มะขาม มะขามหวาน ผลไม้ที่อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุ

มะขาม, มะขามหวาน, มะขามเปรี้ยว,ขาม (ภาคใต้)

ชื่ออื่นๆ : ขาม (ภาคใต้) ตะลูบ (ชาวบน-นครราชสีมา) ม่องโคล้ง (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) อำเปียล (เขมร-สุรินทร์) หมากแกง (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน) ส่ามอเกล (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) บะขาม

ต้นกำเนิด : ทวีปแอฟริกา

ชื่อสามัญ : Tamarind, Indian DataL.

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tamarindus indica L.

ชื่อวงศ์ : LEGUMINOSAE-PAPILIONOIDEAE

ลักษณะของมะขาม, มะขามหวาน, มะขามเปรี้ยว,ขาม (ภาคใต้)

ต้น ไม้ต้นขนาดกลางจนถึงใหญ่ ลำต้นตั้งตรงได้เอง สูงประมาณ 20 เมตร ผิวลำต้นหยาบขรุขระ สีของลำต้นอ่อนสีเขียวอ่อน ต้นแก่สีน้ำตาลเข้ม ไม่มียาง

ใบ ใบเป็นใบประกอบขนนก 2 ชั้น ใบอ่อนมีสีเขียวอ่อน ใบแก่สีเขียวเข้ม แผ่นใบมนขอบขนานใบกว้างประมาณ 1-5 เซนติเมตรยาว 1 – 2 .5 เซนติเมตร การเรียงตัวของใบเป็นแบบคู่ตรงข้าม

ดอก ดอกชนิดดอกเดี่ยว ออกดอกตามลำต้นหรือกิ่ง สีของดอกสีเหลืองกลีบเลี้ยงแยก 4 กลีบ สีเหลืองส้ม กลีบดอก 3 กลีบ เกสรตัวผู้ 3 อัน ตัวเมีย 1 อันสีเขียว ออกดอกช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม

ผล เป็นผลเดี่ยว ผลเป็นฝักกลมยาวมีเนื้อ ผลแห้งแก่แล้วไม่แตก ผลอ่อนสีเขียวผิวสีน้ำตาล ผลแก่สีน้ำตาลอมเทา เมล็ดอ่อนสีขาวเขียว เมล็ดแก่สีน้ำตาลดำ 1 ฝักจะมี 3-12 เมล็ด ฝักสุกเดือนธันวาคม-มกราคม

ต้นมะขาม
เปลือกต้นขรุขระและหนา ลำต้นสีน้ำตาลอ่อน

การขยายพันธุ์ของมะขาม, มะขามหวาน, มะขามเปรี้ยว,ขาม (ภาคใต้)

ใช้ส่วนอื่นๆ/การทาบกิ่ง การตอนกิ่ง เมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่มะขาม, มะขามหวาน, มะขามเปรี้ยว,ขาม (ภาคใต้)ต้องการ

ประโยชน์ของมะขาม, มะขามหวาน, มะขามเปรี้ยว,ขาม (ภาคใต้)

  • มะขามช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานโรคให้แก่ร่างกายด้วยสารต่อต้านอนุมูลอิสระ
  • ช่วยบำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่งสดใสด้วยวิตามินซีจากมะขาม
  • ช่วยในการชะลอวัยและการเกิดริ้วรอยแห่งวัย
  • แคลเซียมจากมะขามจะช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง
  • มะขามมีธาตุเหล็ก ซึ่งมีส่วนช่วยในการสร้างเม็ดเลือด
  • ใช้ในการทำทรีตเม้นต์ด้วยการนำมาขัดตามซอกขาหนีบ รักแร้ ข้อพับ ซึ่งจะช่วยลดรอยคล้ำลงได้
  • ช่วยป้องกันการเกิดและช่วยรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน
  • มะขามมีวิตามินเอที่มีส่วนช่วยในการบำรุงและรักษาสายตา
  • ช่วยลดความร้อนในร่างกายได้เป็นอย่างดี
  • เนื้อไม้ทำเขียง ของชำร่วย
  • เปลือก ฝักแก่ ทำเป็นสีย้อมผ้าได้และใช้ทำในพิธีกรรมสะเดาะเคราะห์สืบชะตาของชาวภาคเหนือ
ดอกมะขาม
ดอกย่อยขนาดเล็ก กลีบดอกสีเหลืองและมีจุดประสีแดง

สรรพคุณทางยาของมะขาม, มะขามหวาน, มะขามเปรี้ยว,ขาม (ภาคใต้)

  • ใบอ่อนต้มน้ำดื่มช่วยย่อยและขับปัสสาวะ
  • ใบแก่เป็นสมุนไพรอบไอน้ำ
  • ดอก-ผล เป็นอาหารเนื้อในฝักเป็นยาระบายอ่อนๆ แก้ไข้ขับเสมหะ
  • เปลือกต้นแก้ท้องเดิน
  • เมล็ดคั่วทานเป็นยาขับพยาธิ
ผลมะขาม
ผลเป็นฝักยาว รูปร่างยาวหรือโค้ง เนื้อมีรสเปรี้ยวและหวาน

คุณค่าทางโภชนาการของมะขาม, มะขามหวาน, มะขามเปรี้ยว,ขาม (ภาคใต้)

มะขามยังอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย อย่างวิตามินซี วิตามินบี 2 วิตามินเอ ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก โปรตีน คาร์โบไฮเดรต เป็นต้น มะขามที่แก่จัดนั้นเราจะเรียกว่า “มะขามเปียก” โดยมะขามหวาน 100 กรัม จะมีแคลอรีเท่ากับ 314 แคลอรี

การแปรรูปของมะขาม, มะขามหวาน, มะขามเปรี้ยว,ขาม (ภาคใต้)

การแปรรูปมะขาม สามารถนำมาแปรรูปได้หลายชนิด เช่น มะขามแก้ว มะขามกวน มะขามอบไร้เมล็ด มะขามบ๊วย มะขามแช่อิ่ม มะขามคลุก มะขามจี๊ดจ๊าด เป็นต้น

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10324&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment