สนทราย ไม้พุ่ม กลีบดอกสีขาว นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ

สนทราย

ชื่ออื่นๆ : ก้านถินแดง สน (พังงา) สนนา (สุราษฎร์ธานี) สนหอม (จันทบุรี) สนดง สนหิน (อุบลราชธานี)  สนหางสิงห์ (เลย) สนขี้ไก่ (กาญจนบุรี)  ปอโฮ่งรุห์ สนเล็ก สนสร้อย (นครศรีธรรมราช); ยูงสนเทศ

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ :

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Baeckea frutescens

ชื่อวงศ์ : Myrtaceae

ลักษณะของสนทราย

ไม้พุ่ม สูงประมาณ 5 เมตร แตกกิ่งก้านสาขาจำนวนมาก ลำต้นสีเทาอมน้ำตาล เนื้อไม้สีน้ำตาล แข็งแรงทนทาน กิ่งแตกเป็นเนื้อมีขนสีน้ำตาลแดง กิ่งมักลู่ลงกิ่งมีน้ำตาลอ่อน เรียวยาว เปลือกแตกเป็นขุย

ใบ  ใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม คล้ายรูปเข็มแบน หนา ยาวไม่เกิน 8 มิลลิเมตร กว้าง 1-2 มิลลิเมตร โคนเป็นครีบ มีกลิ่นหอม ไม่มีก้านใบ

ดอก  ดอกช่อ ออกเป็นกระจุกสั้นๆที่ซอกใบ ดอกเล็ก มีดอกย่อย 2-3 ดอก มีสมมาตรแนวรัศมี กลีบดอกสีขาว มี 5 กลีบ แต่ละกลีบยาวไม่เกิน 2 มิลลิเมตร เกสรเพศผู้มี 8-10 อัน มีรยางค์ ปลายเป็นต่อม ก้านเกสรเพศเมียยาวประมาณ 1-1.5 มิลลิเมตร ปลายเกสรกลม จานฐานดอกรูปถ้วย ยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร กลีบเลี้ยงรูปถ้วย ยาวประมาณ 3 มิลลิเมตร ปลายกลีบมน

ผล  ผลรูปถ้วยขนาดประมาณ 1.5 มิลลิเมตร กลีบเลี้ยงและเกสรเพศเมียติดทน สีน้ำตาล เมื่อแห้งแล้วแตกกลางพู

เมล็ด มีขนาดเล็กจำนวนมากเมล็ดรูปไตขนาดประมาณ 0.5 มิลลิเมตร

ต้นสนทราย
ต้นสนทราย ไม้พุ่ม แตกกิ่งก้านสาขามากมาย ใบคล้ายรูปเข็มแบน หนา

การขยายพันธุ์ของสนทราย

เพาะเมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่สนทรายต้องการ

ประโยชน์ของสนทราย

ปลูกเป็นไม้ประดับ

สรรพคุณทางยาของสนทราย

ยาสมุนไพรพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานี  ใช้  ลำต้น ต้มน้ำดื่ม แก้หน้ามืด วิงเวียน แก้ปวดหลัง ปวดเอว ช่วยขับปัสสาวะ ใบ ต้มน้ำดื่ม ช่วยขับลม บำรุงธาตุ บำรุงหัวใจ
ยาพื้นบ้านอีสาน  ใช้  ทั้งต้น ต้มน้ำดื่ม ขับปัสสาวะ ใบ ใช้ชงเป็นชาดื่มแก้ไข้ปวดเมื่อยร่างกาย

ดอกสนทราย
ดอกสนทราย ดอกเล็ก กลีบดอกสีขาว มี 5 กลีบ

คุณค่าทางโภชนาการของสนทราย

การแปรรูปของสนทราย

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11828&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment