ละมุด
ชื่ออื่นๆ : สวา, ชวานิลอ (ปัตตานี,มลายู, ยะลา)
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : Spodilla
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Manilkara achras Fosberg
ชื่อวงศ์ : Sapotaceae
ลักษณะของละมุด
ต้น เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง เป็นพุ่มทึบ กิ่งก้าน แตกออกรอบลำต้นเป็นชั้น ๆ
ใบ เป็นใบเดี่ยว ท้องใบมีสีน้ำตาลอมเขียว มักออกเป็นกระจุก ตามปลายกิ่ง
ดอก ออกดอกเดี่ยว ตามง่ามกิ่ง กลีบรองดอกเรียงกัน เป็น 2 ชั้น กลีบดอกเชื่อมกันและยกตั้งขึ้น มี 6 กลีบ มีสีเหลืองนวล
ผล เป็นรูปไข่ หรือรูปปลายข้างหนึ่งแหลมเล็กน้อย ผิวผลมีสีน้ำตาล ผลยังไม่สุกมียางสีขาว รสฝาด แข็ง เมื่อสุกจะนิ่ม หวาน ไม่มียาง ออกผลในเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม
เมล็ด มีเมล็ดรูปยาว รี ผิวสีดำฝังอยู่ในเนื้อ ผลละ 2-6 เมล็ด
การขยายพันธุ์ของละมุด
ใช้เมล็ด/การเพาะกล้าด้วยเมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่ละมุดต้องการ
ประโยชน์ของละมุด
ผลสุก รับประทานเป็นผลไม้
สรรพคุณทางยาของละมุด
- ละมุดดิบ มียางสีขาวเหมือนน้ำนม มีสารที่ชื่อว่า “gutto” มีชัน สารฝาดสมานและอื่น ๆ ใช้เป็นยา ในฟิลิปปินส์ใช้
- เปลือกของต้น ต้มดื่มแก้บิด
- ยาง ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิอย่า แรง เมล็ดเป็นยาบำรุง
คุณค่าทางโภชนาการของละมุด
คุณค่าทาง โภชนาการ ผลละมุดสุก มีน้ำตาลสูง มีวิตามินเอและซี มีธาตุแคลเซียม ฟอสฟอรัส และอื่น ๆ
การแปรรูปของละมุด
ทำไวน์ และทำน้ำละมุด
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11110&SystemType=BEDO
www.flickr.com