ละหุ่ง ไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก – เมล็ดมีพิษ มีน้ำมัน

ละหุ่ง

ชื่ออื่นๆ : ละหุ่งแดง (ภาคกลาง) มะโห่ง, มะโห่งหิน (ภาคเหนือ) มะละหุ่ง

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : Castor Bean

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ricinus communis L.

ชื่อวงศ์ : Euphorbiaceae

ลักษณะของละหุ่ง

ต้น ไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูงได้ถึง 6 เมตร ละหุ่งขาวลำต้นและก้านใบจะเป็นสีเขียว ละหุ่งแดงลำต้นและก้านใบจะเป็นสีแดง ยอดอ่อนและช่อดอกเป็นนวลขาว

ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ใบกว้าง 15 เซนติเมตร ยาว 60 เซนติเมตร รูปฝ่ามือ มี 6-11 แฉก ปลายแฉกแหลม ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย ขนาดไม่เท่ากัน ปลายจักเป็นต่อม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 10-20 เซนติเมตร โคนใบแบบก้นปิด เส้นแขนงใบเรียงจรดปลายจักที่มีขนาดใหญ่ ก้านใบยาว 10-30 เซนติเมตร มีต่อมที่ปลายก้าน หูใบเชื่อมติดกันรูปสามเหลี่ยม ยาวได้ประมาณ 1.5 เซนติเมตร ติดตรงข้ามใบ โอบรอบกิ่ง ร่วงง่าย

ดอก ออกเป็นช่อ ที่ปลายกิ่งหรือที่ปลายยอดแบบช่อกระจะ บางครั้งแยกแขนง  มีทั้งดอกตัวผู้ และดอกตัวเมียอยู่ในช่อเดียวกัน ดอกเพศผู้อยู่ช่วงบน ดอกเพศเมียอยู่ช่วงล่าง ก้านดอกยาวกว่าดอกเพศผู้ กลีบเลี้ยง 5 กลีบ ในดอกเพศเมียเรียวแคบกว่า เกสรเพศผู้จำนวนมาก เชื่อมติดกันเป็นกลุ่มๆ แตกแขนง รังไข่ 3 ช่อง แต่ละช่องมีออวุล 1 เม็ด มีเกล็ดคล้ายหนามปกคลุม ก้านเกสร 3 อัน ยาวเท่าๆ กลีบเลี้ยงบางแยกเป็น 3-5 แฉก ติดทน ไม่มีกลีบดอก ก้านดอกยาว ไม่มีจานฐานดอก กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกัน ปลายเป็น 5 หยัก รูปสามเหลี่ยม ยาวได้ประมาณ 1 เซนติเมตร ร่วงง่าย

ผล เป็นผลแห้งแบบแคปซูล ทรงรี ยาวประมาณ 1.5 เซนติเมตร มี 3 พู รูปไข่ สีเขียว ยาว 1-1.5 เซนติเมตร ผิวมีขนคล้ายหนามอ่อน ทั้งผล คล้ายผลเงาะ เมล็ดทรงรี เปลือกเมล็ดสีน้ำตาลแดงประขาว คล้ายตัวเห็บ เนื้อในสีขาว

เมล็ด มีพิษ มีน้ำมัน

ต้นละหุ่ง
ต้นละหุ่ง ลำต้นและก้านใบจะเป็นสีเขียว

การขยายพันธุ์ของละหุ่ง

ธาตุอาหารหลักที่ละหุ่งต้องการ

ประโยชน์ของละหุ่ง

ใบ – เป็นยาขับน้ำนม แก้เลือดพิการ
ราก – แก้พิษไข้เซื่องซึม และเป็นยาสมานด้วย
น้ำมันจากเมล็ด – ใช้เป็นยาระบายในเด็ก น้ำมันหล่อลื่น เครื่องจักร ใช้ทำสบู่ ใช้เป็นอาหารสัตว์ และใช้ทำสีโป๊รถ

สรรพคุณทางยาของละหุ่ง

ยาสมุนไพรพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานี  ใช้ น้ำมันจากเมล็ด เข้ายากับน้ำมันงา ทาแก้กระดูกหัก กระดูกแตก ใบ ห่อกับก้อนอิฐแดง เผาไฟ ประคบ แก้ริดสีดวงทวาร

ตำรายาไทย  ใช้  น้ำมันจากเมล็ด รสมันเอียน มีฤทธิ์ระบายอุจจาระสำหรับเด็กและผู้ใหญ่ (ต้องสกัดเอาแต่น้ำมันจากเมล็ดเท่านั้น ไม่ติดส่วนอื่นมาจะเป็นพิษได้ วิธีบีบน้ำมันจากเมล็ดต้องไม่ใช้ความร้อน ถ้าบีบโดยใช้ความร้อนจะมีโปรตีนที่เป็นพิษชื่อ “ricin” ติดมาด้วย ไม่ใช้ทำยา)
เมล็ด นำเมล็ดมาทุบแล้วเอาจุดงอกออก ต้มกับนมครึ่งหนึ่ง แล้วต้มกับน้ำเพื่อทำลายพิษ กินแก้ปวดข้อปวดหลัง ตำเป็นยาพอกแผล
–  ใบสด รสจืดขื่น มีฤทธิ์ฆ่าแมลงบางชนิดได้ ต้มกินเป็นยาระบาย แก้ปวดท้อง ขับน้ำนม ขับระดู ขับลม เผาไฟพอกแก้ปวดบวม ปวดตามข้อ ปวดศีรษะ และแผลเรื้อรัง ตำเป็นยาพอกฝี แก้ช้ำรั่ว(อาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่) แก้เลือดลมพิการ ราก รสจืด ตำเป็นยาพอกเหงือกแก้ปวดฟัน ต้มกินเป็นยาระบาย
 – รากใช้สุมเป็นถ่านทำเป็นยารับประทานแก้พิษไข้เซื่องซึม และเป็นยาสมาน

ทางเภสัชกรรม  ใช้  น้ำมันละหุ่ง กินเป็นยาระบายหรือยาถ่ายอย่างอ่อนมีฤทธิ์กระตุ้นผนังลำไส้ให้บีบตัว ขับกากอาหารออกมา มักใช้ในผู้ป่วยโรคท้องเดินเฉียบพลันที่เกิดจากอาหารเป็นพิษ เพื่อขับถ่ายอาหารที่เป็นพิษออกมา หรือใช้ทำความสะอาดลำไส้ก่อนการเอ็กซเรย์ลำไส้และกระเพาะอาหาร แต่ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการปวดมวนท้องได้ นอกจากนี้ยาขี้ผึ้งน้ำมันละหุ่งความเข้มข้นร้อยละ 5-10 ใช้ทาแก้ผิวหนังอักเสบ

ข้อควรระวัง
เมล็ด มีพิษมาก ถ้ากินเพียง 2-3 เมล็ด ปากและคอจะไหม้พอง เลือดออกในกระเพาะอาหาร คลื่นไส้อาเจียน อุจจาระมีเลือด ตับและไตถูกทำลาย ความดันโลหิตลดลงอาจทำให้ตายได้

ผลละหุ่ง
ผลละหุ่ง ทั้งผลผิวมีขนคล้ายหนามอ่อน

การออกฤทธิ์ : ระคายเคืองต่อระบบทางเดินอาหาร

ส่วนที่เป็นพิษ : ใบและเมล็ด

สารพิษ : โปรตีน

าการ : คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน ปวดท้อง อ่อนเพลีย จุกเสียด กระหายน้ำ ปวดศีรษะ อาจถ่ายเป็นเลือด ความดันเลือดต่ำ อัมพาต ผิวหนังแดง ชัก ม่านตาขยาย และสั่น อาจมีอาการเคลิ้มฝันในเด็ก เลือดออกใน retina

วิธีการรักษา :

  1. พยายามทำให้อาเจียน
  2. รับประทานยาเคลือบกระเพาะอาหารและลำไส้
  3. รีบนำส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด เพื่อล้างท้อง
  4. ให้รับประทานยาถ่ายประเภทเกลือ เช่น ดีเกลือ เพื่อลดการดูดซึมสารพิษ และให้น้ำเกลือเพื่อทดแทนน้ำ
  5. ลดการอุดตันต่อทางเดินในไตเนื่องจากเม็ดเลือดแดงที่เกาะรวมตัวกัน โดย ให้รับประทานโซเดียมไบคาร์บอเนต เช่น โซดามินท์วันละ 5-15 กรัม (17-50 เม็ด) เพื่อทำให้ปัสสาวะมีสภาพเป็นด่าง
  6. ระหว่างนี้ต้องให้อาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตสูง เช่น น้ำหวาน งดอาหาร ไขมัน เพื่อลดอาการตับอักเสบ

หมายเหตุ ต้องระวังอาการไตวาย และหมดสติด้วย

คุณค่าทางโภชนาการของละหุ่ง

การแปรรูปของละหุ่ง

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9791&SystemType=BEDO
https://medplant.mahidol.ac.th
https://www.flickr.com

One Comment

Add a Comment