มะม่วงหาวมะนาวโห่ มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยต้านมะเร็งและชะลอความแก่

มะม่วงหาวมะนาวโห่

ชื่ออื่นๆ : มะนาวไม่รู้โห่, มะนาวโห่, หนามแดง, หนามขี้แฮด (เชียงใหม่)

ต้นกำเนิด : ประเทศอินเดีย

ชื่อสามัญ : มะม่วงหาวมะนาวโห่

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Carissa Carandas linn

ชื่อวงศ์ :  APOCYNACEAE

ลักษณะของมะม่วงหาวมะนาวโห่

ต้น เป็นไม้พุ่มยืนต้นสุงราว 2-5 เมตร เป็นพรรณไม้โบราณมีชื่อในวรรณคดี ลักษณะเป็นพุ่มขนาดค่อนข้างใหญ่

ใบ ใบเขียวเข้มเป็นมัน มีหนามสีแดงตามกิ่ง จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า หนามแดง

ดอก ออกเป็นช่อช่อละประมาฌ 5 ดอก กลีบดอกสีขาวชั้นเดียว ก้านดอกสีแดง ดอกประมาณช่วงเดือนมกราคม

ผล ผลจะมีผิวสีแดงใส แก่จัด ผลจะเป็นสีดำ ออกผลในเดือนพฤษภาคม

ต้นมะม่วงหาวมะนาวโห่
ต้นมะม่วงหาวมะนาวโห่ ใบเขียวเข้มเป็นมัน มีหนามสีแดงตามกิ่ง

การขยายพันธุ์ของมะม่วงหาวมะนาวโห่

ใช้เมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่มะม่วงหาวมะนาวโห่ต้องการ

ประโยชน์ของมะม่วงหาวมะนาวโห่

  • ผล  ผลสุกสามารถนำมารับประทานเป็นผลไม้  สามารถนำไปประกอบอาหารได้หลายชนิด
  • มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยต้านมะเร็งและชะลอความแก่
  • มีประโยชน์ช่วยให้ร่างกายสดชื่นและกระชุ่มกระชวย
  • ผลของมะม่วงหาวมะนาวโห่มีธาตุเหล็กสูง ช่วยบำรุงเลือด
  • ช่วยรักษาและบรรเทาอาการของโรคถุงลมโป่งพอง
  • ช่วยรักษาและบรรเทาอาการของโรคตับ
  • ช่วยบรรเทาอาการของโรคเกาต์และไทรอยด์
  • ช่วยบรรเทาอาการมือเท้าชา
  • ช่วยบรรเทาอาการของโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต
  • ผลของมะม่วงหาวมะนาวโห่มีประโยชน์ช่วยลดอาการไอ
  • มีส่วนช่วยลดอาการภูมิแพ้
  • ผลสุกมีวิตามินซีสูง ช่วยลดอาการเลือดออกตามไรฟัน
  • ผลมีสรรพคุณช่วยขับปัสสาวะ
  • สามารถช่วยฆ่าเชื้อและสมานแผล
  • ช่วยลดอาการปวดเมื่อยตามร่างกายและข้อ
ผลมะม่วงหาวมะนาวโห่
ผลมะม่วงหาวมะนาวโห่ ผลจะมีผิวสีแดงใส

สรรพคุณทางยาของมะม่วงหาวมะนาวโห่

  • รากใช้บำรุงธาตุ ขับพยาธิ รักษาบาดแผล แก้คัน
  • ใบ ใช้แก้ท้องร่วง เจ็บคอ แก้ปวดหู
  • ผล มีรสเปรี้ยวคล้ายมะนาว ใช้ แก้ไอ  แก้โรคลักปิดลักเปิด

คุณค่าทางโภชนาการของมะม่วงหาวมะนาวโห่

การแปรรูปของมะม่วงหาวมะนาวโห่

มะม่วงหาวมะนาวโห่ สามารถนำมาใช้ประกอบอาหารหรือทำขนมได้หลากหลายเมนู เช่น ผัดไทยเต้าหู้มะนาวโห่ น้ำพริกเผามะนาวโห่ ฟรุ๊ตตี้ลืมหาว เป็นต้น

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11547&SystemType=BEDO
www.th.wikipedia.org
www.flickr.com

2 Comments

Add a Comment