พืชวงศ์กุ่ม และ สกุลวงศ์กุ่ม CAPPARACEAE

ลักษณะประจำวงศ์

วงศ์กุ่ม CAPPARACEAE ลักษณะวงศ์เป็นไม้ล้มลุก ไม้พุ่ม หรือไม้เลื้อย มักมีหนาม บางทีพบกลุ่มของเกล็ดแหลมๆ ที่โคน ของกิ่ง ใบ เดี่ยว หรือใบประกอบแบบมีใบย่อย 3-7 ใบ ติดเวียนสลับ ดอก สมมาตรด้านข้าง รังไข่ติดบนก้านสั้นยาวต่างกัน ดอกมีกลีบเลี้ยงและกลีบดอก อย่างละ 4-6 กลีบ กลีบดอกแยกจากกัน มีก้านกลีบ เกสรเพศผู้มีจำนวนมาก รังไข่มี 1-3 ช่อง ผลมีเนื้อหลายเมล็ดหรือผลแห้งแตก

ผลกุ่มบก
ผลกุ่มบก ผลกลม ผิวนอกแข็งและสาก เมื่อผลแก่เปลือกจะเรียบและมีสีน้ำตาล
ดอกกุ่มบก
ดอกกุ่มบก กลีบดอกมีสีขาวอมเขียวแล้วจะค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือสีชมพูอ่อน

ลักษณะเด่นของวงศ์

พืชวงศ์กุ่ม CAPPARACEAE มีดอกสมมาตรด้านข้าง รังไข่ติดบนก้านสั้นยาวต่างกัน เกสรเพศผู้มีจำนวนมาก

วงศ์ใกล้เคียง-ลักษณะที่แตกต่าง

Cruciferae – ไม้ล้มลุก รังไข่มี 2 ช่อง ดอกสมมาตรตามรัศมี

การกระจายพันธุ์

สกุลวงศ์กุ่มพบในเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนทั่วไป ในประเทศไทยมี 5 สกุล 35 ชนิด เช่น

  • สกุล Capparis ไม้เลื้อยหรือไม้พุ่ม ใบเปลี่ยนเป็นหนาม เช่น ชิงชี่ Capparis micracantha DC.
  • สกุล Cleome ไม้ล้มลุก เป็นวัชพืชในที่โล่งแจ้ง ชนิดที่นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ เป็นพืชพื้นเมืองของอเมริกาเขตร้อน ได้แก่ ผักเสี้ยนฝรั่ง Cleome spinosa Jacq. มีดอกใหญ่ สีชมพูรังไข่มีก้านชูยาว
  • สกุล Crateva ไม้ต้นมีใบประกอบ  3 ใบ ผลกลม เช่น กุ่มบก Crateva adansonii DC. subsp. trifoliata (Roxb.) Jacobs
  • สกุล Maerua ไม้ต้น ใบประกอบแบบนิ้วมือ ไม่มีกลีบดอก มีเพียงชนิดเดียวคือ แจง Maeruasiamensis (Kurz) Pax
  • สกุล Stixis กลีบเลี้ยงมี 6  กลีบ ไม่มีกลีบดอก รังไข่มี 3 ช่อง ได้แก่ ขางน้ำข้าว Stixis suaveolens (Roxb.) Pierre
ต้นชิงชี่
ต้นชิงชี่ ไม้พุ่มหรือกึ่งเลื้อย กิ่งคดไปมา
ดอกชิงชี่
ดอกชิงชี่ ดอกเดี่ยว สีขาว

สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับการเกษตร เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.dnp.go.th
ภาพประกอบ : www.flickr.com

One Comment

Add a Comment