มะแว้งต้น มีรสชาติค่อนข้างขื่นขม รับประทานเป็นผักหรือเครื่องเคียงได้

มะแว้งต้น

ชื่ออื่นๆ : มะแคว้งขม, มะแคว้งดำ, มะแคว้ง (ภาคเหนือ)  หมากแข้ง , หมากแข้งขม (ภาคอีสาน) , มะแว้ง (ภาคกลาง)  แว้งกาม (สงขลา,สุราษฎร์ธานี,ภาคใต้) , สะกั้งแค (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) , หมากแซ้งคง (ไทยใหญ่ – แม่ฮ่องสอน , ฉาน) , เทียนเฉีย ,ชื่อเทียนเฉีย (จีนกลาง)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ :  Sparrow’s Brinjal , Indian nightshade

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Solanum indicum L.

ชื่อวงศ์ : Solanaceae

ลักษณะของมะแว้งต้น

ต้น  เป็นไม้พุ่มขนาดเล็กสูงประมาณ 1 เมตร ตามลำต้นและกิ่งก้าน มีขนสีเทา และหนามโค้งแหลมๆทั่วไป

ใบ  ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับหรือเยื้องกันเล็กน้อย และมักเป็นกระจุกตามปลายกิ่ง ใบมนรูปไข่ กว้าง 2-6 เซนติเมตร ยาว 3-10 เซนติเมตร หลังใบสีเขียวมีขน ส่วนท้องใบสีเทาเกือบขาว มีขนหนาแน่น มีหนามแหลม ตามแนวเส้นกลางใบ เนื้อใบค่อนข้างหนา โคนใบกว้าง และค่อยๆ สอบแคบไปทางปลายใบ ขอบใบหยักเว้า ๆ แหว่ง ๆ

ดอก  ดอกสีขาวอมม่วง มีเกสรตัวผู้สีเหลืองเป็นกระจุกอยู่ตรงกลาง ดอกออกรวมกันเป็นช่อเป็นพวงสั้น ตามข้อ ตามก้านช่อมีหนามแหลมประปราย กลีบรองดอกแหลมมี 5 กลีบ และมีกลีบดอก 5 กลีบเช่นกัน กลีบดอกส่วนที่ค่อนไปทางโคนแฉกจะติดกันแบบง่ามตีนเป็ด ส่วนก้านชูละอองเกสรตัวเมียยาวยื่นมากกว่าเกสรตัวผู้เล็กน้อย

ผล  ผลกลมเกลี้ยง มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร ผลสุกสีแดงเมล็ด เกลี้ยง สีเหลือง ขนาดประมาณ 3.0 มิลลิเมตร

ต้นมะแว้ง
ต้นมะแว้ง ไม้พุ่ม ตามลำต้นและกิ่งก้าน มีขนสีเทา

การขยายพันธุ์ของมะแว้งต้น

ใช้เมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่มะแว้งต้นต้องการ

ประโยชน์ของมะแว้งต้น

มะแว้งต้นสามารถใช้รับประทานเป็นผักจิ้มน้ำพริกหรือเครื่องเคียงได้ ซึ่งส่วนของมะแว้งที่ใช้เป็นผักได้ก็คือ ยอดอ่อนและผลอ่อน สำหรับยอดอ่อนนั้นต้องนำมาต้มให้สุกเสียก่อน แล้วจึงนำไปใช้เป็นผักจิ้ม ส่วนผลอ่อนดิบใช้เป็นผักจิ้มได้เลย นิยมกินกับปลาร้า แต่ก็ใช้จิ้มน้ำพริกได้เหมือนกัน รสชาติของมะแว้งค่อนข้างขื่นขม แต่เมื่อเคี้ยวสักครู่จะรู้สึกออกรสหวานเล็กน้อย ถือเป็นเอกลักษณ์ของผลมะแว้งดิบ

ผลมะแว้ง
ผลมะแว้ง ผลกลม ผลสีเหลือง สีส้ม สีขาว

สรรพคุณทางยาของมะแว้งต้น

ตำรายาไทยใช้แก้ไอ ขับเสมหะ ใช้ ผลแห้งและสด ประมาณ 5-10 ผล ตำให้แหลก คั้นเอาแต่น้ำ ผสมเกลือเล็กน้อย รับประทานส่วนรายละเอียดวิธีการใช้ของตำรับยาประสะมะแว้งตามบัญชียาหลักดังนี้
ขนาดและวิธีใช้ ชนิดผงผู้ใหญ่ รับประทานครั้งละ 1-1.4 กรัม เมื่อมีอาการ ละลายน้ำมะนาวแทรกเกลือรับประทาน  เด็ก อายุ 6-12 ปี รับประทานครั้งละ 200-400 มิลลลิกรัม เมื่อมีอาการ ละลายน้ำมะนาวแทรกเกลือรับประทาน

คุณค่าทางโภชนาการของมะแว้งต้น

การแปรรูปของมะแว้งต้น

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11641&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

One Comment

Add a Comment