มะลิ
ชื่ออื่นๆ : มะลิ, มะลิลา (ทั่วไป) มะลิซ้อน (ภาคกลาง) มะลิขี้ไก่ (เชียงใหม่) มะลิหลวง (แม่ฮ่องสอน) มะลิป้อม (มะลิป้อม) ข้าวแตก (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน) เตียมูน (ละว้า-เชียงใหม่)
ต้นกำเนิด : แถบร้อนชื้นและกึ่งร้อนชื้นในเอเชียและคาบสมุทรอาระเบีย
ชื่อสามัญ : Sambac
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Jasminum sambac. , Jusminum adenophyllum.
ชื่อวงศ์ : OLEACEAE.
ลักษณะของมะลิ
ต้น เป็นพรรณไม้พุ่มขนาดกลาง แตกกิ่งก้านสาขาออกรอบๆ ลำต้นสูงประมาณ 0.3-3 เมตร

ใบ ใบเป็นใบเดี่ยวแตกออกเป็นคู่ไปตามก้านต้น ลักษณะใบป้อมมน ปลายใบแหลมโคนใบสอบ ขอบใบแหลม โคนใบสอบ ขอบใบเรียบไม่มีจัก สีเขียวเป็นมัน ใบยาว 2-3 นิ้ว

ดอก มีดอกเป็นดอกเดี่ยว ออกเป็นช่อตามปลายยอด หรือปลายกิ่งประมาณ 3-5 ดอกแล้วแต่ชนิดพันธุ์ ดอกมีสีขาว กลิ่นหอม มีทั้งดอกลา และดอกซ้อน ออกดอกตลอดปี

การขยายพันธุ์ของมะลิ
การใช้เมล็ด
มะลิที่นิยมทำกันมากที่สุด คือ การปักชำ ซึ่งเป็นวิธีการที่ทำได้ง่ายสะดวกและรวดเร็ว นิยมทำเป็นเชิงการค้าซึ่งมีวิธีการทำได้ ดังนี้
- วัสดุเพาะชำ ใช้ทรายผสมขี้เถ้าแกลบอัตราส่วน 1:1 บรรจุในตะกร้าพลาสติกที่เตรียมไว้ แล้วรดน้ำให้ชุ่ม
- การเตรียมกิ่งพันธุ์ กิ่งที่ใช้จะต้องเป็นกิ่งที่ไม่แก่และอ่อนจนเกินไป แล้ว ตัดให้มีความยาวของกิ่งประมาณ 4 นิ้ว หรือมีข้ออย่างน้อย 3 ข้อ การตัดกิ่งควรจะตัดให้ชิดข้อ เหลือใบคู่บนสุด 1 คู่ ตัดใบออกให้เหลือเพียงครึ่งใบ เพื่อลดการคายน้ำ ถ้าต้องการเร่งรากควรใช้ฮอร์โมนช่วย โดยใช้ IBA (Indole Butyric Acid) และ NAA (Naphthalene Acetic Acid) ในอัตราส่วน 1:1 ความเข้มข้น 4,500 ppm นำกิ่งมะลิไปจุ่มในฮอร์โมนที่เตรียมไว้
- การปักชำ นำกิ่งที่เตรียมไว้ ปักชำลงในภาชนะเพาะ ปักชำเรียงเป็นแถว แต่ละแถวห่างกัน 2 นิ้ว ระยะห่างระหว่างกิ่ง 2 นิ้ว รดน้ำ และยากันรา เช่น แคปแทนรักษาความชื้นให้สม่ำเสมอ ถ้าจะให้ดี ควรวางภาชนะไว้ในถุงพลาสติกขนาดใหญ่ รวบปากถุงให้สูงนำไปผูกไว้กับกิ่งหรือท่อนไม้ เพื่อยึดปากถุงมิให้กดทับกิ่ง นำไปวางไว้ในที่ร่ม หรือร่มรำไร กิ่งปักชำจะออกรากภายใน 3 อาทิตย์ ในกรณีที่ต้องการขยายพันธุ์เป็นการค้า ให้ปักชำในกระบะปักชำที่สร้างไว้ในร่มวัสดุปักชำที่ใช้อาจเป็นขี้เถ้าแกลบ เพียงอย่างเดียว โดยใส่ลงในกระบะประมาณ 50 ซม. นำกิ่งปักชำแล้วคลุมด้วยพลาสติกให้มิดชิด ทิ้งไว้ 3 อาทิตย์ กิ่งมะลิ จะออกรากประมาณ 90%
- หลังจากกิ่งปักชำออกรากแล้ว ให้นำไปเลี้ยงต่อในถุงขนาด 2 x 3 นิ้ว โดยใส่ดิน + ขุยมะพร้าว + ปุ๋ยคอก อัตรา 3:1:1 จนต้นมะลิแข็งแรงดี แล้วจึงนำไปปลูกต่อไป
ธาตุอาหารหลักที่มะลิต้องการ
ประโยชน์ของมะลิ
- ปลูกไว้เพื่อความสวยงาม มีกลิ่นหอม
- มะลิเป็นไม้ดอกเศรษฐกิจที่นับวันมีความสำคัญมากขึ้น ประโยชน์ที่ได้รับจากมะลิ เช่น เก็บดอกสำหรับร้อยมาลัย ดอกไม้แห้ง อุตสาหกรรมน้ำมันหอมระเหย
สรรพคุณทางยาของมะลิ
- ดอก รสหอมเย็นขม ดับพิษร้อน บำรุงหัวใจ บำรุงครรภ์ แก้ไข้ แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้เจ็บตา
- ใบสด รสเย็นฝาด ตำกับกากมะพร้าวก้นกะลา พอกหรือทาแก้แผลพุพอง แก้แผลเรื้อรัง แก้พิษฝีดาษ
- ยอด ใช้ 3 ยอดตำพอกหรือทาเพื่อลดรอยแผลเป็น
คุณค่าทางโภชนาการของมะลิ
การแปรรูปของมะลิ
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11185&SystemType=BEDO
www.ananhosp.go.th
www.flickr.com
นำดอกมาลอยน้ำดื่มทาน กลิ่นหอม ชื่นใจ