ยางบง
ชื่ออื่นๆ : ยางบง, ยางโบง (นครพนม, นครราชสีมา) บงปง, มง, หมี
ต้นกำเนิด : เป็นไม้ที่ขึ้นอยู่ในป่าดิบแล้ง ป่าเต็งรัง
ชื่อสามัญ :
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Persea kurzii Kosterm
ชื่อวงศ์ : LAURACEAE
ลักษณะของยางบง
ต้น ไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ไม่ผลัดใบ ความสูงประมาณ 10-15 เมตร เปลือกต้นเรียบ มีสีเทาแก่ ทรงต้นเป็นพุ่ม แตกกิ่งก้านมาก
ใบ มีขนาดกลางเป็นรูปไข่โคนเรียวปลายใบแหลม ผลิออกจากกิ่งสลับกัน เนื้อใบหนา แสดงลักษณะอุ้มน้ำมาก มีเส้นใบ 7-11 คู่
ดอก ดอกเป็นดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่งผล ดอกมีขนาดเล็กสีเหลือง
ผล ผลกลมเล็กคล้ายผลหว้า เมื่อสุกจะมีสีดำ มีเยื้อหุ้มผล เมล็ดมีเมล็ดเดี่ยว
การขยายพันธุ์ของยางบง
การเพาะเมล็ด, การตอนกิ่ง, การปักชํากิ่ง
พบขึ้นอยู่ในป่าดิบแล้ง ป่าเต็งรังเป็นไม้ที่ไม่ผลัดใบ มีมากในบางจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดยเฉพาะในแถบที่มีฝนตกชุกมากๆ จังหวัดมุกดาหาร นครพนม อุบลราชธานีและบางท้องที่ในภาคเหนือ
ธาตุอาหารหลักที่ยางบงต้องการ
ขึ้นได้ดีในทุกสภาพดิน ชอบความชื้นและแสงแดดปานกลาง
ประโยชน์ของยางบง
- เนื้อไม้ใช้ในการทำเครื่องมือเครื่องใช้และใช้ทำเชื้อเพลิง ใช้ก่อสร้าง
- เปลือกไม้ใช้ผสมทำธูป ผสมสารกำมะถันทำยากันยุง
- ยางไม้ใช้อุดรอยรั่ว
สรรพคุณทางยาของยางบง
คุณค่าทางโภชนาการของยางบง
การแปรรูปของยางบง
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.forest.go.th
ภาพประกอบ : www.teaoilcenter.org, www.ecoforest.phsmun.go.th
เรียบเรียงข้อมูลโดย : เกษตรตำบล.คอม
เปลือกไม้ใช้ผสมทำธูป
เนื้อไม้ใช้ทำเชื้อเพลิง