สนสองใบ ใบแข็ง ยาวเรียว เป็นรูปเข็ม เนื้อไม้นำมาใช้ในการสร้างบ้านเรือน ทำกระดานพื้น ฝา รอด ตง และทำเฟอร์นิเจอร์

สนสองใบ

ชื่ออื่นๆ : เกี๊ยะเปลือกดำ, เกี๊ยะเปลือกหนา (เชียงใหม่) จ๋วง, เชียงเซา(กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) โช, ไต้, แปก, สนเขา, สนหางม้า, สะรอล 

ต้นกำเนิด : บทางบริเวณภาคเหนือ ภาคกลาง และ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบที่ระดับความสูงตั้งแต่30 เมตร จนถึง 2,000 เมตร

ชื่อสามัญ : Merkus’s pine, Mindora pine, Sumatran pine, Two-needled pine

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pinus merkusii Jungh & De Vriese

ชื่อวงศ์ : PINACEAE

ลักษณะของสนสองใบ

ต้น เป็นไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 10 – 30 ม. ไม่ผลัดใบ ลำต้นเปลาตรง เรือนยอด ที่สมบูรณ์จะเป็นพุ่มกลม เปลือกนอก หนา สีน้ำตาลปนดำ แตกเป็นร่องลึกตามยาวและเป็นสะเก็ดหนา ๆ แข็งมาก ๆ มักมียางสีเหลืองอ่อนใส ๆ ซึมออกตามรอยแตก กระพี้สีเหลืองอ่อนหรือเหลืองแกมขาว มียางซึมทั่วไปแยกจากแก่นเห็นได้ชัด เปลือกใน สีแดง

ใบ ใบแข็ง ยาวเรียว เป็นรูปเข็มออกเป็นกระจุก ๆ ละ 2 ใบ ยาว 15 – 25 ซม. หลังใบเป็นร่องแบบรางน้ำตลอดท้องใบโค้งมนเป็นรูปเกือบม้า ขอบหยักถี่ ละเอียด ปลายแหลม โคนอัดแน่นอยู่ในกระเปราะ ใบมักกระจุกตัวแถวปลายกิ่ง

ดอก ออกเป็นช่อแยกเพศ อยู่บนต้นเดียวกัน ช่อดอกตัวผู้จะออกเป็นสีเหลืองแบบหางกระรอก ติดกันเป็นกลุ่มบริเวณปลายกิ่ง ช่อยาว 2 – 4 ซม. ช่อดอกตัวเมียสีม่วง ออกชิดติดกิ่งถัดเข้ามา มักออกเป็นดอกเดี่ยว ๆ หรือเป็นคู่ เมื่อผสมพันธุ์แล้วจะเติบโตเป็นผลต่อไป

ผล ออกรวมกันเป็นกลุ่ม เรียกว่า cone รูปทรงกระบอก กว้างประมาณ 5 ซม. ยาวประมาณ 10 ซม. ผลแก่ เมื่อแก่จัดรูปไข่ จะแตกอ้าออกเป็นเกล็ด ๆ หรือเป็นกลีบรูปช้อนแข็ง ๆ ติดอยู่กับแกนกลางของผล เมล็ดรูปรี ๆ มีครีบบาง ๆ สีขาว เมล็ดมีจำนวนมาก ขนาดเล็ก ก้านผลยาว 1 ซม.

ต้นสนสองใบ
ต้นสนสองใบ เปลือกนอก หนา สีน้ำตาลปนดำ แตกเป็นร่องลึกตามยาวและเป็นสะเก็ดหนา
สนสองใบ
สนสองใบ ใบรูปเข็มออกเป็นกระจุก ใบกระจุกอยู่ปลายกิ่ง

การขยายพันธุ์ของสนสองใบ

การเพาะเมล็ด, การปักชำกิ่ง

ธาตุอาหารหลักที่สนสองใบต้องการ

ประโยชน์ของสนสองใบ

เนื้อไม้นำมาใช้ในการสร้างบ้านเรือน ทำกระดานพื้น ฝา รอด ตง และทำเฟอร์นิเจอร์ต่าง ๆ ตู้ โต๊ะ เครื่องเรือน ลังใส่ของบรรจุสินค้า เครื่องดนตรี นอกจากนี้ยางที่ได้จากการเจาะต้นสนสองใบสามารถนำไปสกัดทำน้ำมันสนและชันสนได้

ผลสนสองใบ
ผลสนสองใบ ผลทรงกระบอก ผลแก่แตกอ้าออกเป็นเกล็ด

สรรพคุณทางยาของสนสองใบ

  • ยางสนหรือชันจากลำต้นใช้เป็นยาสมานแผล ผสมยาทาถูนวดแก้ปวดเมื่อย แก้โรคบิด
  • ใบและเปลือกใช้ต้มกับน้ำเป็นยาแก้ผดผื่นคัดตามผิวหนัง
  • น้ำมันใช้ทาภายนอกแก้เคล็ดขัดยอก อักเสบบวม หยดในน้ำร้อนประคบแก้ท้องบวม แก้มดลูก และลำไส้อักเสบ

คุณค่าทางโภชนาการของสนสองใบ

การแปรรูปของสนสองใบ

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11350&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment