มันปู
ชื่ออื่นๆ : มันปู ยอดเทะ (ยอดกะทิ) นกนอนทะเล (นราริวาส), มันปู (ตรัง)
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : มันปู Glochidion
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Glochidion Perakense Hook.f
ชื่อวงศ์ : EUPHORBIACEAE
ลักษณะของมันปู
ต้น เป็นไม้ยืนต้นทรงพุ่มขนาดใหญ่ สูงประมาณ 5-6 เมตร
ใบ ใบรีปลายแหลม ยาวประมาณ 10 เซนติเมตร กว้าง 3-5 เซนติเมตร ใบอ่อนมีสีแดง ผิวหน้าใบลื่นเป็นมัน
ดอก ออกดอกเป็นกระจุก แต่ละดอกมีขนาดเล็กสีเขียวอ่อน เกสรสีเหลือง ออกดอกตลอดแนวกิ่งระหว่างโคนใบ
ผล ออกตามลำกิ่ง ผลกลมแบบขนาดเล็กกว่าเมล็ด พริกไทยเล็กน้อยมีลักษระเป็นพู 4 พู มีเมล็ดข้างใน 4 เมล็ด เมล็ดที่สุกสีแดง
การขยายพันธุ์ของมันปู
ใช้เมล็ด, การเพาะเมล็ด, การกิ่งตอน
ธาตุอาหารหลักที่มันปูต้องการ
ไถพรวนปรับพื้นที่ให้เรียบเก็บเศษไม้และวัชพืชออก แล้วปักหลักกำหนดระยะปลูก 4 x 4 เมตร ขนาดของหลุมปลูกที่เหมาะสม คือ 25 x 25 x 25 เซนติเมตร หลักจากขุดหลุมปลูกแล้วตากดินประมาณ 1 สัปดาห์ เพื่อฆ่าเชื้อโรคในดิน จึงใส่ปุ๋ยร๊อคฟอสเฟตรองก้นหลุมอัตรา 150 – 200 กรัมต่อหลุม หรือครึ่งกระป๋องนม นำกล้าที่เตรียมไว้ย้ายลงปลูก ควรปลุกในต้นฤดูฝน วางกล้าลงตรงกลางหลุม กลบดินและกดรอบๆ โคนต้นให้แน่น ในปีแรกจำเป็นต้องเอาใจใส่กำจัดวัชพืชออกบ้าง เพื่อไม่ให้วัชพืชคลุมเบียดบังแย่งแสงและอาหารจากต้นมันปู เมื่อกล้าที่ปลูกตั้งตัวได้แล้ว ควรเร่งการเจริญเติบโตด้วยการใส่ปุ๋ยสูตร 15 – 15 – 15 ประมาณ 10 – 20 กรัม/หลุม โดยการพรวนดินรอบโคนต้นแล้วโรยปุ๋ยตาม เมื่อต้นมันปูมีอายุประมาณ 1 ปี ใส่ปุ๋ยสูตร15 – 15 – 15 ผสมกับปุ๋ยยูเรีย (46 – 0 – 0) ให้น้ำวันละครั้ง การตัดแต่งควรตัดแต่งให้ต้นมันปูสูงประมาณ 1.5 เมตร เพื่อสะดวกในการเก็บเกี่ยว
ประโยชน์ของมันปู
ยอดอ่อน ใบอ่อน นิยมนำมาเป็นผัก นำมาเป็นผักสด ลวกจิ้มน้ำพริก ต้มกะทิ รสชาติหวาน รสชาติฝาด มัน คนต่างถิ่นชอบนำมาเป็นผักลวกจิ้มน้ำพริก ผักสดแกล้มลาบ ก้อย พล่า ยำ กินกับขนมจีน
สรรพคุณทางยาของมันปู
ใบช่วยเจริญอาหาร รักษาแผลในกระเพาะลำไส้ ทั้งต้น ต้มแก้ไขร้อนเย็น
คุณค่าทางโภชนาการของมันปู
การแปรรูปของมันปู
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11872&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com/
2 Comments