รสชาติมะม่วงโชคอนันต์ แปรรูปมะม่วงโชคอนันต์

มะม่วงโชคอนันต์

ชื่ออื่นๆ :  มะม่วงพันธุ์โชคอนันต์, มะม่วงยอดด้วน

ต้นกำเนิด : มะม่วงพันธุ์โชคอนันต์พบครั้งแรกที่จังหวัดเชียงใหม่ เป็นมะม่วงที่กลายพันธุ์มาจากมะม่วงป่า 

ชื่อสามัญ :  มะม่วงโชคอนันต์

ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Mangifera indica L.

ชื่อวงศ์ : ANACARDIACEAE   

ลักษณะของมะม่วงโชคอนันต์

ต้น ไม้ยืนต้นขนาดกลางผลัดใบ สูงประมาณ 8-15 เมตร เส้นรอบวงของต้น 80-200 ซม. เรือนยอดเป็นพุ่มกลมหรือคล้ายเจดีย์ต่ำแตกกิ่งก้านสาขา เปลือกของลำต้นสีน้ำตาลเทาหรือเทาปนดำ แตกระแหง เป็นร่องเล็กๆ

มะม่วงโชคอนันต์
ต้นมะม่วงโชคอนันต์ ไม้ยืนต้นสูง ยอดเป็นพุ่มกลมหรือคล้ายเจดีย์ต่ำ

ใบ  ใบยาวเรียว ปลายแหลม ขอบใบหยักเป็นลอน ใบเรียบ เมื่อแตกใบแก่จะมีสีแดงอมน้ำตาล แต่เมื่อแก่จะมีสีเขียว มัน วาว 

ดอก   ออกเป็นช่อที่ปลายยอด ดอกเล็กมีสีเหลืองนวล มีกลิ่นหอม ออกดอกทะวายทั้งปี (ออกดอกได้ตลอดทั้งปี) ไม่กลัวฝน ติดผลง่าย 

ใบมะม่วงโชคอนันต์
ใบมะม่วงโชคอนันต์ ใบยาวเรียว ปลายแหลม ขอบใบหยักเป็นลอน

ผล  ให้ผลเป็นผลเดี่ยว มีขนาดกลาง ยาวรี ก้นผลมน อกป่อง เปลือกหนาสีเขียวเข้ม ผลสุกเป็นสีเหลือง น้ำหนักผล 250 – 350 กรัม/ผล เนื้อสีเหลืองเข้ม เนื้อในแข็ง มีเส้นใยมาก รสหวานอร่อย มีกลิ่นหอม กลายพันธุ์มาจากมะม่วงป่า มะม่วงโชคอนันต์เป็นมะม่วงที่แตกดอกทั้งปี มีโอกาสออกผลได้ดี โดยเฉลี่ยให้ผลผลิตไม่น้อยกว่า 2 ครั้งต่อปี ผลโตเต็มที่อาจมีขนาดถึง 250-300 กรัม และยังให้ผลที่ดก เฉลี่ยพวงละ 4-5 ผล ให้ผลผลิตช่วงเดือนเมษายน

เมล็ด  เมล็ดค่อนข้างยาวแบน เนื้อเมล็ดค่อนข้างเต็ม 

มะม่วงโชคอนันต์
มะม่วงโชคอนันต์ ผลดิบจะมีสีเขียว
ผลมะม่วงโชคอนันต์
ผลมะม่วงโชคอนันต์ ยาวรี ก้นผลมน อกป่อง เปลือกหนาสีเขียวเข้ม

การขยายพันธุ์ของมะม่วงโชคอนันต์

เพาะเมล็ด, ตอนกิ่ง, ติดตา, ทาบกิ่ง

นิยมทำด้วยการทาบกิ่งเพราะจะทำให้มีระบบรากที่ดี และได้สายพันธุ์ตรง

การปลูกมะม่วงโชคอนันต์

สภาพพื้นที่ต้องไม่เป็นที่ดอน ถ้าเป็นที่ลุ่มต้องยกร่องเพื่อไม่ให้น้ำท่วม โดยจะใช้มะม่วงตาลหรือกะล่อนเพาะในถุงชำประมาณ 3 เดือน แล้วนำไปปลูกในระยะ 2×2 เมตร หรือ 2.50×5 เมตร จะได้มะม่วงประมาณ 150-200 ต้น จากนั้นจะปลูกต้นตอไว้ประมาณ 3 ปี จึงเริ่มเปลี่ยนพันธุ์เป็นโชคอนันต์ โดยนิยมใช้วิธีเปลี่ยนยอดโดยวิธีเสียบเปลือกข้างต้นละประมาณ 3 ยอด โดย เปลี่ยนยอดสูงจากพื้นดินประมาณ 1.30 เมตร เพื่อไม่ให้ผลมะม่วงที่ออกมาในปีแรกถูกพื้นดินซึ่งจะทำให้ผลผลิต ผิวไม่สวย

การดูแลรักษามะม่วงโชคอนันต์

การตัดแต่งกิ่งส่วนใหญ่จะตัดปีละ 1 ครั้ง ประมาณปลายเดือนเมษายน ถ้าเป็นมะม่วงใหม่ จะไม่ตัดแต่งกิ่ง

การให้ปุ๋ย

เกษตรกรจะให้ปุ๋ย ปีละ 2 ครั้ง คือประมาณ เดือนพฤษภาคมและปลายเดือนกันยายนถึงต้นเดือน ตุลาคม โดยเกษตรกรจะใช้ปุ๋ยคอก ประมาณ 3 กิโลกรัม ต่อต้นและปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 ในอัตราประมาณ 0.5 กิโลกรัม ต่อต้นหรือ 100 กิโลกรัม ต่อไร่

การราดสาร

เพื่อบังคับมะม่วงให้ออกช่อ เกษตรกรจะราดสารในต้นเดือนพฤษภาคม โดย 1 ปี เกษตรกรจะราด สาร 1 ครั้ง ในอัตราสารควบคุมการเจริญเติบโต 5 กิโลกรัม ต่อ 5 ลิตร อัตราการใช้ต่อต้นถ้าอายุมะม่วง 5 ปี อัตราการใช้ 20 ซีซี ต่อๆ ต้น ถ้าอายุ 7 ปี ขึ้นไปอัตราการใช้ 30-50 ซีซี ต่อต้น หลังจากราดสารควบคุมการ เจริญเติบโตประมาณ 20 วัน เกษตรกรจะใช้สารไทโอยูเรียเพื่อเร่งช่อดอกให้ออกในต้นเดือนมิถุนายน

ใช้เวลาดูแลราว 2 ปี ก็สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตชุดแรกได้ และหลังจากนั้นก็สามารถเก็บผลผลิตได้อย่างต่อเนื่องในทุกปี อย่างน้อย 2 รอบต่อปีทีเดียว

โรคและแมลงที่สำคัญ

การกำจัดวัชพืช สอดส่องตรวจตราโรคพืชและแมลงที่ก่อกวน หมั่นให้ปุ๋ยคอกและพ่นชีวภัณฑ์กันแมลง รวมทั้งนำดินมาพูนโคน 

การใช้ประโยชน์ของมะม่วงโชคอนันต์

  • มะม่วงโชคอนันต์ เป็นมะม่วงพันธุ์ที่เป็นที่รู้จักกันดีในกลุ่มผู้บริโภคที่ชอบรับประทานมะม่วงสุก เพราะมีสีเนื้อมะม่วงที่เหลืองเข้มจัด เนื้อแน่น รสชาติหวาน ผิวเนียน ผลใหญ่ มีเนื้อเยอะ
  • ผลดิบ สามารถนำมารับประทานจิ้มพริกเกลือหรือกะปิหวาน
  • ใช้ยอดอ่อน ผลอ่อน มาประกอบอาหารแทนผัก
  • ใช้เป็นยาสมุนไพร เช่น ผลมะม่วงดิบมีวิตามินซีสูง แก้เลือดออกตามไรฟัน เป็นต้น
  • ชาวกะเหรี่ยงในอ่าเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่น่าเปลือกต้นมะม่วงไปย้อมผ้า ให้สีเขียว
ผลมะม่วงโชคอนันต์สุก
ผลมะม่วงโชคอนันต์สุก ผลจะมีสีเหลือง
เนื้อผลด้านในมะม่วงโชคอนันต์
เนื้อผลมะม่วงโชคอนันต์ เนื้อสีเหลืองเข้ม เนื้อในแข็ง

คุณค่าทางโภชนาการของมะม่วงโชคอนันต์

การแปรรูปของมะม่วงโชคอนันต์

นิยมนำไปทำมะม่วงดอง มะม่วงแช่อิ่ม มะม่วงเค็ม น้ำแยมมะม่วง พายมะม่วง ข้าวเหนียวมะม่วง เป็นต้น

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.aopdb03.doae.go.th, http://blog.arda.or.th/
ภาพประกอบ : www.youtube.com

4 Comments

Add a Comment