ว่านขันหมาก, ว่านงดหิน
ชื่ออื่นๆ : ว่านขันหมาก, ว่านขันหมากเศรษฐี (ภาคกลาง,ทั่วไป) โหรา, ว่านงดหิน, พรหมตีนสูง, การแพร่กระจาย (ภาคใต้)
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : ว่านขันหมาก
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Aglaonema simplex Blume
ชื่อวงศ์ : Araceae
ลักษณะของว่านขันหมาก, ว่านงดหิน
ต้น เป็นไม้ล้มลุกอายุนานหลายปีที่ไม่มีหัวเหมือนว่านอื่นๆ แต่สามารถแตกหน่อเป็นลำต้นใหม่ได้ ลำต้นเกิดจากเมล็ดที่งอกบนดิน ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง และทรงกลม ผิวลำต้นมีสีน้าตาลอมเขียวเล็กน้อย ขนาดลำต้นประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร สูงประมาณ 40 เซนติเมตร หรือมากกว่า
ใบ จัดเป็นใบเดี่ยว แทงออกด้านข้างตามความสูงของลำต้นที่แต่ละใบมีตำแหน่งเยื้องสลับกันไปตามความสูง โคนใบกว้างมน ปลายใบแหลม ขนาดกว้างสุดของใบจะอยู่บริเวณเหนือโคนใบที่กว้างประมาณ 5-10 เซนติเมตร ส่วนความยาวประมาณ 10-20 เซนติเมตร ส่วนก้านใบมีรูปร่างกลมสีเขียว มีความยาวพอๆกับความยาวของตัวใบ
ดอก แทงออกเป็นช่อบริเวณตามซอกใบ ใน 1 ต้น สามารถแทงช่อดอกได้มากกว่า 3 ช่อ โดยช่อดอกจะมีกลีบเลี้ยงเป็นรูปกรวยห่อหุ้ม ส่วนปลายกรวยเว้า มองเห็นเกสร และรังไข่ และปลายกรวยแหลม ภายในประกอบด้วยเกสรตัวผู้ และเกสรตัวเมียที่มีลักษณะเป็นทรงกระบอกสีขาวอยู่ด้านบนสุด ถัดลงมาด้านล่างสุดเป็นส่วนของรังไข่ที่มีลักษณะทรงกลมที่มีออวุลล้อมรอบ รังไข่นี้จะเจริญพัฒนากลายมาเป็นผล
ผล เจริญมาจากรังไข่ลักษณะทรงกลมสีเขียว ซึ่งผลจะรวมกันอยู่ในช่อเดียวกัน ผลมีลักษณะรียาวโคนผล และปลายผลโค้งมน ขนาดผลประมาณ 0.5-1 เซนติเมตร และยาวประมาณ 2-2.5 เซนติเมตร ผลอ่อนมีสีเขียว ต่อมากลายเป็นสีเหลือง และสีส้ม เมื่อสุกจัดจะเปลี่ยนเป็นสีแดงสด และแห้งแล้วกลายเป็นสีดำ
การขยายพันธุ์ของว่านขันหมาก, ว่านงดหิน
ใช้เมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่ว่านขันหมาก, ว่านงดหินต้องการ
ประโยชน์ของว่านขันหมาก, ว่านงดหิน
- จัดเป็นไม้ประดับ และไม้มงคล รวมถึงพืชสมุนไพรที่นิยมปลูกสำหรับการประดับต้น เนื่องจากให้ใบสีเขียวสดตลอดทั้งปี
- ผลมาทำเป็นยาสมุนไพรรับประทาน
- เป็นไม้มงคลตามความเชื่อโบราณที่ว่า หากปลูกว่านชนิดนี้ไว้ในบ้านแล้วจะช่วยให้มีโชคลาภ เงินไหลมาเทมา
สรรพคุณทางยาของว่านขันหมาก, ว่านงดหิน
- ราก เหง้า ลำต้น และใบ นำมาล้างน้ำให้สะอาด นำมาตากแดดให้แห้ง ก่อนบดเป็นผงสำหรับชงน้ำดื่ม หรือ ใช้บรรจุแคปซูลรับประทาน
- ผลสุก นำมาล้างน้ำให้สะอาด นำมาตากแดดให้แห้ง ก่อนนำมาบดเป็นผงสำหรับบรรจุแคปซูลหรือใช้ชงน้ำดื่ม
ข้อควรระวัง
ไม่ควรรับประทานผลดิบ โดยเฉพาะผลที่ยังมีสีเขียวหรือสีเหลือง เนื่องจาก มีสารที่ทำให้เกิดอาการระคายเคืองบริเวณลิ้น กระพุ้งแก้ม ลำคอ และกระเพาะอาหารได้
คุณค่าทางโภชนาการของว่านขันหมาก, ว่านงดหิน
การแปรรูปของว่านขันหมาก, ว่านงดหิน
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10551&SystemType=BEDO
www.flickr.com