ลูกหยี
ชื่ออื่นๆ : เขลง, กาหยี ภาคอีสานเรียก นางดำ
ต้นกำเนิด : รัฐซาบะฮ์และรัฐซาราวัก พบในกัมพูชา ลาว มาเลเซีย พม่า ไทย และเวียดนาม
ชื่อสามัญ : –
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dialium Cochinchinense Pierre
ชื่อวงศ์ : Dialium
ลักษณะของลูกหยี
ต้น ไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ เปลือกลำต้นเป็นสีเทาอมน้ำตาล
ใบ ใบมีลักษณะเรียว การแตกของใบย่อยเป็นแบบสลับ ปลายใบย่อยแหลมยาว และโค้ง ต้นหยีจะ
ดอก ออกดอกที่ปลายกิ่ง มีลักษณะเป็นช่อสีขาว ดอกย่อยมีขนาดเล็ก ขนาดของดอกตูมโตประมาณครั้งหนึ่งของข้าวสาร ออกดอกในช่วงเดือนมีนาคม – พฤษภาคม
ผล ผลออกเป็นช่อคล้ายลำใย มีผิวสีดำ เนื้อในสีแสด และยุ่ย (Pithy) เปลือกผลบาง เมื่อผลสุกสามารถแยกเนื้อผลออกจากเปลือกได้ง่าย เหมือนมะขามเมื่อสุก ใบแต่ละผลมี 2 เมล็ด เมล็ดมีสีเทา รูปร่างคล้ายเมล็ดข้าวโพด แต่บางและเล็กกว่า ผลสุกได้ในช่วงเดือน สิงหาคม – ตุลาคม
การขยายพันธุ์ของลูกหยี
ใช้เมล็ด/จะนำเมล็ดลูกหยีมาเพาะ ใช้เวลาประมาณ 2 เดือน ก็จะได้ต้นกล้า นำไปปลูกก็ได้ ในอนาคตอาจพบลูกหยีขึ้นตามสวน
ธาตุอาหารหลักที่ลูกหยีต้องการ
ประโยชน์ของลูกหยี
- ลูกหยีมีประโยชน์นำมาใช้บริโภค ให้ประโยชน์ต่อร่างกายเมื่อบริโภคลูกหยีซึ่งมีรสฝาดคล้ายส้ม หรือมะขาม
- ต้นลูกหยีจะสามารถใช้บังลมและให้ร่มเงา
สรรพคุณทางยาของลูกหยี
- บรรเทาอาการเจ็บคอ หรือรักษาอาการไอได้ดีมาก
- บรรเทาอาการไข้หวัด
- แก้โรคผิวหนัง รักษาแผล
- บางคนที่มีลูกอ่อนก็จะนำรากของต้นหยีมาทำยา เพื่อกระตุ้นการไหลของนมแม่
- เปลือกนอกใช้แก้อาการท้องร่วง
- ยอดอ่อนก็สามารถใช้เป็นยาระบายอ่อนๆ ได้อีกด้วย
คุณค่าทางโภชนาการของลูกหยี
การแปรรูปของลูกหยี
ลูกหยีกวน ลูกหยีฉาบน้ำตาล ลูกหยีทรงเครื่อง ใช้ทำน้ำผลไม้ ซึ่งเป็นของฝากที่ขึ้นชื่อของจังหวัดปัตตานี
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11152&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com