม. ยาว 5 ซม.

ดอก เมื่อต้นแก่ จะมีดอกขนาดเล็ก ลักษณะเป็นช่อๆ ออกเป็นกระจุกที่ด้านบนของก้านใบ มีสีม่วง

ผล เมื่อดอกแก่จะร่วงและกลายเป็นผล ออกเป็นกระจุกแน่นตามข้อด้านบนของก้านใบ มีสีเขียว ลักษณะคล้ายหอก หุ้มเมล็ดซึ่งอยู่ข้างใน

ผักราน้ำ
ผักราน้ำ ลำต้นอวบน้ำ ใบสีเขียวเข้มเป็นมันเล็กน้อย ขอบใบหยัก

การขยายพันธุ์ของผักราน้ำ

ใช้เมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่ผักราน้ำต้องการ

ประโยชน์ของผักราน้ำ

เป็นผักพื้นบ้านของภาคใต้ ใช้รับประทานสดเป็นผักเหนาะ รับประทานกับน้ำพริก แกงเผ็ด หรือ รับประทานกับขนมจีน

สรรพคุณทางยาของผักราน้ำ

ทั้งต้น ขับเสมหะ แก้ไอ หอบ แน่นหน้าอก
ลำต้น ใช้สับแล้วตำ พอกแผลพุพอง  ลำต้นจะมีน้ำมันหอมระเหย
ใบ ขับปัสสาวะ ช่วยเจริญอาหาร แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้แน่นหน้าอก เป็นยาขับลม ใช้ดับกลิ่นปาก

คุณค่าทางโภชนาการของผักราน้ำ

การแปรรูปของผักราน้ำ

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11243&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment