ลักษณะประจำวงศ์
วงศ์พุทรา RHAMNACEAE ลักษณะวงศ์เป็นไม้ต้น ไม้พุ่ม ไม้พุ่มรอเลื้อย หูใบมีขนาดเล็ก ใบเดี่ยว ติดสลับระนาบเดียวกัน ขอบใบจักซี่ฟันแกมฟันเลื่อย เส้นใบออกจากจุดเดียวกันที่โคน เส้นแขนงใบ เป็นแบบขั้นบันได ดอกสมบูรณ์เพศ สมมาตรตามรัศมีกลีบเลี้ยงและกลีบดอก มีอย่างละ 5 กลีบ กลีบแยกจากกัน เกสรเพศผู้มี 4-5 อัน ขนาดเท่ากัน ติดตรงข้ามกับกลีบดอก มีจานฐานดอกอยู่ระหว่างเกสรเพศผู้รังไข่ติดใต้วงกลีบ ไข่อ่อนติดที่ฐานรังไข่ ผล เมล็ดเดียวแข็ง
ลักษณะเด่นของวงศ์
วงศ์พุทรา RHAMNACEAE พืชวงศ์นี้เป็นไม้ต้น ไม้พุ่ม และไม้พุ่มรอเลื้อย ใบมีหูใบ กลีบดอกมีก้านกลีบ ไข่อ่อนติดที่ฐาน รังไข่ ผลเมล็ดเดียวแข็ง
วงศ์ใกล้เคียง-ลักษณะที่แตกต่าง
- Celastraceae – ใบมักติดตรงข้าม เกสรเพศผู้ติดตรงข้ามกับกลีบดอก
- Euphorbiaceae – ดอกแยกเพศ เกสรเพศผู้ไม่ติดตรงข้ามกับกลีบดอก ไข่อ่อนติดที่ปลายรังไข่
การกระจายพันธุ์
สกุล Gouania ไม้เลื้อยมือเกาะตามง่ามใบ เช่น น้ำดับไฟ Gouaniajavanica Miq. ผลมีปีก 3 ปีก ทั่วไปในเขตร้อนและเขตอุ่นทั่วโลก ในประเทศไทยมี 7 สกุล 30 ชนิด เช่น
- สกุล Colubrina ไม้เลื้อย พบตามป่าเดิมและป่ารุ่นในที่ต่ำ เช่น คันทรง Colubrina asiatica L. ex Brongn.
- สกุล Ventilago มีหนามเป็นตะขอ ผลมีปีกล้อมรอบ เช่น รางแดง Ventilago denticulata Willd.
- สกุล Ziziphus ไม้พุ่ม หรือไม้เลื้อย มีหนาม พบตามป่าเดิมและป่ารุ่น ป่าหญ้า มีชนิดที่ผลกินได้คือ พุทรา Ziziphus mauritiana Lam.
สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับการเกษตร เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.dnp.go.th
ภาพประกอบ : www.flickr.com
วงศ์และสกุลของพุทรา ได้แก่ ต้นคันทรง ต้นพุทรา ต้นรางแดง เป็นต้น