มะแว้งเครือ
ชื่ออื่นๆ : มะแว้งเถา (กรุงเทพฯ ) แขว้งเควีย (ตาก) มะแว้ง มะแว้งเถาเครือ (ทั่วไป)
ต้นกำเนิด : อินเดีย ศรีลังกา และอินโดจีน
ชื่อสามัญ :-
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Solanum trilobatum L
ชื่อวงศ์ : Solanaceae
ลักษณะของมะแว้งเครือ
ต้น ไม้เถาเลื้อยพาดพันกับต้นไม้อื่น ลำต้นกลม สีเขียวเป็นมัน มีหนามแหลมตามกิ่งก้าน
ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ สีเขียวเป็นมัน แผ่นใบล่างมีหนามตามเส้นใบ
ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบที่ปลายกิ่ง ดอกสีม่วง กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ กลีบดอกมี 5 แฉก ย่น ปลายแหลม โคนเชื่อมติดกัน เกสรเพศผู้สีเหลืองมี 5 อัน
ผล รูปทรงกลม ขนาด 0.5 ซม. ผิวเรียบ ผลดิบสีเขียวมีลายขาว ผลสุกสีแดงใส เมล็ดแบน มีจำนวนมาก
การขยายพันธุ์ของมะแว้งเครือ
การเพาะเมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่มะแว้งเครือต้องการ
ประโยชน์ของมะแว้งเครือ
ผลมีรสขม ช่วยเจริญอาหาร แก้โรคเบาหวาน รากและผลเป็นยาแก้ไอขับเสมหะ และบำรุงธาตุ
สรรพคุณทางยาของมะแว้งเครือ
ส่วนที่ใช้ : ราก ทั้งต้น ต้น ใบ ผลสดแก่โตเต็มที่ แต่ยังไม่สุก
- ราก – แก้โลหิตออกทางทวารหนัก ทวารเบา แก้ไอ แก้ขับเสมหะให้ตก แก้หืด ขับปัสสาวะ แก้ไข้สันนิบาต บำรุงธาตุ แก้น้ำลายเหนียว กระหายน้ำ แก้วัณโรค
- ทั้งต้น – ขับเหงื่อ แก้ไอ แก้หืด ขับปัสสาวะ
- ต้น – แก้หญิงท้องขึ้นในขณะมีครรภ์ แก้ไอ ขับเสมหะ แก้น้ำลายเหนียว กระทุ้งพิษไข้ ขับปัสสาวะ
- ใบ – บำรุงธาตุ แก้ไอ แก้น้ำลายเหนียว
- ผลสด – แก้ไอ ขับเสมหะ ขับปัสสาวะ รักษาโรคเบาหวาน บำรุงดี แก้น้ำลายเหนียว บำรุงเลือด แก้โลหิตออกทางทวารหนักทวารเบา
วิธีและปริมาณที่ใช้ : แก้ไอ แก้โรคหืดหอบ ใช้เป็นยาขมเจริญอาหาร
- เอาผลมะแว้งเครือสดๆ 5-6 ผล นำมาเคี้ยวกลืน เฉพาะน้ำจนหมดรสขม แล้วคายกากทิ้งเสีย บำบัดอาการไอได้ผลชงัด
- ใช้ผลสดๆ 5-10 ผล โขลกพอแหลก คั้นเอาน้ำ ใส่เกลือ จิบบ่อยๆ หรือใช้ผลสดเคี้ยวแล้วกลืนทั้งน้ำและเนื้อ
รักษาเบาหวาน ลดน้ำตาลในเลือด
ใช้ผลมะแว้ง โตเต็มที่ 10-20 ผล รับประทานเป็นอาหาร เป็นผักจิ้มน้ำพริก
สารเคมี :
- ใบ มี Tomatid – 5 – en -3- ß – ol
- ดอก มี Alkaloids, Cellulose, Pectins Unidentified organic acid Lignins, Unidentified saponins
- ผล มี Enzyme oxidase, Vitamin A ค่อนข้างสูง
คุณค่าทางโภชนาการของมะแว้งเครือ
การแปรรูปของมะแว้งเครือ
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10899&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com