ลูกประ
ชื่ออื่นๆ : ประ กระ ปีระ
ต้นกำเนิด : พืชท้องถิ่นภาคใต้
ชื่อสามัญ : –
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Elateriospermum tapos Bl.
ชื่อวงศ์ : EUPHORBIACEA
ลักษณะของลูกประ
ต้น ไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ลำต้นตรง สูงประมาณ 20-40 เมตร เรือนยอดแผ่กิ่งก้านกว้าง เปลือกสีน้ำตาลเข้มมียางใสสีขาวๆ ที่เปลือก เปลือกหนาประมาณ 1.5-3 ซม.
ใบ ใบเดี่ยวรูปใบมน ใบอ่อนออกสีชมพูเป็นมัน ใบแก่สีเหลืองอมเขียวหรือสีน้ำตาลเป็นไม้ที่ผลัดใบตลอดปี ก้านใบยาวประมาณ 6-8 ซม. หลังใบเรียบเป็นมันสีเข้มกว่าด้านท้องใบเส้นแขนงใบมีประมาณ 12-14 คู่ เห็นได้ชัดทางด้านท้องใบ ขนาดกว้างประมาณ 4-5.5 ซม. ยาว 18-20 ซม.
ดอก สีขาวนวลหรือสีครีมออกเป็นช่อ ดอกตัวเมียขนาดกว้างประมาณ 0.5 ซม. ดอกตัวผู้ขนาดกว้างประมาณ 0.5-0.75 ซม. รังไข่สีชมพูอ่อนหรือชมพูแดงและมีคราบเกสรตัวเมียเหลือติดอยู่ประมาณ 3 ก้าน
ผล ผลประมาณ 4.5-6 ซม. ผลกลมยาวสีชมพูอมเหลืองอ่อน เป็นพวงห้อยย้อยตามลำต้นยาวประมาณ 3-15 ซม. ผลหนึ่งมี 3 เมล็ด ผิวแข็งสีน้ำตาลเป็นมันเลื่อม
การขยายพันธุ์ของลูกประ
ใช้เมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่ลูกประต้องการ
ประโยชน์ของลูกประ
เมล็ด นำมาดองรับประทานกับน้ำพริก ลูกประ ยังนำไปปรุงอาหารคาวได้หลายอย่าง เช่น แกงพุงปลา แกงส้มกบ แกงกะทิหมู น้ำพริก และยังนำไปคั่วกับทรายหรืออบแห้ง กินเป็นอาหารว่าง
ผลลูกประรสชาติจะคล้ายกับถั่วอัลมอนด์และเม็ดมะม่วงหิมพานต์ แถมราคาถูกกว่ามาก มีความมันอร่อย
สรรพคุณทางยาของลูกประ
–
คุณค่าทางโภชนาการของลูกประ
การแปรรูปของลูกประ
ลูกประฉาบ ลูกประทอดกรอบ
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11189&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com