ลูกเดือย
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Coix lacryma-jobi L.
ชื่อภาษาอังกฤษ ชื่อสามัญ : Adlay, Adlay millet, Job’s tears
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่น ๆ เดือย, เดือยหิน, เบอะมือที (กระเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) เป้นี (กะเหรี่ยง) มะเดือย, ลูกเดือย, สะกูย (เขมร)
วงศ์ : POACEAE หรือ GRAMINEAE
เดือย เป็นพืชล้มลุกจำพวกหญ้า มีอายุเพียงปีเดียว จัดอยู่ในวงศ์เดียวกันกับข้าวหรือหญ้า มีลำต้นทรงกลม และตั้งตรง ลำต้นเป็นไม้เนื้ออ่อน ลำต้นเป็นข้อปล้อง มีใบแตกออกบริเวณข้อ ผิวลำต้นเรียบเป็นสีเขียวอมเทา และมีนวลขาวปกคลุม เมื่อลำต้นเริ่มตั้งต้นได้หรือมีอายุตั้งแต่ 2 เดือน ใบเป็นแผ่นเรียวยาว สีเขียวสด แผ่นใบด้านล่างมีสีจางกว่า ดอกออกเป็นช่อตรงปลายยอดของลำต้นคล้ายกับดอกของหญ้าทั่วไป ผลของลูกเดือยจะเรียกว่า ผลปลอม เพราะมีเฉพาะเมล็ดที่อยู่ด้านใน ซึ่งจะประกอบด้วยเปลือกหุ้มเมล็ดสีน้ำตาล เปลือกหุ้มนี้ค่อนข้างบาง แต่แข็งติดกับเมล็ด ถัดมาด้านในสุดจะเป็นเมล็ดที่มีลักษณะรูปหัวใจ ซึ่งจะมีร่องเว้าตรงกลางของเมล็ด
ประโยชน์ลูกเดือย
- ช่วยบำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่งสดใส
- ช่วยบำรุงสายตา
- ช่วยบำรุงเส้นผมให้เจริญเติบโตดีขึ้น
- เพิ่มการไหลเวียนของเลือกที่ผิวหนังให้ดีขึ้น
- นำมาใช้ทำอาหารได้ทั้งคาวและหวาน โดยเฉพาะอาหารประเภทที่มีแป้งและน้ำเป็นส่วนผสม
- มีการนำไปแปรรูปเป็นลูกเดือยอบกรอบ ลูกเดือยเปียก เต้าทึง น้ำลูกเดือย
สรรพคุณลูกเดือย
- เป็นอาหารบำรุงร่างกาย บำรุงกำลัง เหมาะกับผู้ป่วยในช่วงพักฟื้น เด็ก และผู้สูงวัย
- ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ
- ช่วยบำรุงสมอง
- ช่วยแก้อาการนอนไม่หลับ
- ช่วยแก้อาการอ่อนเพลีย เมื่อยล้า
- ช่วยลดคอเลสเตอรอลในกระแสเลือด
- ช่วยป้องกันโรคเบาหวาน
- ช่วยยับยั้งสารก่อมะเร็ง ลดความเสี่ยงจากการเกิดโรคมะเร็ง
- ช่วยยับยั้งการเกิดเนื้องอก
- ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย
- ช่วยบำรุงกระดูกให้แข็งแรง ป้องกันโรคกระดูกพรุน
- ช่วยแก้ร้อนใน
- ช่วยแก้อาการคลื่นไส้อาเจียน
- ช่วยบำรุงเลือดลมให้สตรีหลังคลอดบุตร
- ช่วยลดการเกิดกระช่วยลดการเกิดกระ
- ช่วยบำรุงปอด ม้าม
- ช่วยในการย่อยอาหารและบำรุงกระเพาะอาหาร
- แก้อาการท้องร่วง ท้องเสีย
- ช่วยในการขับปัสสาวะ
- ช่วยบำรุงมดลูก
- เหนี่ยวนำให้มีการตกไข่
- แก้อาการสตรีตกขาวมากกว่าปกติ
- ช่วยบำรุงไต
- ป้องกันโรคเหน็บชา
- ช่วยป้องกันการเกิดโรคเกาต์
- แก้อาการปวดข้อ
- ช่วยต้านการอักเสบ
- ช่วยรักษาหูด
- ช่วยต้านเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา และยีสต์
- รากของลูกเดือยนำมาทำเป็นยาชงรับประทาน ขับพยาธิในเด็ก
โทษของลูกเดือยและคำแนะนำในการทานลูกเดือย
- หญิงตั้งครรภ์หรือหญิงที่อยู่ในช่วงให้นมบุตร ให้หลีกเลี่ยงการรับประทานลูกเดือย เนื่องจากมีการศึกษาในสัตว์ทดลองพบว่าลูกเดือยอาจเป็นพิษต่อตัวอ่อนในครรภ์ เป็นเหตุให้มดลูกบีบตัว และเป็นอันตรายต่อการตั้งครรภ์ได้ รวมถึงยังไม่มีข้อมูลด้านความปลอดภัยหากรับประทานลูกเดือยในช่วงที่ให้นมบุตร
- ผู้ที่ต้องเข้ารับการผ่าตัด ควรหยุดรับประทานลูกเดือยอย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนการผ่าตัด เพราะลูกเดือยอาจรบกวนการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดทั้งในระหว่างและหลังการผ่าตัด
- ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ควรระมัดระวังในการรับประทานลูกเดือย โดยเฉพาะผู้ที่ต้องใช้ยาลดระดับน้ำตาลในเลือด เช่น อินซูลิน ไกลพิไซด์ ไกลเบนคาไมด์ ไพโอกลิตาโซน เป็นต้น เนื่องจากลูกเดือยอาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดต่ำลงมากเกินไป ดังนั้น ผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทานลูกเดือย เพราะอาจต้องปรับปริมาณยาและควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดอย่างใกล้ชิด
สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับการเกษตร เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://rspg.svc.ac.th
ภาพประกอบ : www.flickr.com
หญิงตั้งครรภ์หรือหญิงที่อยู่ในช่วงให้นมบุตร ให้หลีกเลี่ยงการรับประทานลูกเดือย
ลูกเดือยทำอาหารได้ทั้งคาวและหวาน โดยเฉพาะอาหารประเภทที่มีแป้งและน้ำเป็นส่วนผสม มีการนำไปแปรรูปเป็นลูกเดือยอบกรอบ ลูกเดือยเปียก เต้าทึง น้ำลูกเดือย
ลูกเดือย ชื่อภาษาอังกฤษ ชื่อวิทยาศาสตร์ เมนูจากลูกเดือย ประโยชน์ โทษของลูกเดือย