ลำป้าง
ชื่ออื่นๆ : ขนาน (ปราจีนบุรี) จำปาเทศ (กลาง) จำปาแขก (มลายู) บาโย ลีงอกาเยาะ (มลายู นราธิวาส) ปายู (กระบี่)
ต้นกำเนิด : ในไทยพบทางภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคใต้ ขึ้นตามป่าดิบแล้ง และป่าดิบชื้นใกล้ชายฝั่งทะเล ความสูงถึงประมาณ 800 เมตร
ชื่อสามัญ :
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pterospermum diversifolium Blume
ชื่อวงศ์ : STERCULIACEAE
ลักษณะของลำป้าง
ต้น ไม้ต้นขนาดใหญ่ สูง 8-30 เมตร เปลือกสีน้ำตาลแตกเป็นร่องลึก ตามยาวลำต้น และล่อนเป็นสะเก็ดบางๆ
ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่กลับ รูปไข่ รูปขอบขนานแกมรูปไข่ถึงรูปรี กว้าง 10-17 เซนติเมตร ยาว 15-30 เซนติเมตร ปลายแหลม โคนรูปหัวใจ หรือเบี้ยว ขอบเรียบ ส่วนปลายหยักเว้า ใบของต้นอ่อนขอบหยักลึก คล้ายนิ้วมือ แผ่นใบมีขนละเอียด ด้านบนสีเขียวเข้ม ด้านล่างสีเหลือบขาว ก้านใบยาว 5-5.5 เซนติเมตร
ดอก ดอกออกเดี่ยวๆ ตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ดอกบานกว้าง 10 เซนติเมตร ยาว 8-12 เซนติเมตร กลีบเลี้ยง 5 กลีบ สีเหลือง รูปขอบขนาน หนา มีขน กลีบดอก 5 กลีบ สีขาว เนื้อบาง เกสรเพศผู้ 15 อัน เกสรเพศผู้เป็นหมัน 5 อัน รังไข่มีขนนุ่ม มี 5 ช่อง มีขน
ผล ผลแห้งแตก รูปขอบขนาน สีน้ำตาล กว้าง 6-10 เซนติเมตร ยาว 8-17 เซนติเมตร มีสันตามยาว 5 สัน มีขนสีน้ำตาลละเอียดปกคลุม เมล็ดมีปีก จำนวนมาก
การขยายพันธุ์ของลำป้าง
การเพาะเมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่ลำป้างต้องการ
ประโยชน์ของลำป้าง
- ไม้ทำเครื่องมือ เฟอร์นิเจอร์
- ปลูกเป็นไม้ประดับ ทรงพุ่มสวยงาม ใบสวยและดอกหอม
- ปลูกให้ร่มเงาบริเวณใกล้อาคารหรือศาลา
- ปลูกเพื่อการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช
สรรพคุณทางยาของลำป้าง
- ราก แก้กระบังลมเคลื่อน
- เปลือกราก ใช้เบื่อปลา
คุณค่าทางโภชนาการของลำป้าง
การแปรรูปของลำป้าง
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9861&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com