ข้าวโพดฝักอ่อน
ข้าวโพดฝักอ่อน เป็นผักอุตสาหกรรมและส่งออกที่สำคัญ ซึ่งทํารายได้ให้แก่ประเทศไทยปีละ ไม่ต่ำกว่าหนึ่งพันล้านบาท ข้าวโพดฝักอ่อนไทยมีคุณภาพดีเป็นที่ยอมรับของต่างประเทศ การส่งออกมีทั้งการแปร รูปบรรจุกระป๋อง การส่งออกฝักสด และการแช่แข็ง ซึ่ง มีแนวโน้มการตลาดที่สดใสในปี 2534 ประเทศไทยสามารถทํารายได้จากข้าวโพดฝักอ่อน เป็นมูลค่ามากกว่าพันล้านบาท สําหรับเกษตรกรแล้ว ข้าวโพดฝักอ่อน นับเป็นผักที่นิยมปลูก เนื่องจากมีเทคโนโลยีการผลิตที่ไม่ยุ่งยากมีระบบตลาดที่สะดวกและมั่นคงพอควร ไม่ต้องใช้สารเคมีอันตรายและเป็นพืชที่มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้นโดยมีอายุตั้งแต่วันปลูกถึงวันเก็บเกี่ยวประมาณ 45-50 วัน และมีช่วงระยะเวลาเก็บเกี่ยวเพียง 7-10 วันดังนั้น ตั้งแต่ปลูกจนถึงเก็บเกี่ยวฝักอ่อนหมดจะใช้เวลาเพียง 60-70 วันเท่านั้นเกษตรกรสามารถปลูกได้ปีละ 4-5 ครั้ง ซึ่งสามารถปลูกเป็นพืชหลักที่ทํารายได้ที่ดี
การปลูกข้าวโพดฝักอ่อนเพื่ออุตสาหกรรมหรือส่งออก ฝักสดนั้น สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ คุณภาพ และปริมาณของผลผลิตทําอย่างไรให้ได้มาตรฐานมากที่สุดดังนี้ เกษตรกรควรศึกษาข้อมูลต่างๆ ก่อนปลูกซึ่งมีข้อที่เกษตรกรควรคํานึงถึงดังนี้
- เกษตรกรควรรวมตัวเป็นกลุ่ม ซึ่งจะทําให้มีผลผลิตมากพอสําหรับผู้ซื้อ และสามารถทํา สัญญาซื้อขายล่วงหน้าและวางแผนการผลิตร่วมกัน
- การปลูกข้าวโพดฝักอ่อน ต้องใช้แรงงานมากในช่วงการดึงช่อดอกตัวผู้และช่วงเก็บเกี่ยวทุกวัน ซึ่งจากการสํารวจพบว่า สามารถทําได้ครอบครัวละประมาณ 3-5 ไร่ เกษตรกรจึงควรทยอยปลูกซึ่งต้องวางแผนการผลิตร่วมกับผู้ซื้อ
พันธุ์ข้าวโพดฝักอ่อน
พันธุ์ข้าวโพดฝักอ่อนที่ดี เป็นปัจจัยที่สําคัญข้อหนึ่งที่จะได้ผลผลิตคุณภาพดี คือมีปริมาณฝักเสีย ไม่ได้มาตรฐานน้อย ตามความต้องการของโรงงานแปรรูป ขณะเดียวกันพันธุ์นั้น ก็ควรให้ผลผลิตสูงและง่ายต่อการจัดการของเกษตรกรผู้ปลูกด้วยพันธุ์ข้าวโพดฝักอ่อนที่เกษตรกรใช้มีดังนี้
- พันธุ์ผสมเปิดต่างๆ ได้แก่ สุวรรณ 1 สุวรรณ 2 สุวรรณ 3 รังสิต 1 และเชียงใหม่ 90 เป็นต้น จะสังเกตได้ว่า นอกเหนือจากพันธุ์รังสิต 1 เชียงใหม่ 90 และพันธุ์ข้าวโพดหวานแล้ว พันธุ์สุวรรณ 1, 2, 3 ต่างเป็นพันธุ์ที่ได้รับการปรับปรุงและพัฒนาเพื่อใช้ในการผลิตเป็น ข้าวโพดไร่ มีข้อดีคือ มีความต้านทานโรครานํ้าค้าง การเจริญเติบโตและปรับตัวดี และเมล็ดพันธุ์ราคาถูก แต่มีข้อควรระวังคือ ฝักอ่อนจะโตเร็วควรเก็บเกี่ยวฝักอ่อนในระยะที่เหมาะสม มิฉะนั้นจะทําให้ฝักอ่อนมีขนาดโตเกินมาตรฐานที่โรงงานอุตสาหกรรมต้องการ
- พันธุ์ลูกผสมของทางราชการและบริษัทเอกชนต่างๆ พันธุ์ข้าวโพดอ่อนเหล่านี้มีข้อดี คือ มีความสมํ่าเสมอของทรงต้น และอายุเก็บเกี่ยวตลอดจนจํานวนฝักอ่อนได้มาตรฐานสูงกว่าพันธุ์ผสมเปิดทั้งนี้ ต้องมีการดูแลรักษาที่ดีด้วยเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดฝักอ่อนลูกผสม แม้จะมีราคาสูง แต่ในการผลิตข้าวโพดฝักอ่อน ปัจจุบัน ซึ่ง เป็นการผลิตเพื่ออุตสาหกรรม ซึ่งต้องคํานึงถึงคุณภาพ ความสมํ่าเสมอของผลผลิต และปัญหาค่าแรงงานการเก็บเกี่ยวสูงแล้ว การใช้พันธุ์ลูกผสมก็มีความจําเป็นมากขึ้น
การปรับปรุงดิน
ข้าวโพดฝักอ่อนสามารถปลูกได้ในดินเกือบทุกชนิด แต่การที่จะปลูกข้าวโพดฝักอ่อนให้ได้ผลดี นั้น ควรปลูกในดินร่วน ตั้งแต่ดินร่วนเหนียวและดินร่วนทรายพื้นที่ปลูกต้องเป็นดินที่ระบายนํ้าดีเพราะข้าวโพดฝักอ่อนไม่สามารถเจริญเติบโตได้ในดินเปัยกแฉะและระบายน้ำยาก ข้าวโพดฝักอ่อนสามรถปลูกได้ในสภาพดินที่มีปฏิกิริยาตั้งแต่ pH 5.5-7.0 และสามารถปลูกในดินที่เป็นกรดค่อนข้างจัด
การปรับปรุงและบํารุงดินสําหรับข้าวโพดฝักอ่อน ควรทําดังนี้
- ใส่ปูนกรณีที่ดินเป็นกรด เช่น ในท้องที่ภาคกลาง ถ้าเกษตรกรยังไม่ได้วิเคราะห์ดิน ก็อาจ ทําได้โดยการใส่ปูนขาว ในอัตราต่ำ เช่น 100-200 กก./ไร่ การใส่ปูนขาวนอกจากจะช่วยแก้ความเป็นกรดให้แก่ดินแล้ว ยังสามารถให้ธาตุอาหารแคลเซียมแก่พืชด้วยสิ่งที่ควรปฏิบัติอีกประการหนึ่ง คือการใส่หินฟอสเฟตบด เพราะจะสามารถเป็นปุ๋ยแก่ข้าวโพดฝักอ่อนอย่างดี นอกจากแก้ความเป็นกรดแล้ว ยังมีธาตุฟอสฟอรัสแล้ว ธาตุอาหารรองและอาหารเสริมปนอยู่อย่างเพียงพอด้วย
- ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยอินทรีย์จะช่วยให้โครงสร้างของดินดี ชุ่มน้ำและระบายนํ้าดีอย่างสมํ่าเสมอ ผลผลิตสูง และเปอร์เซ็นต์ฝัก มาตรฐานสูง ปุ๋ยอินทรีย์สามารถใช้ได้ถึง 5 ตันต่อไร่ แต่เนื่องจากปัจจุบันเกษตรกรจัดซื้อหรือหาปุ๋ยอินทรีย์ไม่สะดวกนัก การใส่ขึ้นกับกำลังซื้อของเกษตรกร แต่อย่างน้อยเกษตรกรควรใส่ประมาณ 200-300 กก./ไร่ และใส่ทุกปี นอกจากนี้ ต้นข้าวโพดฝักอ่อน หากไม่นําไปใช้เป็นอาหารสัตว์ก็สามารถจะใช้ไถกลบบํารุงดินได้อย่างดี
การเตรียมดินปลูก
ขุดดินหรือพรวนดินให้ร่วนโปร่ง และมีความลึกประมาณ 25 เซนติเมตรแล้วยกร่องเป็นลูกฟูก สูง 25 เซนติเมตร ให้ร่องระบายนํ้าได้ สําหรับฤดูฝนให้พื้นที่นาใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักตามที่หาได้เพื่อปรับปรุงสภาพดินให้ร่วนซุย
วิธีปลูกโดยทั่วไปจะปลูกในหลุมที่ขุดเตรียมเอาไว้ ก่อนหน้านั้น จะให้น้ำก่อนประมาณ 3 วัน เพื่อหลังจากปลูกแล้วจะทำให้เมล็ดงอกได้รับความชื้นพอดี ก่อนปลูกเอาปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักรองก้นหลุมประมาณ 1 กะลามะพร้าว/หลุม แล้วใส่ปุ๋ยเคมีหลุมละ 7 กรัม หรือฝานํ้าอัดลมใช้สูตร 20-20-0หรือ 16-20-0 คลุกเคล้าปุ๋ยกับดินให้เข้ากัน เอาดินกลบบางๆ หยอดเมล็ดหลุมละ 4-5 เมล็ด (เมล็ดควรทดสอบความงอกแล้วคลุกยา เอพรอน 35 หรือยากันราก่อนปลูก) เอาดินกลบหนาประมาณ 1-2ซม. เมื่อเมล็ดงอกแล้ว 2 สัปดาห์ หรือตันข้าวโพดสูงประมาณ 1 คืบ ถอนต้นทีอ่อนแอออกเหลือต้นที่แข็งแรงไว้ 3 ต้น ต่อหลุม การหยอดเมล็ดนั้น อาจจะใช้เครื่องหยอดเมล็ดซึ่ง หยอดเมล็ดได้สะดวกประหยัดเวลา และสามารถควบคุมอัตราการใช้เมล็ดพันธุ์ได้สม่ำเสมอกว่าการใช้คนปลูก
ระยะปลูก
ผลผลิตข้าวโพดจะขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ ต่อไปนี้คือ
- จํานวนต้นต่อพื้นที่ (ในกรณีที่มีปัจจัยอื่นๆ เหมาะสม)
- พันธุ์
- ความอุดมสมบูรณ์ของดิน
- ปริมาณปุ๋ยที่ใส่
- การชลประทาน
ระยะปลูกและอัตราปลูกขึ้นอยู่กับปริมาณปุ๋ยที่ใส่ ระยะปลูกที่เหมาะสมโดยทั่วๆ ไปใช้ 50×50 จํานวน 3 ต้นต่อหลุม (19,000 ต้น /ไร่) หรือ 50x40x3 จํานวน 3 ต้นต่อหลุมขึ้นไป แต่ถ้าเพิ่มอัตราปลูกไปถึง 26,000 ต้น/ไร่ ก็ได้แต่ไม่ควรเพิ่มมากกว่านี้ไม่มีประโยชน์ อาจเพิ่มโดยวิธีจํานวนต้นต่อหลุม อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าจํานวนผลจะขึ้นอยู่กับจํานวนต้นพืชต่อพื้นที่ปลูก แต่ถ้าหากว่าเพิ่มจํานวนต้นต่อพื้นที่มากจนเกินความพอดี ก็อาจทําให้เกิดผลต่างๆ ตามมา
- นํ้าหนักของฝักจะลดลง
- ขนาดของฝักจะลดลงทั้งความยาวและความกว้าง
- ทําให้จํานวนฝักต่อต้นลดลง
- ทําใหัปริมาณของต้นที่ไม่มีฝักมากขึ้น
- ทําให้ต้นล้มและเกิดโรคเน่าคอดินมากขึ้น
- ทําให้เจริญเติบโตช้าและต้นเตี้ยกว่าปกติ
อัตราเมล็ดพันธุ์ที่ใช้ปลูก
ถ้าเป็นข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หรือข้าวโพดไร่ เช่น รังสิต 1 สุวรรณ 1 หรือ 2 จะใช้เมล็ดพันธุ์ 6-7 กก./ไร่ แต่ถ้าเป็นข้าวโพดหวานจะใช้เมล็ดพันธุ์ประมาณ 3-5 กก./ไร่ ส่วนการหยอดจํานวนเมล็ดต่อหลุมนั้นขึ้นอยู่กับความต้องการของจํานวนต้นต่อหลุม เช่น หากต้องการ 3 ต้นต่อหลุมก็จะหยอดเมล็ด 4-5 เมล็ดต่อหลุมเป็นต้น (ในกรณีนี้เมล็ดจะต้องมีความงอกไม่ต่ำกว่า 90 เปอร์เซ็นต์)
การใส่ปุ๋ยข้าวโพดฝักอ่อน
ธาตุอาหารที่จําเป็นต่อข้าวโพดฝักอ่อน ได้แก่ ไนโตรเจนและฟอสฟอรัส ส่วนโปรแตสเซียม สําคัญเป็นอันดับรอง ดังนั้น ในท้องที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง ปุ๋ย ที่จะใช้ในการปลูกข้าวโพดฝักอ่อนนั้นไม่จําเป็นต้องใส่ครบทุกธาตุอาหาร
แนวทางปฏิบัติในการใช้ปุ๋ย สรุปกว้างๆ ได้ดังนี้
- ในสภาพสวนยกร่อง ปลูกข้าวโพดฝักอ่อนติดต่อกัน ใช้ปุ๋ยไนโตรเจนเพียงอย่างเดียว อัตรา 20 กิโลกรัม/ไร่ แบ่งใส่ 2 ครั้งคือ รองก้นหลุมตอนปลูกและโรยข้างแถว เมื่อข้าวโพดอายุ 25-30 วัน ครั้งละครึ่งของปริมาณทั้งหมด
- ในดินนาตามหลังข้าว ใช้ปุ๋ย ไนโตรเจนอย่างเดียว อัตรา 15-30 กิโลกรัม/ไร่ วิธีใส่เช่นเดียวกับข้อ 1
- ในพื้นที่ไร่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ปานกลางถึงต่ำ ควรใช้ปุ๋ยอินทรีย์ให้มาก 1-2 ต้น/ไร่ ปุ๋ยเคมีใช้ 15-15-15 อัตรา 75-100 กิโลกรัม/ไร่ รองก้นหลุมตอนปลูกและปุ๋ย ไนโตรเจน 10- 15 กิโลกรัม/ไร่ โรยข้างแถวเมื่อ อายุ 25-30 วัน ถ้าดินดีใช้ปุ๋ย ไนโตรเจนอย่างเดียว 20 กิโลกรัม/ไร่ แบ่งใส่ 2 ครั้ง
การให้น้ำข้าวโพดฝักอ่อน
การใหเนํ้ากับขเาวโพดฝักอ้อนจะตเองเอาใจใส้ใกลเชิด เพราะขเาวโพดฝักอ่อนจะเจริญเติบโตได้ดี มีฝักสมบูรณ์ พื้นดินที่ใช้ ปลูกต้องมีความชื้นตลอดฤดูปลูกระมัดระวังอย่าให้ถึงกับแฉะจะชะงักการเจริญเติบโต การขาดนํ้าหรือปล่อยให้ดินแห้งช่วงใดช่วงหนึ่งของการเจริญเติบโต จะทําให้การเจริญเติบโตหยุดชะงัก เช่นกัน และมีผลกระทบถึงผลผลิตขนาดฝักอ่อนและคุณภาพของฝัก โดยเฉพาะฝักที่มีรูปร่างผิดปกติจะเกิดขึ้นมากถ้าขาดนํ้ าในช่วงติดฝักอ่อน อาจกล่าวได้ว่า ข้าวโพดฝักอ่อนต้องการน้ำโดยพิจารณาดินในระดับบน คือ 0-20 ซม. ตลอดฤดูปลูก ในการปฏิบัติทั่วไป การให้น้ำ ในฤดูแล้ง คือขณะที่ข้าวโพดยังเล็ก ให้น้ำทุก 2-3 วัน เมื่อต้นสูงประมาณ50-60 เซนติเมตร หรือสูงประมาณหัวเข่า ให้นํ้าทุก 5-7 วัน ต่อจากนั้น ให้น้ำเมื่อดินในแปลงเริ่มแห้ง
การพรวนดินและกำจัดวัชพืช
ข้าวโพดฝักอ่อนมีอายุการเก็บเกี่ยวสั้น แม้จะมีวัชพืชขึ้นแต่ไม่ทําให้ผลผลิตลดลง การใส่ปุ๋ย ใน ช่วงข้าวโพดมีอายุ 15-20 วัน จะช่วยกําจัดวัชพืชเหมือนกับมีการพรวนดิน ทําให้ลดค่าใช้จ่ายลงแต่ถ้า จะทําเพียงครั้งเดียวก็พอ หรือถ้าต้องการใช้สารเคมีกําจัดวัชพืชก็ใช้ อลาคอร์ อัตรา 600-700 ซีซี ต่อไร่ฉีดพ่นหลังจากปลูกขณะที่ข้าวโพดและวัชพืชยังไม่งอก
การถอดยอด
เมื่อข้าวโพดมีอายุประมาณ 38 วัน หรือเมือ่ มีใบจริงครบ 7 คู่ ช่อดอกตัวผู้จะเริ่มโผล่ออกมา จากใบธง (ใบยอด) ให้ดึงช่อดอกตัวผู้ ทั้งโดยใช้มือหนึ่งจับลําต้นไว้ อีกมือหนึ่งจับใบข้าวโพดที่บานอยู่ตรงกลางของยอด ดึงออกมาตรงๆการถอดยอดเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการผสมเกสร เพราะถ้ามีการผสมเกสรเกิดขึ้นข้าวโพดฝักอ่อนจะมีคุณภาพด้อยลง เนื่องจากเมล็ดจะโป่งพอง และทําให้ข้าวโพดไม่ได้มาตรฐานตามที่ตลาดต้องการ นอกจากนี้การถอดยอดยังช่วยเร่งให้สามารถเก็บเกี่ยวได้เร็วขึ้น และยังช่วยให้ผลผลิตข้าวโพดฝักอ่อนเพิ่มขึ้นด้วย การถอดยอดเป็นเทคนิคสําคัญที่เกษตรกรไม่ควรละเลยเพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดี
การเก็บเกี่ยว
ข้าวโพดฝักอ่อนจะเก็บเกี่ยวได้หลังจากดึงช่อดอกตัวผู้ แล้วประมาณ 3-5 วัน การเก็บเกี่ยวมีข้อ พึงปฏิบัติดังนี้
- สังเกตจากไหม เริ่มโผล่พ้นปลายฝัก มีความยาว 1-2 เซนติเมตร จะเป็นช่วงที่เหมาะสมในการเก็บเกี่ยวที่สุด
- เก็บเกี่ยวจากฝักบนสุดเป็นฝักแรก และฝักอื่นๆ ถัดตํ่าตามลงมา การหักฝักควรหักใหัติดลําต้นไปด้วย เพราะจะทําให้มองเห็นต้นที่เก็บเกี่ยวแล้ว
- เก็บเกี่ยวทุกวัน เพื่อมิให้ฝักแก่เกินไป
- ถ้าเกษตรกรใช้พันธุ์ใหม่ๆ ที่ยังไม่มีวความชํานาญ เนื่องจากพันธุ์ข้าวโพดฝักอ่อนแต่ละพันธุ์จะมีอายุแตกต่างกัน ตั้งแต่ 40-60 วัน เกษตรกรจึงควรเก็บตัวอย่างข้าวโพดที่มีไหมยาวแตกต่างกันมากรีดดูรูปร่างและขนาดของฝัก จะทําให้รู้ว่า ควรเก็บฝักตอนที่ไหมยาวขนาดไหน
- การเก็บฝักเพื่อส่งออกในรูปฝักสด ควรเก็บเกี่ยว 2 ฝักต่อต้น เกษตรกรไม่ควรเก็บฝักที่ 3 เนื่องจากฝักมักจะไม่สมบูรณ์ ไม่ได้คุณภาพส่งออก การเก็บเกี่ยวขการเก็บฝักเพื่อส่งออกในรูปฝักสด ควรเก็บเกี่ยว 2 ฝักต่อตัน เกษตรกรไม่ควรเก็บฝักที่ 3 เนื่องจากฝักมักจะไม่สมบูรณ์ ไม่ได้คุณภาพส่งออก การเก็บเกี่ยวข้าวโพดอ่อนในระยะเวลาถูกต้อง เป็นหัวใจสําคัญของการปลูกข้าวโพดฝักอ่อน คุณภาพจะดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับช่วงนี้ หากเก็บเกี่ยวไม่ถูกต้องเช่น ช้าไป ไหมโผล่ยาวจากฝักมากจะได้ฝัก ที่มีขนาดใหญ่เกินมาตรฐานความต้องการของโรงงานหรือผู้ส่งออกฝักสด ซึ่งต้องคัดออกเป็นปัญหาที่สำคัญประการหนึ่ง
การรักษาคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยว
- เมื่อเก็บฝักข้าวโพดฝักอ่อนแล้ว เกษตรกรควรรีบนําเข้าที่ร่มหรือโรงเรือนที่มีการระบาย อากาศที่ดี พยายามจัดวางให้ผลผลิตได้ระบายความร้อน ไม่ควรเก็บข้าวโพดฝักอ่อนไว้เป็นกองสูงๆ และไม่ควรทิ้งไว้หลายวัน ถ้าเป็นไปได้ควรนํามาลอกเปลือกออกทันทีหลังการเก็บเกี่ยว
- ในการขนส่งควรทําโดยเร็วที่สุด และไม่กองฝักข้าวโพดบนพื้นดิน หรือพื้นรถบรรทุกโดยตรง ควรใส่ในภาชนะ ข้าวโพดฝักอ่อนที่ปอกเปลือกแล้ว ควรบรรจุในกล่องกระดาษ หรือตะกร้าพลาสติกที่มีรูระบายอากาศ
- การปอกเปลือกข้าวโพดอ่อน ต้องกรีดไม่ให้เกิดบาดแผล ลอกไหมให้เกลี้ยง เครื่องมือที่ใช้ เช่น มีด ภาชนะบรรจุ ต้องสะอาด
- ทําความสะอาดเพื่อลดปริมาณเชื้อราตามที่ต่างๆ เช่น เครื่องมือ เครื่องใช้ มีด หรือภาชนะที่ใช้ตั้งแต่การเก็บเกี่ยวถึงการบรรจุหีบห่อ และทําความสะอาดห้องเก็บรักษาในรูปของแก๊สหรือใช้สารละลายที่ฆ่าเชื้อโรคภายนอก เช่น ฟอร์มาดีไฮด์ อัตรา 1-2 เปอร์เซ็นต์ ในนํ้าฉีดพ่นหรือใช้โซเดียวไฮโปคลอไรด์ เป็นต้น
- สําหรับผู้ส่งออก ควรลดอุณหภูมิข้าวโพดฝักอ่อนที่มาจากแปลงปลูกโดยเร็วที่สุดเท่าที่ทําได้ วิธีที่นิยมใช้คือ การอัดลมเย็น (forced-air cooling) จะทําให้ลดการระบาดของการเน่า ลดการสูญเสีย นํ้าและความหวาน ยืดอายุการเก็บรักษาได้นานขึ้น
- อุณหภูมิที่ใช้ในระหว่างการเก็บเกี่ยว หรือระหว่างการขนส่ง คือ 5 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 90-95 เปอร์เซ็นต์
- การบรรจุหีบห่อที่เหมาะสม ไม่บรรจุมากเกินไปในกล่องเดียวกัน การเก็บรักษาในถาดโฟมที่หุ้มด้วยฟิล์ม PVC จะช่วยป้องกันผลผลิตให้คงมีคุณภาพดี
ราคาขาย
ราคาขายตลาดสี่มุมเมือง ณ วันที่ 19 มีนาคม 2565
- ข้าวโพดอ่อน (ใหญ่สวย) ราคากิโลกรัมละ 18 บาท / ข้าวโพดอ่อน (เล็กสวย) ราคากิโลกรัมละ 16 บาท
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ :
http://www.eto.ku.ac.th
https://www.flickr.com
https://www.simummuangmarket.com