ว่านนางคำ ดอกมีกลิ่นหอม ใช้ผลิตแป้ง สีย้อม เครื่องสำอางและยา

ว่านนางคำ

ชื่ออื่นๆ : ว่านนางคำ

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : –

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Curcuma aromatica

ชื่อวงศ์ : Zingiberaceae

ลักษณะของว่านนางคำ

ต้น ไม้ล้มลุก เหง้าและหัวสีเหลือง มีกลิ่นหอม

ใบ ใบเดี่ยว ออกเป็นกระจุกใกล้ราก ประมาณ 5-7 ใบ รูปใบหอกกว้าง กว้าง 10-14 ซม. ยาว 40-70 ซม. ปลายเรียวแหลม ท้องใบมีขน ดอกช่อเชิงลด มักมีดอกก่อนใบงอกจากเหง้า

ดอก ช่อดอกยาวประมาณ 5-8 ซม.ใบประดับที่ปลายช่อสีชมพู ใบประดับที่รองรับดอกสีขาวแกมเขียว ปลายโค้ง ยาวได้ถึง 6 ซม. ใบประดับย่อยสีขาว ยาวประมาณ 2 ซม. กลีบเลี้ยงยาวประมาณ 2 ซม. กลีบดอกสีขาวแกมชมพู แฉกกลางรูปไข่กว้าง แฉกข้างรูปขอบขนาน กลีบปากรูปโล่แยกเป็น 3 แฉก สีเหลืองเข้ม

ว่านนางคำ
ลำต้นตั้งตรง กลีบดอกสีขาวแกมชมพู

การขยายพันธุ์ของว่านนางคำ

ใช้หัว/เหง้า/หน่อ

ธาตุอาหารหลักที่ว่านนางคำต้องการ

ประโยชน์ของว่านนางคำ

  • ว่านนางคำใช้ผลิตแป้ง สีย้อม เครื่องสำอางและยา ดอกมีกลิ่นหอม
  • เหง้าสดและหัวมีกลิ่นหอม ใช้รักษาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
  • ใช้เป็นไม้ประดับ

สรรพคุณทางยาของว่านนางคำ

ส่วนที่ใช้ : หัว ราก
สรรพคุณ :
หัว
– ใช้ฝนทาแก้เม็ดผื่นคัน prurigo
– เป็นยาขับลมในลำไส้และแก้ปวดท้อง
– ใช้ตำพอกแก้ฟกช้ำ และข้อเคล็ด
ราก
– ใช้เป็นยาขับเสมหะและยาสมาน แก้ลงท้อง แก้โรคหนองในเรื้อรัง

แยกสารได้

  • น้ำมันหอมเรซิน 4.47
  • น้ำตาล 1.21
  • ยาง กรด ฯลฯ 10.10
  • แป้ง 18.75
  • ใยไม้ 25.40
  • เถ้า 7.51
  • ความชื้น 9.76
  • ธาตุ ไข่ขาว (Albuminiadse)

คุณค่าทางโภชนาการของว่านนางคำ

การแปรรูปของว่านนางคำ

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11679&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment