มะมุด เป็นผลไม้พื้นเมืองของภาคใต้ไทย ผลใช้รับประทาน และนำมาปรุงรสเปรี้ยวในอาหาร

มะมุด

ชื่ออื่นๆ : ส้มมุด, มะมุด,  มะม่วงป่าหรือมาแซอูแต (นราธิวาส)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : ส้มมุด Horse Mango

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Mangifera foetida Lour

ชื่อวงศ์ : ANACARDIACEAE

ลักษณะของมะมุด

ต้น ไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูงประมาณ 8-40 เมตร วัดรอบลำต้น 80-150 ซม. ลำต้นเปลาตรงเรือยอดเป็นพุ่มกลมทึบ กิ่งอ่อนเกลี้ยงไม่มีต่อมระบายอากาศ เปลือกลำต้นแตกเป็นสะเก็ดสีน้ำตาลคล้ำ เปลือกชั้นในสีน้ำตาลแดง เมื่อมีบาดแผลจะมีน้ำยางสีขาวขุ่นซึมออกมาเป็นเม็ดๆ เนื้อไม้ที่ติดกับเปลือกสีขาวไม่เรียบลักษณะเป็นคลื่นตามยาว

ใบ ใบเดี่ยวออกเรียงเวียนสลับเป็นกลุ่มตามปลายกิ่ง แผ่นใบคล้ายแผ่นหนังเป็นคลื่นแข็งกรอบ ใบรูปรีแกมรูปขอบขนานหรือรูปหอก ขนาดใบกว้าง 4-11 ซม. ยาว 10-32 ซม. โคนใบสอบเบี้ยว ปลายใบเป็นติ่งทู่ๆ ใบพุ่งตั้งชัน เนื้อใบหนามาก เกลี้ยงเป็นมัน เส้นแขนงใบมี 12-26 คู่ เรียวโค้งและขนานกัน เส้นร่างแหเห็นไม่ชัด เส้นกลางใบขึ้นเป็นสันทางด้านหลังใบ ก้านใบอวบเป็นร่องทางด้านบน โคนก้านบวม ก้านใบยาว 2-5.5 ซม.

ดอก มีขนาดเล็ก สีชมพูหรือสีส้มมีกลิ่นหอมเย็น ออกดอกเป็นช่อใหญ่ตามปลายกิ่ง คล้ายช่อมะม่วง ช่อหนึ่งๆ ยาว 7-21 ซม. เป็นดอกสมบูรณ์เพศ ก้านดอกสีแดงเข้มกลีบดอกและกลีบรองดอกมีอย่างละ 5กลีบ กลีบรองกลีบดอกรูปไข่ ขนาด 2-4 มม. ส่วนกลีบดอกรูปหอก ขนาดกว้าง 2.5 มม. ยาว 7-10 มม. เกสรผู้มี 5 อัน ในจำนวนนี้เป็นเกสรผู้ปลอม 4 อัน เกสรผู้แท้ที่เหลืออยู่อันเดียวจะยาวกว่าเกสรผู้ปลอม รังไข่กลม ขนาดกว้าง 1.8 มม. ยาว 2 มม. ออกดอกประมาณเดือนมกราคม-มีนาคม

ผล รูปไข่แกมรูปขอบขนาน ลักษณะเป็นป้อมเบี้ยวๆ เนื้อหนา ขนาดกว้าง 7.5 ซม. ยาว 10.5 ซม. ผลสุก สีเหลืองแกมเขียว ภายในมีเมล็ด ผลดิบ มียางซึ่งทำให้ระคายเคืองในปากและริมฝีปาก ผลสุกมียางเฉพาะที่เปลือก ผลแก่ระหว่างเดือนมิถุนายน-สิงหาคม พบทางภาคใต้

มะมุด
มะมุด ไม้ต้น แผ่นใบคล้ายแผ่นหนังเป็นคลื่นแข็งกรอบ

การขยายพันธุ์ของมะมุด

ใช้เมล็ด/เพาะกล้าด้วยเมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่มะมุดต้องการ

ประโยชน์ของมะมุด

  • เป็นผลไม้พื้นเมืองของภาคใต้ไทย ผลใช้รับประทาน และนำมาปรุงรสเปรี้ยวในอาหาร เช่น น้ำพริก นำมากินเป็นผักแกล้ม นำมายำกับปลาใส่มะพร้าวคั่ว หรือใส่ในแกงส้ม แกงเหลือง
  • ผลดิบใช้เป็นผักหรือดองโดยเฉพาะในกาลีมันตันตะวันออกนิยมนำไปใช้แทนมะขาม
  • ในมาเลเซียใช้ทำน้ำพริกและนำไปดอง
  • ชาวโอรังอัซลีในคาบสมุทรมลายูใช้น้ำยางในการสักผิวหนัง เพื่อให้รอยสักติดลึก
  • เนื้อไม้ใช้ก่อสร้างและทำด้ามเครื่องมือเครื่องใช้ได้ดี
ผลมะมุด
ผลมะมุด ผลสุก สีเหลืองแกมเขียว ภายในมีเมล็ด

สรรพคุณทางยาของมะมุด

  • ใบ ใช้เป็นยาลดไข้
  • เมล็ด ใช้แก้โรคติดเชื้อราบางชนิด

คุณค่าทางโภชนาการของมะมุด

การแปรรูปของมะมุด

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11111&SystemType=BEDO
www.flickr.com

Add a Comment