ยี่โถ
ชื่ออื่นๆ : ยี่โถ, ยี่โถไทย, ยี่โถจีน, ยี่โถดอกขาว, ยี่โถดอกแดง (ภาคกลาง) อินโถ (ภาคเหนือ)
ต้นกำเนิด : แถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เช่น แถบโปรตุเกสไปจนถึง อินเดีย อิหร่าน
ชื่อสามัญ : Oleander, Sweet Oleander และ Rose Bay
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Nerium oleander L.
ชื่อวงศ์ : APOCYNACEAE
ลักษณะของยี่โถ
ต้น เป็นไม้พุ่มสูงประมาณ 20 ฟุต เปลือกของลำต้นมีสีเทาเรียบ เมื่อตัดหรือเด็ดจะมีน้ำยางไหลออกมา
ใบ เป็นใบเดี่ยวรูปร่างรี ปลายและโคนใบแหลม ยาว 15-17 cm. กว้าง 1.7-2.0 cm. ขอบใบเรียบไม่มีจัก หนาแข็ง มีสีเขียวเข้ม ก้านใบสั้น ออกตามข้อของลำต้น
ดอก ดอกมีสีชมพู ขาว ออกตามปลายของยอดลำต้นเป็นกระจุกหรือช่อ รูปร่างคล้ายกรวยหรือปากแตร เวลาบานกลีบจะมีกลิ่นหอม ดอกยี่โถสามารถออกดอกได้ทั้งปี
ผล ผลเกิดเมื่อดอกมีการผสมเกสรและร่วงหลุดไป จะเกิดผลเป็นฝัก 2 ฝัก ต่อ 1 ดอกยี่โถ 1 ดอก เมล็ดลักษณะคล้ายเส้นไหม
การขยายพันธุ์ของยี่โถ
การใช้เมล็ด
การปลูกยี่โถ สามารถปลูกได้ทุกที่เนื่องจากขึ้นได้ในสภาพดินทุกชนิดได้ดี โดยการเพาะเมล็ด ตอนกิ่ง หรือการปักชำกิ่ง
ธาตุอาหารหลักที่ยี่โถต้องการ
–
ประโยชน์ของยี่โถ
ด้วยความเป็นพิษของดอกยี่โถ จึงได้มีการนำมาใช้เป็นยากำจัดแมลงและหนู ด้วยวิธีง่ายๆ แค่นำเปลือกไม้ที่แก่จัดและมีน้ำยางเหนียวข้นติดอยู่ไปวางบนเส้นทางของหนู ก็จะทำให้หนูติดกับดักและตายได้ เพราะน้ำยางจากต้นไม้ชนิดนี้ออกฤทธิ์เป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิต
สรรพคุณทางยาของยี่โถ
ส่วนที่ใช้เป็นยา : ดอก ผล ใบ
- ผล ขับปัสสาวะ
- ดอก แก้อักเสบ แก้ปวดศีรษะ
- เมล็ดทำให้เวียนศีรษะ ง่วงนอน ถ่ายเป็นเลือด เป็นพิษต่อหัวใจ ทำให้ชัก
- ใบ ใช้เป็นยารักษาโรคหัวใจ (มีความเป็นพิษสูงต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง)
- ส่วนลำต้นและเปลือกไม้นำมารักษาโรคกลากเกลื้อน โรคผิวหนัง และบรรเทาอาการแผลอักเสบเป็นหนองต่างๆ
การออกฤทธิ์ : พิษต่อหัวใจและเลือด
ส่วนที่เป็นพิษ : ลำต้น และยางจากทุกส่วน
สารพิษ : digitalis
อาการ : ระคายเคืองเยื่อบุในปากและกระเพาะอาหารก่อน ตามด้วยอาการอาเจียน ท้องเดิน ปวดศีรษะและปวดท้อง ถ้ารับประทานเข้าไปมาก และล้างท้องไม่ทัน สารพิษจะถูกดูดซึมผ่านทางลำไส้และแสดงพิษต่อหัวใจ ซึ่งจะเกิดขึ้นช้าหรือเร็ว ขึ้นกับชนิดของไกลโคไซด์
วิธีการรักษา :
- นำส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด
- ล้างท้อง
- รักษาตามอาการ
- ถ้าจาก EKG พบว่า มี Ventricular tachycardia ควรให้ potossium chloride (5-10 g) หรือให้ K+ (80 mEq/L) การเจ็บแขนอาจช่วยด้วยการนวด และ ประคบน้ำร้อน
คุณค่าทางโภชนาการของยี่โถ
–
การแปรรูปของยี่โถ
–
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11239&SystemType=BEDO
www.th.wikipedia.org
www.medplant.mahidol.ac.th
www.flickr.com
One Comment