ว่านกุมารทอง ปลูกไว้จะเป็นสิริมงคลแก่สถานที่และผู้ปลูก

ว่านกุมารทอง

ชื่ออื่นๆ : ว่านกระทุ่ม, ว่านตะกร้อ (เหนือ) ว่านแสงอาทิตย์ (กรุงเทพฯ)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : Blood flower, Powder puff lily

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Haemanthus multiforus (Tratt.) Martyn.

ชื่อวงศ์ : AMARYLLEDACEAE

ลักษณะของว่านกุมารทอง

ต้น  ไม้ล้มลุกที่มีลำต้นใต้ดิน ลักษณะหัวว่านคล้ายหอมหัวใหญ่ เปลือกที่หุ้มหัวมีสีน้ำตาลไหม้และมีจุดสีแดงคล้ำประทั่วหัว ลำต้นส่วนที่โผล่ขึ้นมาเหนือผิวดินจะมีลักษณะกลม สีเขียว มีจุดสีแดงคล้ำตลอดทั้งก้าน

ใบ  เป็นใบเลี้ยงเดี่ยว ลักษณะใบรีแกมรูปขอบขนาน ปลายใบมน โคนใบสอบเรียว ขอบใบเรียบเป็นคลื่นเล็กน้อย พื้นใบเป็นสี เขียวสด บิดตัวเป็นคลื่นเล็กน้อย ก้านใบเป็นรูปครึ่งวงกลม หรือหวายผ่าซีก แตกใบตรงส่วนยอดของต้นหรือก้านใบ

ดอก  ดอกจะออกก่อนใบ เมื่อดอกโรยแล้วใบจึงจะแทงขึ้นจากหัวใต้ดิน ดอกเป็นช่อแบบช่อซี่ร่ม ลักษณะของช่อดอกกลม ช่อหนึ่งๆ ประกอบด้วยดอกเล็กๆ หลายดอก ซึ่งแต่ละดอกมีกลีบดอกเป็นเส้นฝอยสีแดง ตรงปลายเป็นสีเหลืองเล็กน้อย ก้านดอกยาวมีสีเขียว ดอกดูสวยงามมาก โดยส่วนใหญ่แล้วดอกจะออกประมาณเดือนเมษายนถึงพฤษภาคมของทุกปี

ว่านกุมารทอง
ว่านกุมารทอง กลีบดอกเป็นเส้นฝอยสีแดง ตรงปลายเป็นสีเหลืองเล็กน้อย

การขยายพันธุ์ของว่านกุมารทอง

การแยกต้นที่เกิดใหม่หรือหัวใต้ดิน

ธาตุอาหารหลักว่านกุมารทองต้องการ

ว่านต้นนี้ชอบความชื้นสูง ควรตั้งไว้ในที่ร่มรำไร

ประโยชน์ของว่านกุมารทอง

บ้านเรือนหรือร้านค้าใดมีว่านกุมารทองปลูกไว้จะเป็นสิริมงคลแก่สถานที่และผู้ปลูก เป็นว่านที่มีอำนาจ มีเทวดาคุ้มครอง เป็นที่ยำเกรงแก่ผู้พบเห็น ถ้าค้าขายก็จะขายได้กำไรไม่ล่มจม ให้อธิษฐานเอาเถิดในสิ่งที่ปรารถนา ถ้านำดอกว่านไปเคี่ยวน้ำมันมะพร้าวหรือน้ำมันถั่วไว้ทาตัวจะทำให้อยู่ยงคงกระพันชาตรี ควรปลูกว่านต้นนี้ไว้ใกล้ๆ ศาลพระภูมิจะยิ่งดี เป็นว่านคู่กับ ว่านนางคุ้ม ว่านผู้เฒ่าเฝ้าบ้าน

สรรพคุณทางยาของว่านกุมารทอง

คุณค่าทางโภชนาการของว่านกุมารทอง

การแปรรูปของว่านกุมารทอง

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=12124&SystemType=BEDO
www.flickr.com

Add a Comment