มะเดื่อปล้อง ไม้ยืนต้นขนาดกลาง ผลรับประทานได้

มะเดื่อปล้อง

ชื่ออื่นๆ : เดื่อสาย (เชียงใหม่) ดื่อปล้อง (นครศรีธรรมราช, สระบุรี, ภาคเหนือ) เดื่อป่อง (กรุงเทพฯ) หมากหนอด (ไทใหญ่) ตะเออน่า, เอาแหน่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ดิ๊โจ่เหมาะ (กะเหรี่ยงแดง) ฮะกอสะนียา (มลายู-นราธิวาส) ไฮ่มะเดื่อปล้อง (ปะหล่อง) กระซาล (ขมุ) ลำเดื่อ, ลำเดื่อปล้อง (ลั้วะ) งงหยอเจีย (เมี่ยน)

ต้นกำเนิด : ศรีลังกา จีนตอนใต้ เอเชียใต้ และตะวันออกเฉียงใต้

ชื่อสามัญ : มะเดื่อปล้อง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ficus hispida Linn. f.

ชื่อวงศ์ : MORACEAE

ลักษณะของมะเดื่อปล้อง

ต้น ไม้ยืนต้นขนาดกลางสูงประมาณ 5-10 เมตร ลำต้นเดี่ยวตั้งตรงเปลือกหนา กิ่งแขนงแตกเป็นพุ่มทรงกลมทั้งต้น มีน้ำยางสีขาว ลำต้นมีรอยควั่นเป็นปล้องหรือเป็นข้อๆ คล้ายข้อไม้ไผ่ตลอดจนถึงกิ่ง

ใบ ใบเดี่ยวออกตรงข้ามกัน รูปไข่แกมขอบขนานหรือรูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับ ผิวสากหนืดมือ คล้ายใบย่อยมีขนนาบกับแผ่นใบสีเขียวสด

ดอก มีสีเหลืองแกมเขียว ออกช่อกระจุกแน่น เจริญอยู่ในฐานรองดอกกลมกลวงเหมือนลูกแพร์ แกมรูปไข่กลับกว้าง ดอกย่อยแยกเพศอยู่บนต้นเดียวกันเป็นสีชมพูอ่อน ออกดอกราวเดือนมกราคมถึงมีนาคม

ผล กลมแป้นขนาดเล็กติดเป็นกลุ่มแน่น 10-15 ผล สีเขียวสดเมื่อแก่มีสีน้ำตาลปนเขียว ติดผลเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม

มะเดื่อป่า
มะเดื่อป่า ลำต้นเดี่ยวตั้งตรงเปลือกหนา
ผลมะเดื่อป่า
ผลมะเดื่อป่า ผลกลมแป้น สีเขียวสด ผลสุกสีเหลือง

การขยายพันธุ์ของมะเดื่อปล้อง

ใช้เมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่มะเดื่อปล้องต้องการ

ดินร่วน และมีอินทรีย์วัตถุ ระบายน้ำได้ดี

ประโยชน์ของมะเดื่อปล้อง

  • ปลูกเป็นไม้ประดับกลางแจ้ง
  • ผลรับประทานได้ รสฝาดอมหวาน

สรรพคุณทางยาของมะเดื่อปล้อง

  • ยาพื้นบ้านล้านนาใช้ใบต้มน้ำดื่ม รักษาอาการม้ามโต มีไข้ หนาวสั่น ปัสสาวะเป็นเลือดหรือเหลืองจัด
  • ราก ต้นต้มดื่มน้ำ กระตุ้นการหลั่งน้ำนม
  • ผลมีรสขม เป็นยาเย็น มีสรรพคุณช่วยรักษาโรคโลหิตจาง
  • เปลือกต้น มีรสฝาด รับประทานแก้ท้องร่วง ชะล้างบาดแผล เป็นยาสมานดี
  • ราก เป็นยาแก้ไข้ กระทุ้งพิษไข้ แก้ไข้หัว ไข้กาฬ ไข้พิษทุกชนิด กล่อมเสมหะ และโลหิต

คุณค่าทางโภชนาการของมะเดื่อปล้อง

การแปรรูปของมะเดื่อปล้อง

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11871&SystemType=BEDO
http:// trees4school.hsw.ac.th
https://www.flickr.com

Add a Comment