มะหลอด
ชื่ออื่นๆ : ลำชิลอต (ลั้วะ) กองก๋ายล่วง (เมี่ยน) ตาดเต้ด(ขมุ) มะหลอด (ไทใหญ่,คนเมือง,ปะหล่อง) เพี๊ยะหลอด (ลั้วะ) เส่ทู่โพ (กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน) ควยรอก (ตราด) มะหลอด (เหนือ) ส้มหลอด (ใต้)
ต้นกำเนิด : พบตามชายป่าที่ชื้น ป่าเบญจพรรณ และชอบขึ้นอยู่ตามเนินเขาทั่วไปในที่ร่มที่ระดับ200-1600 เมตร
ชื่อสามัญ : สลอดเถา, มะหลอด
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Elaeagnus latifolia L.
ชื่อวงศ์ : Elaeagnaceae
ลักษณะของมะหลอด
ต้น ไม้เถาเนื้อแข็ง ลำต้นและกิ่งมีเกล็ดสีเทาหรือสีเงินละเอียดทั่วไป
ใบ เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับกัน แผ่นใบรูปรีหรือรูปรีแกมหอก กว้าง 3.5-4.5 ซม. ยาว 6-12 ซม. โคนใบสอบ ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ แผ่นใบด้านบนสีเขียวอมน้ำเงิน เกลี้ยง ด้านล่างมีเกล็ดเล็กๆ สีน้ำตาลทั่วไป ก้านใบยาว 0.8-1.2 ซม.
ดอก ออกเป็นกระจุกตามง่ามใบ ยาว 1-2 ซม. เป็นดอกสมบูรณ์เพศ หรือมีดอกเพศผู้ปะปนด้วย กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดลักษณะเป็นสันเหลี่ยม ยาวประมาณ 0.5 ซม. ปลายแยกเป็น 5 กลีบ เกสรผู้ 5 อัน ติดอยู่กับหลอดท่อดอก
ผล รูปรียาว 1-2 ซม. สีแดงหรือแดงออกส้ม ออกดอกออกผลในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์
การขยายพันธุ์ของมะหลอด
การเพาะเมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่มะหลอดต้องการ
ประโยชน์ของมะหลอด
ผลสุก รับประทานได้
สรรพคุณทางยาของมะหลอด
- ผลดิบเป็นยาฝาดสมาน
- ผลสุกเป็นยาระบายอ่อนๆ แก้บิดและท้องผูกสำหรับเด็ก หรือใช้เป็นยาระบาย มีรสเปรี้ยวอมหวานเล็กน้อย
คุณค่าทางโภชนาการของมะหลอด
การแปรรูปของมะหลอด
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : หนังสือพรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 1