สนสามใบ
ชื่ออื่นๆ : เกี๊ยะเปลือกแดง (ภาคเหนือ) เกี๊ยะเปลือกบาง (Chiang Mai) จ๋วง chuang (ภาคเหนือ, ภาคตะวันออกฉียงเหนือ) เชี้ยงบั้ง (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) แปก (เพชรบูรณ์, เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน) สนเขา, สนสามใบ (ภาคกลาง)
ต้นกำเนิด : ประเทศพม่า
ชื่อสามัญ : Benguet pine, Khasi pine, Khasia pine, Luzon pine, Three-needled pine
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pinus kesiya Royal ex Gordon
ชื่อวงศ์ : PINACEAE
ลักษณะของสนสามใบ
ต้น เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ สูงถึง 35 – 45 เมตร ลำต้นตรงเปลา มีเรือนยอดเป็นพุ่มกลม เปลือกต้นแตกล่อนเป็นสะเก็ดตื้น รูปตาข่าย เปลือกต้นเป็นสีน้ำตาลแกมสีชมพู และจะแตกหลุดออกเป็นเกล็ดหรือแผ่นเมื่อต้นมีอายุเต็มวัยแล้ว
ใบ เล็กเรียวคล้ายเข็มอยู่เป็นกระจุก กระจุกละ 3 ใบ
ดอก ออกดอกเป็นช่อ ดอกเพศผู้ออกเป็นช่อสีเหลืองแบบหางกระรอก โดยจะออกใกล้ ๆ กับปลายกิ่ง ช่อหนึ่งยาวได้ประมาณ 2-4 เซนติเมตร ส่วนดอกเพศเมียออกดอกเดี่ยวหรืออย่างมากจะออกไม่เกิน 3 ดอก โดยจะออกตามกิ่ง ออกดอกในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมกราคม
ผล ผลเป็นโคน มีลักษณะเป็นก้อนแข็ง โคนป้อมปลายสอบ มีขนาดกว้างประมาณ 5-8 เซนติเมตร ผลเมื่อแก่จะแยกออกเป็นกลีบแข็ง แต่บริเวณโคนกลีบยังคงติดอยู่กับแกนกลางของผล ภายในมีเมล็ดรูปรีมีครีบบาง ๆ ซึ่งยาวกว่าเมล็ดสี่เท่า ส่วนก้านผลยาวได้ประมาณ 0.5 เซนติเมตร โดยจะติดผลในช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนมีนาคม
การขยายพันธุ์ของสนสามใบ
การเพาะเมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่สนสามใบต้องการ
ประโยชน์ของสนสามใบ
- เนื้อไม้ใช้ในงานก่อสร้างที่อาศัยหรือใช้ทำเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ ที่อยู่ในร่มได้ดี เช่น ตู้ โต๊ะ เตียง ทำฝา พื้น รอด ตง กระดานดำ ไม้บุผนัง เครื่องเรือน เฟอร์นิเจอร์ ลังใส่ของ เครื่องดนตรี เสากระโดงเรือ ใช้ทำเป็นเชื้อเพลิง จุดไฟ ฯลฯ และยังมีคุณสมบัติเหมาะที่จะนำไปใช้เยื่อหรือทำกระดาษได้อีกด้วย
- ส่วนยางนำมากลั่นทำเป็นน้ำมันและชันสน น้ำมันใช้ผสมยาทำการบูรเทียม ทำน้ำมันชักเงา ทำบู่ ใช้ผสมสี
- ชันใช้ผสมกับยารักษาโรค หรือใช้ในกิจการอุตสาหกรรม ทำกาว กระดาษ น้ำมันวานิช และยางสังเคราะห์ หรือใช้ถูคันชักของเครื่องดนตรีบางชนิด เช่น ซออู้ ซอด้วง ไวโอลิน ฯลฯ ใช้ทำน้ำมันชักเงา สีย้อมผ้า ชันที่กลั่นได้จากน้ำมันสนดิบใช้ย้อมสีผ้า ผ้าดอก เป็นต้น
- ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับได้ดี เนื่องจากรูปทรงของลำต้นเปลาตรง เป็นพุ่มเรือนยอดที่ดูสวยงาม ใบสดตลอดปี ให้ร่มเงาได้กว้างและไม่ทึบจนเกินไป ส่วนใบที่ร่วงหล่นเหมือนพรมที่ปูรองเท้าได้อย่างดี นอนก็นุ่มสบาย อีกทั้งยังขึ้นเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ เพราะขยายพันธุ์ตามธรรมชาติได้ดี เมื่อถ่ายภาพก็ออกมาดูสวยงาม จึงเป็นที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวและประชาชนทั่วไป นอกจากนี้ยังมีประโยชน์ในเชิงอนุรักษ์ต้นน้ำลำธารได้อีกด้วย
- พรรณไม้ประจำจังหวัดเลย โดยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถได้พระราชทานให้กับผู้ว่าราชการจังหวัดของแต่ละจังหวัด เพื่อให้นำไปปลูกเป็นสิริมงคลแก่จังหวัดและเพื่อเป็นการรณรงค์ให้ประชาชนปลูกต้นไม้ใน “โครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ” เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 ทรงครบรอบปีที่ 50 ในการครองราชสมบัติ ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2537
สรรพคุณทางยาของสนสามใบ
- ชาวเขาเผ่าแม้วจะใช้แก่นต้นสนสามใบ ผสมกับก้านและใบขี้เหล็กอเมริกา, ใบคว่ำตายหงายเป็น, และใบสับปะรด ยำมาต้มอบไอน้ำ เป็นยาบำรุงกำลังสำหรับคนติดฝิ่น (แก่น)
- แก่นมีสรรพคุณเป็นยาระงับประสาท แก่ฟุ้งซ่าน (แก่น)
- ใช้เป็นยาปิดธาตุ (ชันสน)
- ช่วยแก้อาการอ่อนเพลีย (แก่น)
- แก่นใช้ต้มหรือฝนกินเป็นยาแก้ไข้ (แก่น)
- กระพี้มีรสขมเผ็ดมัน ใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ไข้สันนิบาต (กระพี้)
- ช่วยแก้เสมหะ (แก่น)
- ช่วยแก้คลื่นเหียนอาเจียน (แก่น)
- ตำรายาพื้นบ้านล้านนาจะใช้แก่นต้นสนสามใบเป็นยาแก้เหงือกบวม (แก่น)
- ช่วยกระจายลม (แก่น)
- ตำรายาไทยจะใช้แก่นนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้บิด แก้ท้องร่วง ท้องเดิน ปวดท้อง (แก่น)
- ชันสนใช้เป็นยาแก้บิด (ชันสน)
- น้ำมันสนใช้หยดลงในน้ำร้อนประคบท้องแก้ท้องบวม แก้ลำไส้พิการ และช่วยแก้มดลูกอักเสบ (น้ำมันสน)
- ใบและเปลือกใช้ต้มกับน้ำเป็นยาแก้ผดผื่นคันตามผิวหนังตามร่างกาย (ใบ,เปลือก)
- ตำรายาพื้นบ้านล้านนาจะใช้แก่นเป็นยารักษาโรคทางเดินปัสสาวะ (แก่น)
- ยางสนมีสรรพคุณเป็นยาสมานแผล (ยาง)
- น้ำมันสนมีรสเผ็ดร้อน ใช้เป็นยาทาแก้เคล็ดขัดยอก อักเสบบวม (น้ำมันสน)
- แก่นมีสรรพคุณเป็นยาบำรุงไขกระดูกและไขข้อ (แก่น)
- ยางสน ใช้ผสมยาทาถูนวดแก้ปวดเมื่อย (ยาง)
ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของสนสามใบ
- สารสกัดจากกิ่งสนสามใบ มีสารออกฤทธิ์ทำลายเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว โดยมีศักยภาพทำให้เซลล์มะเร็งค่อย ๆ สลายตัวไปจากการทำลายตัวเองจากภายใน ซึ่งกระบวนการนี้จะเป็นผลดีอย่างมากต่อการรักษาโรคมะเร็ง เนื่องจากมีเพียงเซลล์มะเร็งเท่านั้นที่ตายลงไป และไม่มีผลต่อการทำลายเซลล์ปกติที่อยู่ข้างเคียง ร่างกายจึงไม่เกิดอาการอักเสบขึ้นและไม่มีผลข้างเคียงจากการใช้ยา (ภญ.รศ.ดร.นาถธิดา วีระปรียากูร หัวหน้าทีมวิจัย) (กิ่ง)
คุณค่าทางโภชนาการของสนสามใบ
การแปรรูปของสนสามใบ
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th
www.dnp.go.th
www.forprod.forest.go.th
www.khaolan.redcross.or.th
www.flickr.com
One Comment