ยี่หร่า มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ใช้ในการปรุงแต่งกลิ่นอาหาร

ยี่หร่า

ชื่ออื่นๆ : กะเพราควาย, กะเพราญวน, จันทน์หอม, ใบหร่า, โหระพาช้าง, Shrubby Basil

ต้นกำเนิด : เอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ชื่อสามัญ : Kawawya, Caraway Friut, Caraway Seed, Kummel,Caraway

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ocimum Gratissimum

ชื่อวงศ์ : APIACEAE

ลักษณะของยี่หร่า

ยี่หร่าเป็นพืชล้มลุก สกุลเดียวกันกับกะเพรา เป็นไม้พุ่มเตี้ย มีความสูงประมาณ 0.5 – 1 เมตร ลำต้นกลมมีสีน้ำตาลแก่ มักจะแตกกิ่งก้านสาขามากแต่ กิ่งก้านจะไม่ใหญ่ ใบเป็นใบเดี่ยวออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ ลักษณะของเป็นรูปกลมรี โคนใบสอบ ปลายใบแหลม ขอบใบหยักแบบฟันเลื่อย ใบสีเขียวสด ผิวด้านบนมีสีสดกว่าด้านล่าง ผิวใบสากมือ มีขนสีขาวๆเล็กปกคลุม ใบยี่หร่ามีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ดอก ออกดอกเป็นช่อคล้ายๆฉัตรที่บริเวณปลายยอด ช่อดอกนั้นจัดเป็นแบบ Spike-like raceme ดอกจะบานจากล่างไปหาปลายช่อ โดยแต่ละช่อจะประกอบไปด้วยดอกย่อยขนาดเล็กสีขาวหรือสีม่วง ประมาณ 50-100 ดอก ผล  มีลักษณะเป็นรูปกลมรี แต่ละผลมีขนาดประมาณ 1 มิลลิเมตร เมื่อยังอ่อนจะเป็นสีเขียว แต่พอแก่แล้วจะกลายเป็นสีดำหรือสีน้ำตาลอ่อน ภายในผลมีเมล็ดสีดำหรือน้ำตาลขนาดเล็กจำนวนมาก

ต้นยี่หร่า
ต้นยี่หร่า ต้นสีเขียว ทุกส่วนมีขนอ่อน

การขยายพันธุ์ของยี่หร่า

ใช้เมล็ด, ปักกิ่ง

ธาตุอาหารหลักที่ยี่หร่าต้องการ

ประโยชน์ของยี่หร่า

ประโยชน์
อาหารไทยใช้ยี่หร่าในการปรุงแต่งกลิ่นอาหาร โดยคั่วเมล็ดโขลกผสมกับเครื่องแกง เช่นแกงกะหรี่ แกงเผ็ด แกงเขียวหวาน ส่วนต้นและรากตากให้แห้ง ช่วยย่อย ยาขับลม แก้ปวดท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ
ใช้เป็นเครื่องปรุง เป็นส่วนประกอบในการปรุงอาหารบางชนิด เช่น แกง ต้มยำ ซุป มักเป็นที่นิยมกันในแถบยุโรปหรือตะวันออกกลาง ช่วยให้มีกลิ่นหอม ดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์ ต้องการกลิ่นเฉพาะในการทำขนมปังและพิซซ่าบางประเภท ให้แตกต่างจากกลิ่นที่คุ้นเคย นอกจากนี้ยังเป็นส่วนประกอบของการถนอมอาหารประเภทเนื้อสัตว์ โดยนำมาป่นหรือตำผสมในเนื้อสัตว์เวลาหมัก เพราะน้ำมันหอมระเหยมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ได้ ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดการบูดเน่าเร็วขึ้น ป้องกันกลิ่นเหม็นอับของเนื้อสัตว์เวลาหมักก่อนนำไปตากแห้ง ส่วนประกอบของเครื่องแกง เช่น แกงกะหรี่ แกงมัสมั่น แกงเผ็ดเห็ด แกงฮังเล บาเยีย การทำเนื้อสวรรค์

ใบยี่หร่า
ใบยี่หร่า ปลายใบเรียวแหลม โคนใบมน ขอบใบหยัก

สรรพคุณทางยาของยี่หร่า

สรรพคุณทางสมุนไพร
ส่วนของใบยี่หร่าอุดมไปด้วยวิตามินซีและแคลเซียม มีสรรพคุณช่วยในการขับเหงื่อ ซึ่งเป็นของเสียออกจากร่างกาย ช่วยในการบำรุงธาตุ ขับลม แก้โรคเบื่ออาหาร แก้ปวดท้องเนื่องจากอาหารไม่ย่อย แก้ท้องอืด คลื่นไส้ โดยนำมาชงดื่มจนกว่าจะหาย นอกจากนี้น้ำมันหอมระเหย มีฤทธิ์ระงับอาการเกร็งของลำไส้ ฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ โดยใช้ผลแห้ง 3-5 กรัม ชงกับน้ำเดือดปริมาณ 1 ลิตร ทิ้งไว้สักระยะหนึ่งจึงนำมาดื่มวันละ 3-4 ถ้วยตวง

คุณค่าทางโภชนาการของยี่หร่า

การแปรรูปของยี่หร่า

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11240&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

2 Comments

Add a Comment