รังกะเเท้ กระจายพันธุ์ เฉพาะบริเวณชายฝั่ง แม่น้ำใกล้ ปากแม่น้ำ และน้ำค่อนข้างจืด

รังกะเเท้

ชื่ออื่นๆ : ขลุย (จันทบุรี), ถั่วนางช้อย

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : ต้นถั่วดำ

ชื่อวิทยาศาสตร์ : kandelia candel (L.)Druce

ชื่อวงศ์ : Rhizophoraceae

ลักษณะของรังกะเเท้

ปลายใบแหลม ฐานใบรูปลิ่ม แผ่นใบสีเหลืองอมเขียว เกลี้ยงทั้งสองด้าน เส้นใบบาง 7 เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงกลาง สูง 10-20 เมตร พูพอนน้อยแต่บริเวณโคน ผิวเปลือกบริเวณโคนต้นมีจุดสีขาวแต้ม เรือนยอดแคบกลม รูปปิระมิด สีเขียวอมเหลือง รากหายใจยาว 15-20 ซม. เหนือผิวดิน เปลือกสีเทาหรือสีน้ำตาลเข้ม เรียบถึงแตกเป็นเกล็ด มีช่องอากาศเล็กๆไม่เด่นชัด
ใบ ออกเป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง เรียงตรงข้ามสลับทิศทาง แผ่นใบรูปรี ขนาด 3-5 x 7-15 ซม. ปลายใบมน ฐานใบรูปลิ่ม ผิวใบด้านบนสีเขียวเป็นมัน ท้องใบสีซีด ก้านใบยาว 1-2 ซม. มีหูใบรูปแถบยาว 2 ซม.

ดอก ออกเป็นช่อตามง่ามใบ ช่อดอกแตกระบบ 2 กิ่ง แต่ละช่อมี 4-12 ดอก มีก้านดอก
ยาว 2-5 ซม. ก้านดอกย่อยยาว 0.2-0.4 ซม. ใบประดับย่อย 2-4 ใบ ดอกตูมรูปทรงกระบอกยาว 1.5-2 ซม. กลีบเลี้ยงยาว 1-1.7 ซม. มี 5-6 กลีบ ยาว 1.4 ซม. สีขาวเกสรเพศผู้มีมาก ไม่ติดกันยาว 0.8-1.3 ซม. ก้านเกสรเพศเมียสั้นกว่า เกสรเพศผู้ ปลายแยกเป็น 3 แฉก ออกดอกเดือนสิงหาคม-พฤศจิกายน

ผล รูปผลแพร์กลับ ยาว 2-3 ซม. สีเขียว ปกคลุมด้วยเกล็ดสีน้ำตาล กลีบเลี้ยงแข้ง โค้งกลับ ลำต้นใต้ใบ้เลี้ยงหรือฝัก เรียวคล้ายทรงกระบอก ยาว 15-40 ซม. ผิวเรียบเป็นมัน สีเขียวอ่อน กว้างและเรียวไปทางส่วนโค้ง โคนฝักแหลมยาว ผลแก่เดือนมีนาคม-พฤษภาคม การเจริญเติบโต เป็นพันธุ์ไม้ที่การกระจายพันธุ์มีขอบเขตจำกัด เฉพาะบริเวณชายฝั่ง แม่น้ำใกล้ ปากแม่น้ำ และน้ำค่อนข้างจืด เป็นระยะเวลานานในรอบปี

รังกะแท้
รังกะแท้ ใบเดี่ยวหนาแน่นที่ปลายกิ่ง ผิวใบด้านบนสีเขียวมัน

การขยายพันธุ์ของรังกะเเท้

-/-

ธาตุอาหารหลักที่รังกะเเท้ต้องการ

ประโยชน์ของรังกะเเท้

ไม้ นำมาเผาถ่าน และทำที่อยู่อาศัย

สรรพคุณทางยาของรังกะเเท้

คุณค่าทางโภชนาการของรังกะเเท้

การแปรรูปของรังกะเเท้

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9449&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment