ลูกอัมพวา ผลผิวขรุขระเป็นคลื่น คล้ายไตหรือเมล็ดถั่ว ผลที่สุกแล้วรับประทานเป็นผลไม้ มีรสหวานอมเปรี้ยว

ลูกอัมพวา

ชื่ออื่นๆ : มะเปรียง, ลูกคางคก, นำนำ, นางอาย, ลูกอาย, น้ำพวา, มะเปลียว, ลูกหล่ำล่ำ, หรือหล่ำล่ำ (พังงา) มะขามคางคก, มังคะ

ต้นกำเนิด : เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ชื่อสามัญ :  Namnam

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cynometra cauliflora L.

ชื่อวงศ์ : Leguminosae

ลักษณะของลูกอัมพวา

ต้น เป็นไม้ต้นขนาดเล็ก สูงเฉลี่ย 3-15 เมตร

ใบ ใบประกอบ รูปไข่ ใบย่อยออกเป็นคู่คล้ายปีกผีเสื้อ ใบอ่อนมีสีขาวอมเหลืองปนม่วงอ่อน ใบอ่อนแตกเป็นช่อห้อยลงมาคล้ายกับใบอ่อนของต้นโศกระย้า เป็นช่อสวยงาม

ดอก ดอกออกเป็นช่อรวมกันเป็นกระจุก ตามปมของลำต้น กลีบเลี้ยงมีสีขาวปนชมพู กลีบดอกสีขาว ผลคล้ายไตหรือเมล็ดถั่ว มีเปลือกบาง ลักษณะของผลขรุขระเป็นคลื่น ไม่เป็นระเบียบคล้ายกับรอยย่น ผลอ่อน สีเขียวมีผงสีน้ำตาลติดอยู่ทั่ว ต่อเมื่อผลแก่ผงหยาบๆ เหล่านี้จะหายไป

ผล ผลแก่มีสีเหลืองอ่อน เนื้อบางภายในผลกลวงเป็นโพรงเพราะเนื้อไม่ติดหุ้มเมล็ด เมื่อเขย่าจะเกิดเสียงดังจากการเคลื่อนตัวของเมล็ดในโพรง ผลที่แก่จัดจะมีเสียงจากการเขย่า เมล็ดมี 2 ซีก เหมือนเมล็ดถั่วขนาดใหญ่ ออกผลในช่วงเดือนมิถุนายน-สิงหาคม

ต้นอัมพวา
ต้นอัมพวา ไม้ต้นขนาดเล็ก ใบประกอบรูปไข่

การขยายพันธุ์ของลูกอัมพวา

เพาะเมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่ลูกอัมพวาต้องการ

ประโยชน์ของลูกอัมพวา

  • ต้นอัมพวาสามารถปลูกเป็นไม้ประดับในกระถาง หรือปลูกเป็นไม้ดัดบอนไซได้
  • ผลอัมพวา สามารถรับประทานได้ทั้งผลสดและผลที่สุกแล้วรับประทานเป็นผลไม้ มีรสหวานอมเปรี้ยว เนื้อกรอบ ถ้าสุกจะนิ่ม ทั้งกลิ่น และรสชาติ คล้ายกับชมพู่สาแหรก
  • ผลอัมพวาไม่สามารถเก็บไว้ได้นาน เพราะเพียง 2-3 วัน ผลจะเริ่มเหี่ยวไม่น่ารับประทาน
ผลอัมพวา
ผลอัมพวา ผลคล้ายไตหรือเมล็ดถั่ว ผลขรุขระเป็นคลื่น

สรรพคุณทางยาของลูกอัมพวา

เปลือกต้น ราก รักษาโรคเกี่ยวกับเลือด และรักษาโรคมะเร็ง

คุณค่าทางโภชนาการของลูกอัมพวา

การแปรรูปของลูกอัมพวา

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11724&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment