มะเขือยาว อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชน์ต่อร่างกายหลายชนิด

มะเขือยาว

ชื่ออื่นๆ : มะเขือกะโกแพง, มะเขือจาน, มะเขือจาวมะพร้าว, มะเขือหำม้า, มะแขว้งคม

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : Egg plant, Potato tree

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Solanum melongena Linn.var.serpentinum

ชื่อวงศ์ : SOLANACEAE

มะเขือม่วงดำ
มะเขือม่วงเข้ม ดำ

ลักษณะของมะเขือยาว

ลักษณะ ไม้ล้มลุกอายุหลายปี ลักษณะเป็นพุ่มสูง 2-4 เมโรคลักปิดลักเปิดตร ใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปรี ขนาดใหญ่ กว้าง 3-15 เซนติเมตร ยาว 5-25 เซนติเมตร ขอบใบหยักเป็นคลื่น ท้องใบมีขนรูปดาวปกคลุมอยู่ ดอกสีขาวหรือสีม่วง ออกเดี่ยวหรือเป็นกระจุกตามซอกใบ กลีบเลี้ยงสีเขียว มักมีหนาม กลีบดอก 5 กลีบ ผลรูปทรงกระบอกยาว ปลายค่อนข้างแหลม ยาว 12-18 เซนติเมตร ผลมักโค้งงอ มีหลายสี เช่นสีเขียว ขาว ม่วง ม่วงดำ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพันธุ์ พันธุ์ที่นิยมปลูกส่วนใหญ่เป็นพันธุ์พื้นเมือง เช่น มะเขือยาวงาช้าง มะเขือยาวสำลี เป็นต้น

มะเขือมีอยู่ 3 ชนิด เปลือกสีเขียว สีม่วง และสีขาว พบว่าเปลือกสีม่วงและสีขาวมีคุณภาพดีกว่าสีเขียว ในมะเขือมีวิตามินบี 1 จำนวนมาก ซึ่งช่วยเสริมการทำงานของสมอง ช่วยความจำ ลดอาการอ่อนเปลี้ยของสมอง ในมะเขือยาวนี้มีโปรตีน แคลเซียม และวิตามินมากกว่ามะเขือเทศ การรับประทานเป็นประจำจะช่วยให้เส้นเลือดไม่เปราะ ป้องกันโรคความดันโลหิตสูงและโรคลักปิดลักเปิด

มะเขือยาวม่วง
กลมรียาวทรงหยดน้ำ ผิวผลเรียบเป็นสีม่วง

การขยายพันธุ์ของมะเขือยาว

ใช้เมล็ด/เพาะกล้า

เมื่ออายุประมาณ 1 เดือน จึงย้ายลงปลูกในแปลง  อายุเก็บเกี่ยว60-85วันหลังย้ายปลูกโดยเก็บผลที่ยังอ่อนอยู่แต่ไม่ควรอ่อนเกินไปเพราะจะได้น้ำหนักน้อยและเก็บไว้ไม่ได้นาน

ธาตุอาหารหลักที่มะเขือยาวต้องการ

ประโยชน์ของมะเขือยาว

  1. มะเขือม่วงอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชน์ต่อร่างกายหลายชนิด
  2. สีม่วงที่เห็นในผลมะเขือม่วง เกิดจากสารแอนโทไซยานิน (Anthocyanin) ซึ่งมีความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระได้สูงกว่าวิตามินซีหลายเท่า การรับประทานมะเขือม่วงเป็นประจำจึงช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ช่วยเสริมให้ร่างกายต่อต้านเชื้อโรค และช่วยสมานแผลได้ดี
  3. สารแอนโทไซยานินในมะเขือม่วงมีฤทธิ์ขยายเส้นเลือด จึงช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและอัมพาตได้ด้วย การใส่มะเขือม่วงลงไปในอาหารต่าง ๆ จึงเป็นที่ให้คุณค่าทางยาเพิ่มกับคุณค่าทางอาหาร
  4. มะเขือม่วงเป็นพืชผักเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่งที่ปลูกได้ง่าย ให้ผลผลิตดี เก็บเกี่ยวได้นาน และปัจจุบันสามารถส่งออกได้

การกินมะเขือยาวมีทั้งแบบสดๆ และปรุงให้สุก สำหรับผลอ่อนนั้นจะให้รสจืด มัน อมหวานลึกๆ ช่วยดับความเผ็ดร้อนและจัดจ้านของน้ำพริกปลาร้าหรือหลนได้ดีเยี่ยม หรืออาจนำไปฝานเป็นชิ้นบางๆ ชุบไข่ทอด ทำนองเดียวกับชะอมช่วยดับทุกข์จากความเผ็ดร้อนได้นุ่มนวลไปอีกแบบ นอกจากนี้ยังมีแกงเขียวหวาน และยำมะเขือยาวเผาที่น่าลิ้มลองอีกเช่นกัน

สรรพคุณทางยาของมะเขือยาว

ทุกส่วนของต้นใช้เป็นยาได้ โดยรากและลำต้นใช้แก้โรคบิดเรื้อรัง อาการถ่ายเป็นเลือด เท้าเปื่อยบวมอักเสบ ปวดฟัน และแผลถูกความเย็นจัด ใบแก้ปัสสาวะขัด หนองใน การตกเลือดในลำไส้ แผลบวมอักเสบมีหนอง

  • สารสำคัญที่พบในมะเขือม่วง ได้แก่ Flamonoid, กรดฟีโนลิก, ไฟโทสเทอรอล, ไกลโคแอลคาลอยด์, แอนโทไซยานิน (Anthocyanin) ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ
  • จากการศึกษาในสัตว์ทดลองพบว่าการดื่มน้ำมะเขือทุกวัน สามารถช่วยลดระดับไขมันในเลือดและเสริมสร้างความแข็งแรงของหลอดเลือดได้

คุณค่าทางโภชนาการของมะเขือยาว

โดยคุณค่าทางโภชนาการของมะเขือม่วง ต่อ 100 กรัม พลังงาน 24 แคลอรี ประกอบไปด้วย

  • โปรตีน 1 กรัม
  • ไขมัน 0.2 กรัม
  • คาร์โบไฮเดรต 5.7 กรัม
  • ใยอาหาร 0.8 กรัม
  • เถ้า 0.6 กรัม
  • วิตามินเอ 130 หน่วยสากล
  • วิตามินบี1 10 มิลลิกรัม
  • วิตามินบี2 0.05 มิลลิกรัม
  • วิตามินบี 3 0.6 มิลลิกรัม
  • แคลเซียม 30 มิลลิกรัม
  • ธาตุเหล็ก 0.6 มิลลิกรัม
  • ฟอสฟอรัส 27 มิลลิกรัม
  • โซเดียม 4 มิลลิกรัม
  • โพแทสเซียม 223 มิลลิกรัม

การแปรรูปของมะเขือยาว

ในด้านการนำมาประกอบอาหาร ส่วนใหญ่แล้วจะนำผลดิบมาเผา นึ่ง รับประทานร่วมกับน้ำพริก หรือฝานเป็นชิ้นชุบแป้งทอดกรอบ  ผัด ตำ ยำ  ส่วนอาหารญี่ปุ่นก็จะมีมะเขือม่วงเป็นส่วนประกอบเกือบทุกเมนู

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11065&SystemType=BEDO
www.arit.kpru.ac.th

2 Comments

Add a Comment