ระย่อมใหญ่ ไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก กลีบดอกสีขาว ราก ใบ มีสรรพคุณทางยา

ระย่อมใหญ่

ชื่ออื่นๆ : ขะย่อมใหญ่ (เพชรบูรณ์) จี้ปุก (ภาคเหนือ) แฉก (นครศรีธรรมราช, ตรัง) ปอนุ (มูเซอ-เชียงราย)
พุดน้อย (ลำปาง) ยาแก้ฮากขม (เงี้ยว-เชียงใหม่) ระย่อมใหญ่ (ภาคกลาง) สะลัก (เงี้ยว-เชียงใหม่)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : Common devil-pepper

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Rauvolfia verticillata (Lour.) Baillon

ชื่อวงศ์ : APOCYNACEAE

ลักษณะของระย่อมใหญ่

ต้น ไม้พุ่ม หรือไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 1-2 เมตร กิ่งก้านเกลี้ยง มียางขาว

ใบ ใบเดี่ยว ออกตรงข้าม รูปรี หรือรูปไข่กลับ หรือรูปใบหอกกลับ กว้าง 1-10 ซม. ยาว 3.1 – 30 ซม. ผิวเกลี้ยง

ดอก ดอกออกเป็นช่อเวียนที่ปลายยอด ช่อยาว 2.2-14 ซม. กลีบดอกสีขาว โคนเชื่อมเป็นหลอด ปลายแยก

ผล ผลเดี่ยว หรือออกเป็นคู่ รูปไข่ กว้าง 4.5-5 มม. ยาว 8.3-14 ซม.

ต้นระย่อมใหญ่
ต้นระย่อมใหญ่ ไม้พุ่มขนาดเล็ก กิ่งก้านเกลี้ยง มียางขาว

การขยายพันธุ์ของระย่อมใหญ่

ใช้เมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่ระย่อมใหญ่ต้องการ

ประโยชน์ของระย่อมใหญ่

สรรพคุณทางยาของระย่อมใหญ่

  • ราก ลดความดันโลหิต แก้ไข้ แก้นิ่ว
  • ใบ ตำพอกแก้สัตว์มีพิษต่อย
ดอกระย่อมใหญ่
ดอกระย่อมใหญ่ กลีบดอกสีขาว โคนเชื่อมเป็นหลอด

คุณค่าทางโภชนาการของระย่อมใหญ่

การแปรรูปของระย่อมใหญ่

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11095&SystemType=BEDO
www.flickr.com

Add a Comment