สมอพิเภก ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ลำต้นเปลาตรง

สมอพิเภก

ชื่ออื่นๆ : ลัน, สมอแหน, แหน, แหนขาว, แหนต้น, สะคู้, ซิบ่าดู่

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : Beleric myrobalan

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Terminalia bellirica (Gaertn.) Roxb.

ชื่อวงศ์ : Combretaceae

ลักษณะของสมอพิเภก

ต้น ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบ สูง 15-35 เมตร ลำต้นเปลาตรง โคนต้นมักเป็นพูพอน เปลือกสีเทาอมน้ำตาลหรือเป็นสีดำๆ ด่างๆ เป็นแห่งๆ ค่อนข้างเรียบหรือแตกเป็นร่องเล็กๆ ไปตามยาวลำต้น เปลือกในสีเหลือง เรือนยอดกลมแผ่กว้างและค่อนข้างทึบ กิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขนประปราย

ต้นสมอพิเภก
ต้นสมอพิเภก ลำต้นเปลาตรง เปลือกสีเทาอมน้ำตาล

ใบ เป็นชนิดใบเดี่ยว ติดเวียนกันเป็นกลุ่มตามปลายๆ กิ่ง ทรงใบรูปรีแกมรูปไข่กลับ กว้าง 9-15 ซม. ยาว 13-19 ซม. โคนใบสอบมาสู่ก้านใบ ส่วนที่ค่อนไปทางปลายใบผายกว้าง ปลายสุดจะหยัดคอดเป็นติ่งแหลมสั้นๆ เส้นแขนงใบโค้งอ่อน มี 6-10 คู่ เส้นใบแบบเส้นร่างแหเห็นชัดทางด้านท้องใบ เนื้อใบค่อนข้างหนา หลังใบเขียวเข้มและมีขนสีน้ำตาลกระจายทั่วไป ท้องใบสีจางหรือสีเทามีขนนุ่มๆ คลุม แต่ทั้งสองด้านขนจะหลุดร่วงไปเมื่อใบแก่จัด ขอบใบเรียบ ก้านใบยาว 4-6 ซม. บริเวณกึ่งกลางก้านจะมีต่อมหรือตุ่มหูด หนึ่งคู่

ใบสมอพิเภก
ใบสมอพิเภก ใบรูปรีแกมรูปไข่กลับ

ดอก เล็ก สีขาวอมเหลือง ออกเป็นช่อเดี่ยวๆ แบบหางกระรอก ที่ง่ามใบหรือรอยแผลใบตามกิ่ง ปลายช่อจะห้อยย้อยลง ช่อยาว 10-15 ซม. ดอกเพศผู้ส่วนใหญ่จะอยู่ตามปลายๆ ช่อ ส่วนดอกสมบูรณ์เพศจะอยู่ตามโคนช่อ กลีบฐานดอก มี 5 กลีบ โคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วยเล็กๆ ทั้งหมดมีขนทั่วไป เกสรเพศผู้มี 10 อัน เรียงซ้อนกันอยู่สองแถว รังไข่ ค่อนข้างแป้น ภายในมีช่องเดียวและมีไข่อ่อน 2 หน่วย หลอดท่อรังไข่มีหลอดเดียว ออกดอกเดือนธันวาคม-มีนาคม

ดอกสมอพิเภก
ดอกสมอพิเภก สีขาวอมเหลือง ออกเป็นช่อเดี่ยวแบบหางกระรอก

ผล กลมหรือกลมรีๆ แข็ง ผิวนอกปกคลุมด้วยขนสีน้ำตาลหนาแน่น ออกรวมกันเป็นพวงโตๆ

ผลสมอพิเภก
ผลสมอพิเภก ผลกลม ปกคลุมด้วยขนสีน้ำตาลหนาแน่น

การขยายพันธุ์ของสมอพิเภก

การขยายพันธุ์สมอพิเภกสามารถทำได้ 2 วิธี คือ การขยายพันธุ์โดยอาศัยเพศ โดยการเพาะเมล็ด และการขยายพันธุ์โดยวิธีไม่อาศัยเพศ โดยการปักชำและตอนกิ่ง ในการขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดนั้น ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการเก็บเมล็ด ควรเก็บประมาณช่วงเดือนมกราคมจนถึงเดือนพฤษภาคม วิธีการเก็บเมล็ด ใช้วิธีเก็บผลที่ร่วงหล่นใหม่ ๆ ผลแก่จะมีสีน้ำตาลเข้ม คุณภาพของเมล็ด เมล็ดที่เก็บใหม่ ๆ จะมีอัตราการงอก 85% เมล็ดที่เก็บไว้นานจะมีเปอร์เซ็นต์การงอกลดลง

ธาตุอาหารหลักที่สมอพิเภกต้องการ

ประโยชน์ของสมอพิเภก

เปลือก ผล ให้สีเขียว ดำ ใช้ย้อมไหมและฝ้าย

สรรพคุณทางยาของสมอพิเภก

ส่วนที่ใช้ : ผลอ่อน ผลแก่ เมล็ดใน ใบ ดอก เปลือก แก่น ราก

  • ผลอ่อน – มีรสเปรี้ยว แก้ไข้ แก้ลม เป็นยาระบาย ยาถ่าย
  • ผลแก่ – มีรสฝาด แก้โรคในตา บำรุงธาตุ แก้ไข้ แก้ริดสีดวงทวารหนัก เป็นยาแก้ท้องร่วง ท้องเดิน
  • เมล็ดใน – แก้บิด บิดมูกเลือด
  • ใบ – แก้บาดแผล
  • ดอก – แก้โรคในตา
  • เปลือกต้น – ต้มขับปัสสาวะ
  • แก่น – แก้ริดสีดวงพรวก
  • ราก – แก้โลหิต อันทำให้ร้อน

ขนาดและปริมาณที่ใช้ :

  • ขับปัสสาวะ – ใช้เปลือก ต้น ต้มรับประทาน ขับปัสสาวะ
  • เป็นยาระบาย ยาถ่าย – ใช้ผลโตแต่ยังไม่แก่ 2-3 ผล ต้มกับน้ำ 1 ถ้วยแก้ว ใส่เกลือเล็กน้อย รับประทานครั้งเดียว
  • เป็นยาแก้ท้องร่วง ท้องเดิน (ไม่ใช่บิด หรือ อหิวาตกโรค) – ใช้ผลแก่ 2-3 ผล ต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้ว ใส่เกลือเล็กน้อย เคี่ยวจนเหลือ 1 ถ้วยแก้ว ใช้รับประทาน

ถ้ารับประทานสมอพิเภกเกินขนาดจะเป็นอันตรายได้ ทำให้มีอาการมึนเมา คลื่นไส้อาเจียน ผลหากใช้รับประทานมากๆ จะเป็นยาเสพติดและทำให้หลับได้

คุณค่าทางโภชนาการของสมอพิเภก

การแปรรูปของสมอพิเภก

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9583&SystemType=BEDO
www.flickr.com

2 Comments

Add a Comment