ลูกยอประโยชน์และสรรพคุณ

ยอ ลูกยอ

ชื่ออื่นๆ : ยอแย่ใหญ่ (แม่ฮ่องสอน), ตาเสือมะตาเสือ (ภาคเหนือ), ยอบ้าน (ภาคกลาง)

ต้นกำเนิด : อินเดีย ถึงตอนใต้ของจีน

ชื่อสามัญ : Great morinda, Tahitian noni, Indian mulberry, Beach mulberry

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Morinda citrifolia L.

ชื่อวงศ์ : RUBIACEAE

ต้นยอเป็นพืชพื้นเมืองในแถบโพลีนีเซียตอนใต้ (Polynesia) และแพร่กระจายไปยังประเทศอื่นๆโดยมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิดคือ
ยอบ้านและยอป่า ที่เราพบเห็นกันบ่อยๆ ก็คือยอบ้านยอเป็นไม้ยืนต้นมีใบสีเขียวมีดอกออกเป็นช่อที่ซอกใบลักษณะของผลยาวรีผลอ่อนมีสีเขียว เมื่อสุกจะเป็นสีขาวนวลมีเนื้อนุ่มในผลมีเมล็ดจํานวนมาก มีสีน้ำตาลสําหรับรสชาติจะออกรสเผ็ดและมีกลิ่นแรง

ลูกยอจัดเป็นยาสมุนไพรที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในเรื่องการช่วยแก้อาการคลื่นไส้ อาเจียน และถูกบรรจุอยู่ในยาสมุนไพร ในงานสาธารณสุข มูลฐานโดยลูกยอสุกเป็นยาชั้นเลิศในการช่วยขับลมและช่วยย่อยอาหาร แต่สําหรับหญิงที่ตั้งครรภ์ไม่ควรรับประทานผลยอ เพราะจะมีผลโดยตรงต่อระบบการหมุนเวียนของเลือดในครรภ์และอาจทําให้แท้งบุตรได้

ต้นยอ
ต้นยอ เปลือกต้นเรียบ แผ่นใบหนาสีเขียวเข้มเป็นมัน

ประโยชน์ของยอ ลูกยอ

ลูกยอ
ลูกยอ ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีเหลืองหรือขาวนวล

ลูกยออุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชน์ต่อร่างกายหลากชนิด โดยลูกยอบดจะประกอบไปด้วยคาร์โบไฮเดรตเส้นใยอาหารวิตามินเอวิตามินซีวิตามินบี 3 ธาตุแคลเซียม ธาตุเหล็ก ธาตุโพแทสเซียม ธาตุโซเดียม เป็นต้น แต่ถ้าคั้นเอาแต่น้ำลูกยอจะเหลือแต่วิตามินซี นอกจากนี้ลูกยอยังมีสารอื่นๆ อีกด้วยเช่นกรดไขมันลิกนินพอลิแซ็กคาไรด์ฟลาโอนอยด์ อีริดอยด์สโครโปเลตินแอลคาลอยด์

  • ลูกยอสุกนํามาจิ้มกินกับเกลือหรือกะปิ
  • ลูกห่ามใช้ทําส้มตํา
  • ใบอ่อนนํามาลวกกินกับน้ำพริกใช้ทําแกงจืดแกงอ่อมผัดไฟแดงหรือนํามาใช้รองกระทงห่อหมก (เวลากินห่อหมกควรกินใบยอด้วยเพราะมีวิตามินสูง)
  • นํามาใช้ทําสีย้อมผ้า รากนํามาใช้ย้อมสีให้สีแดงและสีน้ำตาลอ่อนส่วนเปลือกจะให้สีแดง เนื้อเปลือกจะให้สีเหลืองใช้ย้อมผ้าบาติก
  • ปัจจุบันมีการนําลูกไปแปรรูปโดยคั้นเป็นน้ำลูกยอ Noni หรือ น้ำลูกยาโนนิ
  • รากยอ มีการนํามาใช้แกะสลัก ทํารงควัตถุสีเหลือง
  • ใบสด มีการนํามาใช้ทําเป็นอาหารสัตว์หรือนํามาเลี้ยงตัวหนอนไหม
  • ลูกยอสุก มีการนํามาใช้ทําเป็นอาหารหมู
  • มีการนํามาใช้ทําเป็นยารักษาสัตว์ (แพทย์ทางเลือกสมัยใหม่)หมายเหตุ: ประโยชน์ของลูกยอบางประการข้างต้นยังอยู่ในระดับการศึกษาเริ่มต้นเท่านั้น และยังเร็วเกินไปที่จะสรุปได้ว่ามีประโยชน์ต่อสุขภาพมากน้อยแค่ไหนซึ่งในทางวิทยาศาสตร์ยังคงต้องรอการพิสูจน์ต่อไป

สรรพคุณทางยาของยอ ลูกยอ

  1. ลูกยอเป็นแหล่งของแคลเซียมและยังมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระสูง
  2. ช่วยในการชะลอวัยและความเสื่อมของเซลล์ต่างๆ ในร่างกาย
  3. ช่วยบํารุงผิวพรรณหนังศีรษะและผม
  4. ช่วยป้องกันโรคภูมิแพ้ (น้ำลูกยอ)
  5. สารสโคโปเลติน (Scopoletin) ในน้ำลูกยอมีฤทธิ์ในการขยายหลอดเลือดที่หดตัวทําให้ความดันโลหิตลดลงจนเป็นปกติ (ลูกยอ, น้ำลูกยอ)
  6. มีส่วนช่วยรักษาโรคเบาหวาน (น้ำสกัดจากใบยอ)
  7. ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง (น้ำสกัดจากลําต้นยอ, น้ำสกัดจากใบยอ)
  8. ช่วยรักษาโรคกรดไหลย้อน ด้วยการทําเป็นเครื่องดื่มใช้คู่กับหัวหญ้าแห้วหมูอย่างแรก ให้เลือกลูกยอห่ามนํามาหั่นเป็นแว่นๆ ไม่บางหรือหนาจนเกินไปแล้วนําไปย่างไฟอ่อนๆ (ปกติลูกยอจะมีกลิ่นเหม็น) โดยย่างให้เหลืองกรอบและย่างจนหมดกลิ่นเหม็นจริงๆ จึงจะได้ตัวยาที่หอมน่ารับประทาน (การย่างจะนอกจากจะช่วยดับกลิ่นแล้วยังช่วยเพิ่มความเป็นด่างให้กับตัวยาด้วยจึงช่วยซับกรดและลดกรดได้อย่างมีประสิทธิภาพ) สําหรับหญ้าแห้วหมูให้เอาส่วนหัวใต้ดินที่เราเรียกว่าหัวแห้วหมูนําไปคั่วให้เหลืองและมีกลิ่นหอมเมื่อเสร็จแล้ว ให้ตั้งไฟต้มน้ำจนเดือด แล้วเอาตัวยาทั้งสองชนิดลงไปต้มพร้อมกันใส่น้ำตาลกรวดพอหวานทิ้งไว้สักพัก แล้วยกลงจากเตาตัวยาที่ได้นี้จะมีกลิ่นหอมรอจนอุ่นแล้วนํามารับประทาน ส่วนที่เหลือให้กรองเอาแต่น้ำแช่ไว้ในตู้เย็นแล้วค่อยอุ่นรับประทานให้ดื่มติดต่อกัน 1 สัปดาห์แล้วสังเกตอาการ
  9. ช่วยแก้วัณโรคด้วยการใช้ผลหรือใบทําเป็นยาพอก (ลูกยอ, ใบยอ)
  10. ลูกยอมีสารโปรซีโรนีน (Proxeronine) เมื่อรวมตัวกับเอนไซม์โปรซีโรเนส (Proxeronase) จะได้สารซีโรนีน (Xeronine) ที่ลําไส้ใหญ่ เมื่อดูดซึมกลับสู่เซลล์ต่างๆ ในร่างกายจะช่วยปรับสภาพเซลล์ให้มีความสมดุลและแข็งแรงและช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานได้เป็นอย่างดี
  11. ใช้บําบัดและรักษาโรคมะเร็ง (แพทย์ทางเลือกสมัยใหม่)
  12. ใช้รักษาโรคเกี่ยวกับสมอง (แพทย์ทางเลือกสมัยใหม่)
  13. ใช้รักษาโรคติดสุราหรือยาเสพติด (แพทย์ทางเลือกสมัยใหม่)
  14. ใช้ลดอาการแพ้ (แพทย์ทางเลือกสมัยใหม่)
  15. ใช้รักษาโรคหอบหืด (แพทย์ทางเลือกสมัยใหม่)
  16. ใช้รักษาโรคเบาหวาน (แพทย์ทางเลือกสมัยใหม่)
  17. ใช้รักษาโรคเส้นเลือดหล่อเลี้ยงหัวใจ (แพทย์ทางเลือกสมัยใหม่)
  18. ใช้รักษาโรคอ่อนเพลียเรื้อรัง (แพทย์ทางเลือกสมัยใหม่)
  19. ใช้รักษาโรคเกี่ยวกับทางเดินอาหารต่างๆ (แพทย์ทางเลือกสมัยใหม่)
  20. ใช้รักษาโรคเซลล์เจริญเติบโตนอกมดลูก (Endometriosis) (แพทย์ทางเลือกสมัยใหม่)

    ดอกยอ
    ดอกยอ ดอกมีสีขาว กลิ่นหอม
  21. ใช้รักษาโรคภูมิคุ้มกันต่ำ (แพทย์ทางเลือกสมัยใหม่)
  22. ใช้รักษาโรคความดันโลหิตสูง (แพทย์ทางเลือกสมัยใหม่)
  23. ใช้รักษาโรคเส้นโลหิตตีบ (แพทย์ทางเลือกสมัยใหม่)
  24. ใช้รักษาโรคโปลิโอ (แพทย์ทางเลือกสมัยใหม่)
  25. ใช้รักษาไซนัส (แพทย์ทางเลือกสมัยใหม่)
  26. ช่วยลดปริมาณสารพิษในร่างกายทําให้ร่างกายทํางานได้เป็นปกติเซลล์ในร่างกายอ่อนเยาว์ลง
  27. ช่วยซ่อมแซมและยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์ที่ผิดปกติ
  28. ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งและเนื้องอก
  29. ช่วยกระตุ้นให้เซลล์ใหม่ในร่างกายเจริญเติบโตและทําหน้าที่ได้อย่างเป็นปกติ
  30. ช่วยแก้กระษัย (ใบยอ, รากยอ)
  31. ลูกยอมีฤทธิ์เป็นยากล่อมประสาทแบบอ่อนๆช่วยผ่อนคลายความเครียดได้
  32. ช่วยบํารุงธาตุไฟ (ลูกยอสด)
  33. ช่วยให้เจริญอาหาร (ลูกยอ)
  34. ช่วยแก้อาการเบื่ออาหาร (น้ำสกัดจากใบยอ)
  35. ช่วยทําให้ระบบโลหิตหมุนเวียนดีขึ้น (ลูกยอสด)
  36. ช่วยบํารุงสมองช่วยเสริมสร้างความจําทําให้มีสมาธิดีขึ้น
  37. มีฤทธิ์กล่อมประสาทมีส่วนช่วยทําให้นอนหลับง่ายขึ้น
  38. ผลยอใช้ทําเป็นยาพอกแก้หัวสิว
  39. ใบยอมีวิตามินเอสูงจึงช่วยบํารุงและรักษาสายตาแก้อาการตาบอดตอนกลางคืนได้ (ใบยอ)
  40. ใช้รักษากุ้งยิง (ไอระเหยจากลูกยอ, ดอกยอ)
  41. ช่วยรักษาโรคมาลาเรีย (ใบยอ)
  42. ช่วยแก้ไข้ (ลูกยอสุก)
  43. ช่วยรักษาอาการปวดศีรษะ (ใบสด)
  44. ช่วยบรรเทาอาการวิงเวียนศีรษะ (ลูกยอสด)
  45. ช่วยแก้เหงือกเปื่อยเป็นขุยบวม (ลูกยอโตเต็มที่แต่ไม่สุก)
  46. ใช้รักษาอาการเจ็บหรือแผลตกสะเก็ดรอบปากหรือในปาก (ลูกยอดิบ)
  47. ช่วยรักษาอาการปากและเหงือกอักเสบ (ลูกยอสุก)
  48. ช่วยแก้อาการปวดฟัน (ลูกยอสุก)
  49. ลูกยอสุกมีสารแอสเพอรูโลไซด์ (Asperuloside) ช่วยแก้อาการคลื่นไส้อาเจียน (ลูกยอสุก)
  50. ช่วยแก้อาการเจ็บคอ ด้วยการใช้ลูกยอดิบนําไปเผาไฟให้สุกและแช่ในน้ำต้มสุกแล้วรินเอาแต่น้ำดื่ม เพื่อบรรเทาอาการหรือจะใช้ลูกยอสุกบดละเอียดใช้กลั้วคอแก้อาการ (ลูกยอดิบ, สด)
  51. ช่วยแก้เสมหะด้วยการใช้ลูกยอดิบนําไปเผาไฟให้สุกและแช่ในน้ำต้มสุกแล้วรินเอาแต่น้ำดื่ม
  52. สารเซโรโทนิน (Serotonin) ในผลยอช่วยกระตุ้นระบบย่อยอาหารให้ทํางานได้อย่างสมบูรณ์ทําให้ลําไส้ดูดซึมได้ง่าย
  53. ช่วยขับลมในลําไส้ (ลูกยอสด, ลูกยอสุก)
  54. ช่วยในการย่อยอาหารแก้อาการอาหารไม่ย่อย (ลูกยอสด, ลูกยอสุก)
  55. ช่วยแก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อจุกเสียดแน่นท้อง (ลูกยอ)
  56. ช่วยระบายท้องทําให้ขับถ่ายได้สะดวก (ทุกส่วน)
  57. ช่วยแก้อาการปวดท้อง (น้ำสกัดจากใบยอ)
  58. ใบยอใช้ปรุงเป็นอาหารแก้อาการท้องร่วง (ใบยอ)
  59. ช่วยแก้อาการปวดกระเพาะ (น้ำมันสกัดจากลูกยอ)
  60. ช่วยลดอาการท้องผูกได้
  61. สารแอนทราควิโนน (Anthraquinone) ในลูกยอช่วยกระตุ้นทําให้ลําไส้ใหญ่มีการบีบตัวเพิ่มขึ้นจึงช่วยขับของเสียออกจากร่างกายได้มากขึ้น
  62. ช่วยรักษาอาการระคายเคืองในระบบทางเดินอาหาร
  63. ช่วยรักษาอาการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
  64. ช่วยรักษาโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ (น้ำสกัดจากใบยอ)
  65. ใช้รักษาอาการอักเสบปวดบวมปวดในข้อปวดกล้ามเนื้อและข้อต่อต่างๆ (แพทย์ทางเลือกสมัยใหม่)
  66. ช่วยรักษาโรคเกี่ยวกับตับ
  67. ช่วยรักษาโรคดีซ่าน (เปลือกต้น)
  68. แก้อาการไส้เลื่อน (น้ำสกัดจากใบยอ)
  69. ในลูกยอมีสารแอนทราควิโนน (Anthraquinone) ช่วยขับพยาธิ (ลูกยอแก่)
  70. ช่วยขับประจําเดือนทําให้ประจําเดือนมาเป็นปกติ (ลูกยอสด)

    เนื้อผลยอ
    เนื้อผลยอ เนื้อด้านในสีขาว มีเมล็ดสีน้ำตาลไหม้
  71. ชาวพื้นเมืองแถบโพลีนีเซีย (Polynesia) ใช้ผลอ่อนใบและรากเพื่อรักษาอาการผิดปกติของประจําเดือน
  72. น้ำคั้นจากรากยอใช้แก้แผลที่มีอาการอักเสบรุนแรง (รากยอ)
  73. ลูกยอสุกนํามาบดใช้ทาผิวเพื่อฆ่าเชื้อโรค
  74. ใช้รักษาบาดแผลและอาการบวม (ลูกยอสุก)
  75. มีการนําไปทําเป็นน้ํามันสกัดจากเมล็ดยอใช้ทาเพื่อลดอาการอักเสบ (น้ำมันสกัดจากเมล็ดยอ)
  76. น้ํามันสกัดจากเมล็ดยอช่วยป้องกันแมลง (น้ำมันสกัดจากเมล็ดยอ)
  77. น้ํามันสกัดจากเมล็ดยอใช้ทาช่วยลดการเกิดสิว (น้ำมันสกัดจากเมล็ดยอ)
  78. ผลยอใช้ทําเป็นยาพอกรักษาแผลถลอก (ลูกยอ, ใบยอ)
  79. ผลยอใช้ทําเป็นยาพอกแก้ตุ่มฝีฝักบัว
  80. ช่วยรักษาแผลพุพอง (ใบยอสด)
  81. ใบใช้ทําเป็นยาพอกใช้แก้พิษจากการถูกปลาหินต่อย
  82. ใบใช้ทําเป็นยาพอกใช้แก้กระดูกแตกกล้ามเนื้อแพลง (ใบยอ)
  83. ลูกยอบนใช้ทาแก้ส้นเท้าแตก
  84. ผลยอใช้ทําเป็นยาพอกแก้อาการเคล็ดขัดยอกหรือจะใช้ใบยอทําเป็นยาพอกก็ได้ (ลูกยอ, ใบยอ)
  85. น้ำคั้นจากใบยอใช้ทาแก้อาการปวดตามข้อนิ้วมือนิ้วเท้า (ใบยอ)
  86. น้ำคั้นจากใบยอใช้ทาเมื่อมีอาการปวดเนื่องจากโรคเกาต์ (ใบยอ)
  87. ใบสดมีการนํามาใช้สระผมและกําจัดเหาหรือจะใช้น้ำมันสกัดจากเมล็ดยอก็ได้ (ใบสด, น้ำมันสกัดจากเมล็ดยอ)
น้ำหมักลูกยอ
น้ำหมักลูกยอ หมักกับน้ำตาลแดง

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10332&SystemType=BEDO
http://www. dpf.mod.go.th / file:///tmp/mozilla_com0010/24-%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%A2%E0%B8%AD.pdf
http://sk.nfe.go.th/kssin02/popup.php?name=knowledge&file=readknowledge&id=41

One Comment

Add a Comment