แตงกวางู
ชื่ออื่นๆ : แตงกวายาว แตงกวางู แตงงู
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : แตงกวาอาร์มีเนีย Armenian cucumber, Snake cucumber
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cucumis melo var. flexuosus
ชื่อวงศ์ : Cucurbitaceae
ลักษณะของแตงกวางู
เป็นไม้เถาล้มลุกที่มีอายุอยู่ได้เพียงปีเดียว เถาหรือลำต้นมีลักษณะเป็นเหลี่ยม เนื้อเถาแข็ง แตกกิ่งก้านเป็นทรงพุ่ม มีมือเกาะตามข้อของลำต้นไปได้ไกลประมาณ 30 – 36 นิ้ว
ใบ มีใบคล้ายรูปหัวใจ โคนใบเว้าลึก ปลายใบแหลม แผ่นใบสีเขียว ขอบใบเป็นหยักคล้ายฟันเลื่อย สามารถมองเห็นเส้นใบได้อย่างชัดเจน บริเวณลำต้น กิ่งก้าน และใบ ปกคลุมไปด้วยขนคล้ายหนาม ไม่มีหูใบ ก้านใบยาวปานกลาง มีดอกสีขาวหรือสีเหลืองขนาดใหญ่ ออกเป็นช่อกระจุกที่ปลายยอด มีขนอ่อนปกคลุมอยู่ที่โคนดอก มีดอกตัวผู้และดอกตัวเมียอยู่ภายในต้นเดียวกันหรืออาจแยกอยู่คนละต้นก็ได้
ผล มีลักษณะกลมยาว เปลือกผลบางเป็นสีเขียวอ่อน ผิวผลเป็นร่องคล้ายบวบ มีความยาวของผลประมาณ 12-15 นิ้ว เนื้อภายในผลมีรสชาติคล้ายกับแตงกวา ไม่มีรสขม ลักษณะของเมล็ดภายในผลคล้ายกับแตงกวาทั่วไป
การขยายพันธุ์ของแตงกวางู
ใช้เมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่ลันแตงกวางูต้องการ
แตงกวาอาร์มีเนีย เป็นพืชที่เจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีความร่วนซุยและอุดมสมบูรณ์ ต้องการแสงแดดแบบเต็มวัน ในการปลูกเลี้ยงควรทำค้างให้เกาะพันไปได้ เพื่อสะดวกต่อการเก็บเกี่ยวผลผลิตและการดูแลรักษา
ประโยชน์ของแตงกวางู
นำมารับประทานเป็นผักสด หรือใสในอาหาร เช่น สลัดผักสด แซนวิชและซูชิ ประเทศแคลิฟอร์เนีย นิยมนำมาทำเป็นแตงดอง
สรรพคุณทางยาของแตงกวางู
–
คุณค่าทางโภชนาการของแตงกวางู
การแปรรูปของแตงกวางู
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11617&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com
2 Comments