มะม่วงลิ้นงูเห่า ทรงผลคล้ายมะม่วงพิมเสน เนื้อผลเยอะ ผลดิบรสเปรี้ยวจัด ฉ่ำน้ำ

มะม่วงลิ้นงูเห่า

ชื่ออื่นๆ : มะม่วงลิ้นงูเห่า, มะม่วงแก้ว, มะม่วงแก้วลืมคอน

ต้นกำเนิด : จังหวัดฉะเชิงเทรา

ชื่อสามัญ : มะม่วงลิ้นงูเห่า

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Mangiferaindica

ชื่อวงศ์ : ANACARDIACEAE

ลักษณะของมะม่วงลิ้นงูเห่า

ต้น  เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูงประมาณ 10–30 เมตร

ใบ  ใบเดี่ยวสีเขียว ขอบใบเรียบ ฐานใบมน ปลาย ใบแหลม

ดอก  เป็นช่อ กลีบดอกมี 5 กลีบ เกสรสีแดงเรื่อๆ ดอกออกช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์

ผล  ช่วงฤดูร้อนจะติดผล ผลเรียวยาวประมาณ 5–20 ซม. กว้าง 4–8 ซม. ลูกดิบสีเขียว รสเปรี้ยวจัด ฉ่ำน้ำและกรอบ เมื่อสุกเปลี่ยนเป็นสีเหลือง หรือเหลืองส้ม กลิ่นหอมรสหวานหอมเหมือนมะม่วงอกร่อง มีเมล็ดภายใน 1 เมล็ด

มะม่วงลิ้นงูเห่า
มะม่วงลิ้นงูเห่า ผลเรียวยาว
ผลมะม่วงลิ้นงูเห่า
ผลมะม่วงลิ้นงูเห่า ผลดิบสีเขียว เนื้อด้านในสีขาว มีรสเปรี้ยว

การขยายพันธุ์ของมะม่วงลิ้นงูเห่า

ใช้กิ่ง/ลำต้น/ชำกิ่ง

ปลูกได้ทุกสภาพพื้นที่ ออกผลภายใน 2-3 ปี

ธาตุอาหารหลักที่มะม่วงลิ้นงูเห่าต้องการ

ประโยชน์ของมะม่วงลิ้นงูเห่า

มะม่วงลิ้นงูเห่า เป็นมะม่วงพันธุ์ไทยโบราณหายาก มีข้อเด่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวคือ เป็นมะม่วงติดผลดก รูปทรงของผลดูเหมือนกับผลมะม่วงพิมเสน เมล็ดลีบ เนื้อผลเยอะ ผลดิบรสเปรี้ยวจัด ฉ่ำน้ำ สามารถสับปรุงเป็นส้มตำมะม่วง หรือยำมะม่วงรสชาติแซบดีนัก เนื่องจากมีกลิ่นเปรี้ยว หรือที่คนส่วนใหญ่นิยมเรียกกันว่า “กลิ่นส้ม” โชยเข้าจมูกชวนให้น้ำลายสอ อยากรับประทานดีมาก เมื่อผล สุกสีสันของผลจะสวยงามน่าชมยิ่ง และจะมีความเป็นพิเศษคือ แม้รูปทรงของผลจะดูเหมือนกับผลมะม่วงพิมเสนและผลของมะม่วงมหาชนก แต่ผลของ “มะม่วงลิ้นงูเห่า” จะเรียวยาวและใหญ่กว่าเล็กน้อยอย่างชัดเจน เนื้อในเมื่อสุกจะเป็นสีส้ม รสชาติหวานหอมเหมือนกับเนื้อสุกของมะม่วงอกร่องทุกอย่าง ซึ่งเป็นเรื่องที่แปลกมาก ที่สำคัญแม้ผลจะสุกขนาดไหน เนื้อในก็จะไม่เละ ยังคงเหนียวหนึบอร่อยมาก ไม่มีเสี้ยน ในยุคสมัยก่อนคนรุ่นเก่าๆ นิยมใช้มีดคมๆ เฉือน 2 แก้ม ไม่ต้องปอกเปลือก แล้วใช้ช้อนตักเนื้อรับประทานกับข้าวสวยร้อนๆ อร่อยดีมาก หรือจะปอกเปลือกตัดเป็นชิ้นๆ ใส่จาน รับประทานกับข้าวเหนียวมูนอร่อยเหมือนมะม่วงอกร่องทุกอย่าง

มะม่วงน้ำปลาหวาน
มะม่วงลิ้นงูเห่าผลดิบทานกับน้ำปลาหวาน

สรรพคุณทางยาของมะม่วงลิ้นงูเห่า

คุณค่าทางโภชนาการของมะม่วงลิ้นงูเห่า

การแปรรูปของมะม่วงลิ้นงูเห่า

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11385&SystemType=BEDO, https://researchex.mju.ac.th/
ภาพประกอบ : FB สวนญาตา ชัยภูมิ

2 Comments

Add a Comment