ยอป่า เนื้อไม้สามารถนำมาใช้ทำเป็นเครื่องเรือนหรือเครื่องใช้ต่างๆ ได้

ยอป่า

ชื่ออื่นๆ : สลักป่า, สลักหลวง (ภาคเหนือ) คุย (พิษณุโลก)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : ยอป่า

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Morinda coreia Ham.

ชื่อวงศ์ : RUBIACEAE

ลักษณะของยอป่า

ต้น เป็นไม้ยืนต้น มีความสูงของต้นประมาณ 5-10 เมตรและอาจสูงได้ถึง 15 เมตร ลำต้นตั้งตรง เรือนยอดเป็นพุ่มรี กิ่งก้านมักคดงอและหักง่าย ตามผิวกิ่งมีปุ่มปมมาก ส่วนเปลือกต้นเป็นสีน้ำตาลอมเทา เปลือกหนาแตกเป็นร่องตามยาวและแนวขนาน หรือแตกเป็นสะเก็ดสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ

ใบ ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงตัวแบบตรงข้ามสลับกับตั้งฉาก ใบมักออกรวมกันที่ปลายกิ่ง ลักษณะของใบเป็นรูปรีหรือรูปไข่กลับ ปลายใบมนหรือแหลม โคนใบแหลมหรือเบี้ยว ส่วนขอบใบเรียบและเป็นคลื่น ใบมีขนาดกว้างประมาณ 4-7 เซนติเมตร และยาวประมาณ 8-17 เซนติเมตร หลังใบเป็นสีเขียวมัน ส่วนท้องใบมีสีอ่อนกว่า ใบแก่จะบางและเหนียว ผิวใบด้านบนมีขนสากขึ้นประปราย ส่วนด้านล่างมีขนนุ่ม มีหูใบอยู่ระหว่างก้านใบหลุดร่วงง่าย

ดอก ออกดอกเป็นช่อ โดยจะออกรวมกันเป็นกลุ่มตามซอกใบหรือที่ปลายกิ่ง ดอกมีกลิ่นหอมแบบอ่อน ๆ กลีบดอกหนาและเป็นสีขาว กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด ๆ ปลายเป็นกลีบแหลม แยกเป็นกลีบ 5 กลีบ ลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยม เมื่อดอกบานจะแผ่กว้างออก เมื่อดอกมีขนาดประมาณ 1.5 เซนติเมตร ส่วนหลอด กลีบเลี้ยงด้านบนแบนเป็นสีเขียวอมเหลือง เชื่อมติดกับกลีบดอกข้างเคียงที่ฐาน ดอกมีเกสรเพศผู้สั้น 5 ก้านชูพ้นออกมาจากหลอดกลีบดอก ส่วนเกสรเพศเมียปลายแยกเป็น 2 แฉก โดยจะออกดอกในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนกรกฎาคม

ผล ผลเป็นผลรวมรูปร่างค่อนข้างกลม ผลอ่อนเป็นสีเขียว เนื้อในผลอ่อนนุ่ม ฉ่ำน้ำ และเป็นสีขาว ส่วนผลแก่เป็นสีดำ ภายในผลมีเมล็ดมาก เมล็ดเป็นสีน้ำตาล โดยมีเมล็ดแบน 1 เมล็ดต่อหนึ่งผลย่อย โดยจะออกผลในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนสิงหาคม

ต้นยอป่า
ต้นยอป่า ลำต้นตั้งตรง เรือนยอดเป็นพุ่มรี กิ่งก้านมักคดงอ

การขยายพันธุ์ของยอป่า

การเพาะเมล็ด, การใช้เมล็ด หรือปักชำกล้า

ธาตุอาหารหลักที่ยอป่าต้องการ

ประโยชน์ของยอป่า

  • ผลสุกใช้รับประทานได้
  • ใบอ่อนและยอดอ่อนใช้ลวกหรือต้มให้สุกจิ้มกับน้ำพริกรับประทานได้ โดยจะมีรสขมมัน
  • ปลูกเป็นไม้ประดับตามบ้านหรือปลูกเพื่อให้ร่มเงาในสวนทั่วไป
  • เนื้อไม้สามารถนำมาใช้ทำเป็นเครื่องเรือนหรือเครื่องใช้ต่าง ๆ ได้
ดอกยอป่า
ดอกยอป่า ดอกสีขาว กลีบดอกหนา

สรรพคุณทางยาของยอป่า

  • ราก มีสรรพคุณเป็นยาแก้เบาหวาน
  • แก่น  มีรสขมร้อน นำมาต้มหรือดองกับเหล้าดื่มเป็นยาบำรุงโลหิต
  • เปลือกและเนื้อไม้  มีสรรพคุณเป็นยาแก้ไข้
  • ใบ  มีสรรพคุณแก้จุกเสียด ใบสดใช้ตำพอกศีรษะเป็นยาฆ่าเหา
  • ผลอ่อน มีสรรพคุณแก้คลื่นไส้อาเจียน
  • ผลสุกมีสรรพคุณช่วยขับลมในลำไส้
ผลยอป่า
ผลยอป่า ผลกลม ผลอ่อนเป็นสีเขียว

คุณค่าทางโภชนาการของยอป่า

การแปรรูปของยอป่า

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9570&SystemType=BEDO
http://ecoforest.phsmun.go.th
https://www.flickr.com

One Comment

Add a Comment